5 มีนาคม คนข่าวขอแชร์ การทำงานของสื่อ

5 มีนาคม คนข่าวขอแชร์ การทำงานของสื่อ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share


Reporter

เชื่อว่าอาชีพ “นักข่าว” คงเป็นอาชีพในฝันของคนหลาย ๆ คน หรือเด็กจบใหม่ในคณะที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ สาย แล้ว ณ ขณะนี้ นักข่าว หรือกลุ่มบุคคลที่โดยขนานนามว่า “ฐานันดรที่ 4” ในปัจจุบันนั้น ต้องปรับตัวแค่ไหนกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงมีความถี่เป็นรายนาทีขนาดนี้ เขาทำงานกันอย่างไร วันนี้ jobsDB มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สื่อข่าวสาวสวย ลุคสมาร์ทแห่ง Voice TV และเธอยังเป็นผู้ดำเนินรายการ Voice Marketอีกด้วย “คุณจิตนภา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา” หรือ “คุณจอย” ที่พร้อมมาแชร์เรื่องราวส่วนหนึ่งจากคนสื่อ และคำแนะนำดี ๆ จากคนสื่อถึงน้อง ๆ ที่อยากเป็นคนสื่อในอนาคต

เรียนจบคณะอะไรถึงมาเป็นนักข่าว
จอยเรียนด้านสื่อสารมวลชน  เมื่อก่อนรามคำแหงไม่มีภาควิชาที่สอนการเป็นนักข่าวโดยเฉพาะ ก็จะเป็นคณะมนุษยศาสตร์ เอกวิชาสื่อสารมวลชน วิชาโทโฆษณา ก็จะเน้นเรื่องทฤษฎี การเขียนข่าว ทั้งข่าวทีวี  หนังสือพิมพ์ วิทยุ เขียนสคริป รีบเรียนรีบจบ ใช้เวลาเรียน 3 ปี”

กว่าจะมาเป็นคนสื่อ.....
“ก็มาฝึกงานที่ช่อง 11 แล้วก็ทำงานที่นั้นเลย เป็นนักข่าวเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้เป็นตั้งแต่แรกนะ การทำงานของสถานีสมัยก่อน ก็จะเป็นในลักษณะของการไต่เต้า อยู่ดี ๆ เขาไม่ได้ให้เราเป็นนักข่าวเลยนะ ต้องทำงานในกอง บก. ก่อน 1 ปี เรียนรู้ระบบงานในกองก่อน สคริปต้องผ่านใครบ้าง นักข่าวเขียนมา rewrite เสร็จ บก. Write อีกรอบนึง กว่าข่าวจะออก ต้องส่งตัด ไปถ่ายเอกสาร ส่งสคริปก่อน on air กี่นาที  รู้ระบบเสร็จปุ๊บค่อยเป็นนักข่าว ด้วยความที่ทีวีมีไม่กี่ช่อง มีความละเอียดในการทำงานสูงมาก ที่พี่พูดถึงคือปี 2546 นะ แต่สมัยนี้มันไม่ใช่ละ demand กับ supply มันต่างกัน สมัยก่อนช่องน้อย คนจบเยอะ กว่าจะได้เข้ามาสู่นักข่าว ทีวี ยากมากกกกก ทำที่ช่อง 11 ประมาณ 5 ปี จนมีคอลัมภ์เป็นของตัวเอง เป็นคอลัมภ์ 1 นาที คือที่สุดแล้ว”

“หลังจากนั้นก็ย้ายไปอยู่ TNN เป็นเวลา 3 ปี ก็ทำสคริปให้กับรายการเศรษฐกิจ เป็นการทำงานเบื้องหลังเป็นส่วนใหญ่ หาข้อมูล support ให้ผู้ประกาศที่ออกจอ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)”

“จาก TNN มาอยู่ที่  Voice TV ตอนนี้ก็ 5 ปีแล้ว เป็นนักข่าวเศรษฐกิจ จนมีรายการของตัวเอง ที่เริ่มต้นจากการจัดการประกวดของช่อง โดยให้พนักงานในช่องแบ่งทีมกัน แล้วครีเอทรายการทีวีมาประกวด ทีมจอยก็ติดหนึ่งในสิบทีมที่ได้รางวัล และเป็นหนึ่งในสองรายการที่ขึ้นมาเป็นรายการจริง ซึ่งก็คือ Voice market ที่มีอยู่ทุกวันนี้”

ความพิเศษของตัวเองคืออะไร
“ทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องจริงและเข้าใจง่ายอย่างนักข่าวบางคนเขียนข่าว หรือทำรายการ โดยใช้เรื่องไม่จริง ไม่ผ่านการตรวจสอบ เราก็จะได้เห็นกันบ่อย ๆ เพราะนักข่าวเดี๋ยวนี้แข่งขันกันสูงมาก ต้องเร็ว นักข่าวรุ่นใหม่ ๆ เนี่ยคือเจออะไรปุ๊บก็จะแชร์เลย คือเสมือนเป็นประชาชนทั่วไป”

คุณสมบัตินักข่าว
ต้องมีคุณสมบัติในการตั้งคำถามในใจตลอดเวลาเอ๊ะ!!ใช่หรอ สงสัยก็ต้องสอบถามกับแหล่งข่าว หนึ่งต้องเริ่มสงสัยที่ตัวเอง  สองต้องถาม สมัยก่อน กว่าจะออกมาข่าวนึง ต้องผ่านกระบวนการเยอะมาก เดี๋ยวนี้ข่าวผิด เยอะไปหมด ซึ่งผิดกับเมื่อก่อนมาก อัตรข่าวผิดแทบจะเป็นศูนย์ แต่ก็เข้าใจ เพราะเมื่อก่อน ไม่ได้ห้ำหั่นกันด้วยเรตติ้งขนาดนี้ เพราะเรตติ้งมันคือรายได้”

นักข่าว

คติประจำใจของคนสื่อในแบบจอย
“รักในสิ่งที่ทำเพราะมันทำให้เราทำงานได้จนถึงทุกวันนี้  ร้อยละ 90 รู้อยู่แล้วว่าเงินเดือนนักข่าวน้อย เวลาส่วนตัวก็น้อย ยิ่งนักข่าวเดี๋ยวนี้ multi- function มาก ข่าวก็ต้องพิมพ์ ภาพก็ต้องส่ง ทวีตต้องต้องทำ รายการก็ต้องจัด โดยเฉลี่ยแล้ว 16 ชม.ให้กับการทำงาน ถ้าไม่รักในสิ่งที่ทำก็คงอยู่ไม่ได้จริง ๆ แต่ก็ flexible ได้ตลอดเวลา สมัยนี้ เครื่องไม้เครื่องมือมันก็เยอะด้วย”

แนะนำเด็กจบใหม่
คุณต้องทำได้มากกว่า 1 สมมุติ จบวารสารศาสตร์ คุณก็ไม่ใช่ว่าเขียนบทความได้อย่างเดีวนะ คุณอาจจะต้องไปเรียน production เพิ่ม เพราะไม่มีใครเค้าจ้างคุณมาทำอย่างเดียวแน่นอน เขาต้องหารความคุ้มค่าที่มากที่สุด

มีคนเคยบอกว่า โชว์สิ่งที่ทำได้เฉพาะยามคับขัน อย่าบอกว่าทำเป็นทั้งหมด อย่าmulti-functionมาก เพราะงานจะเพิ่ม แต่เงินเดือนเท่าเดิม
แนวคิดนี้จะใช้ไม่ได้แล้ว เพราะว่าคุณต้องทำให้เป็นแล้วโชว์ด้วย โอเคงานมันอาจจะเพิ่มขึ้นจริง แต่สุดท้ายแล้วคุณคือคนที่อยู่รอด คนที่ทำเยอะ แล้วทำในสิ่งที่ตัวเองทำได้ คนอื่นเห็น มันจะทำให้คุณถูกเลือก ดูอย่างสมัยเมื่อไม่นานมานี้ ทีวีดิจิตัลเนี่ยเหมือนฟองสบู่ สวยงาม ใคร ๆ ก็มารุม ไม่ว่าจะเป็นเด็กจบใหม่ หรือใคร ๆ ก็เข้าหา ก้าวเข้ามาอยู่ดี ๆ ก็ได้เป็นนักข่าว พอซักพักนึง ทีวีดิจิตัลก็เริ่มต้องจ่ายค่า license ค่าใช้จ่ายมันสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันขนาดองค์กรถูกย่อลง คนคือต้นทุนที่แพงที่สุด แล้วจะถูกตัดออกซึ่งถ้าคุณไม่ multi-function พอ คณก็จะเป็นคนนึงที่ถูกตัดออก”

“การเป็นนักข่าวคือการเอาตัวของเรา แทนประชาชนทั่วไป เช่น อย่างข่าวบอกว่า กรมชลฯ ระบายน้ำ 32 ล้านลูกบาศเมตร คุณรู้หรือเปล่า ว่ามันเยอะเยอะหรือไม่นะ เยอะแค่ไหน ตกลงแล้งหรือเปล่า แหล่งข่าวเขาก็พูด ๆ มา ข่าวเดี๋ยวนี้ไม่ใช่การพิมพ์สิ่งที่แหล่งข่าวพูด ต้องแปลสิ่งที่มนุษย์พูดเป็นสิ่งที่มนุษย์เข้าใจ เราคือคนกลาง”

การมี passion กับงานที่ทำอยู่ ทำให้เราทำอย่างเต็มที่ และอยู่กับมันได้นาน ซึ่งคุณจอย จิตนภา ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนที่ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และสนุกกับงานที่ใช่ นั่นคือการเป็นนักข่าว เป็นคนสื่อที่มีคุณภาพ เป็นสื่อกลางที่หยิบยื่นความจริง และความเข้าใจให้กับทุกคน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
5 ปัจจัยที่ทำให้คนทำงานมีความสุขกับงานปัจจุบัน
ระดับความสุขในการทำงานของคนทำงานในแต่ละสายงาน

More from this category: การพัฒนาด้านอาชีพ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา