การชำระหนี้ที่แท้จริงของลูกค้ารวมทั้งสามารถกำหนดแผนปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับปัญหาทางการเงินที่ลูกค้าประสบอยู่ ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ ครบถ้วน สมบูรณ์ และจะช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว การไม่เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงแก่ บสท. จะส่งผลเสียต่อลูกค้าและเป็นอุปสรรคก่อให้เกิดความล่าช้าต่อการพิจารณาของ บสท.ตามกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
ในการจัดทำแผนธุรกิจและประมาณการทางการเงินของลูกค้ารายย่อย เพื่อประกอบการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้นั้น ลูกค้าส่วนใหญ่จะมีทัศนคติว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ไม่สามารถดำเนินการเองได้ และต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เช่น ทนายความเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งตามความ เป็นจริง การจัดทำแผนธุรกิจและประมาณการทางการเงินโดยทั่วไป เป็นเพียงการถ่ายทอดแนวคิด วิธีการบริหารจัดการธุรกิจของลูกค้าให้อยู่ในรูปของตัวเลขทางการเงิน ซึ่งลูกค้าในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจย่อมรู้ดีกว่าผู้ใด
โดยเฉพาะกรณีของลูกค้ารายย่อยซึ่งธุรกิจไม่มีความซับซ้อน แต่หากลูกค้าต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความรู้ด้านการเงิน เพื่อจัดทำแผนธุรกิจและประมาณ การทางการเงินให้เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่ดี ตลอดจน ถูกต้องตามหลักวิชาการ บสท. ยินดีที่จะให้คำปรึกษาแนะนำแก่ลูกค้า หรือลูกค้าอาจขอคำปรึกษาในการจัดทำแผนธุรกิจและประมาณ การทางการเงิน จากหน่วยงานภาครัฐที่ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ เว้นแต่กรณีที่ธุรกิจมีความซับซ้อน ลูกค้าอาจจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษา ทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นผู้ดำเนินการ
ในการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ผ่านมาพบว่า ที่ปรึกษาทางการเงินบางรายมีการจูงใจให้ใช้บริการโดยเสนอจะจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้สามารถขอลดหนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การอนุมัติแผนปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท. จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ชัดเจนและโปร่งใส ตามที่คณะกรรมการ บสท. กำหนด ดังนั้น หากมีผู้เสนอจะ วิ่งเต้นเพื่อให้สามารถลดหนี้ได้ในจำนวนมาก ๆ จึงเป็นไปไม่ได้
และผลกระทบที่ลูกค้าจะได้รับนอกจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแล้ว คือ หากที่ปรึกษาทางการเงินรับงานมากเกินตัวและไม่สามารถจัดสรรเวลาให้กับลูกค้าได้อย่าง เพียงพอ รวมทั้งการไม่ส่งแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้กับ บสท. ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จะส่งผลให้การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้มีความ ยืดเยื้อจนล่วงเลยกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ ลูกค้าดังกล่าวก็จะเข้าข่ายไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. นอกจากนี้ ลูกค้าที่ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินควรเข้าร่วมเจรจากับ บสท.โดยตรง เนื่องจากทราบปัญหา และฐานะทางการเงินที่แท้จริงของธุรกิจตนเอง ไม่ใช่ดำเนินการผ่านที่ปรึกษาเท่านั้น ซึ่ง ที่ปรึกษาทางการเงินอาจไม่สามารถตัดสินใจแทนลูกค้าได้ และจะทำให้กระบวนการแก้ไขหนี้มีความล่าช้าไม่แล้วเสร็จ ทันเวลาที่กำหนด
ดังนั้น ลูกค้ารวมทั้งผู้ค้ำประกัน จึงควรให้ความสนใจในการเข้ามามีส่วนร่วมและติดตามผลในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในกรณีมีที่ปรึกษา ทางการเงินเป็นผู้แทนของลูกค้าในการเจรจาหรือลูกค้าเป็นผู้มาดำเนินการด้วยตนเอง นอกจากนั้น การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนของลูกค้าในการเจรจา ควรคำนึงด้วยว่า บุคคลนั้นมีอำนาจในการตัดสินใจ แทนลูกค้าเพียงใด และทราบข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าเพียงพอหรือไม่ มิฉะนั้นความมุ่งหวังของ บสท. ที่จะแก้ปัญหาให้ธุรกิจของลูกค้าดำเนินกิจการและเติบโตต่อไปเพื่อเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า อาจไม่ประสบผลสำเร็จ และผู้ที่ต้องรับภาระมากที่สุดก็คือ ตัวของลูกค้าเอง