ใน การทำงาน บ่อยครั้งที่อาจเกิดความขัดแย้งขึ้น ไม่ว่ากับหัวหน้างาน หรือกับพนักงาน ทางออกที่ดีคือการจับเข่าคุยกัน และในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ เราก็มีคำแนะนำดี ๆ ที่ช่วยให้ การเจรจา ราบรื่นขึ้นค่ะ
- เชื่อว่าสามารถชนะได้ทั้งคู่เพราะความขัดแย้งไม่ใช่การแข่งขันกีฬาที่ต้องมีแพ้ชนะ จึงไม่จำเป็นต้องมีฝ่ายไหนพ่ายแพ้
- สื่อสารในสิ่งที่เกิดขึ้นหาคำตอบให้กับตัวเองว่าคุณได้ข้อสรุปอะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้น และคุณรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วลองฟังคำตอบจากอีกฝ่ายหนึ่งบ้าง คุณอาจจะพบสมมติฐานที่ผิดพลาด การตีความที่คลาดเคลื่อน และข้อมูลบางอย่างที่ไม่ชัดเจนก็ได้
- สามารถประนีประนอมกันได้หรือไม่การรุกไล่ให้อีกฝ่ายหนึ่งจนมุมนั้นไม่เกิดผลดีต่อทั้งสองฝ่าย การประนีประนอม และร่วมมือกันต่างหากที่นำพาไปสู่ทางออกของปัญหา
- กำหนดพื้นที่หรือประเด็นที่คุณเห็นด้วยเพื่อเป็นจุดตั้งต้นของการเจรจา โฟกัสไปที่เป้าหมายมากกว่าอุปสรรค
- ช่วยกันสร้างทางเลือกใหม่เมื่อรู้สึกว่ายื้อกันไปจนสุดทางแล้ว ควรหันหน้าเข้าหากัน ช่วยกันระดมความคิดให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ในการไปให้ถึงเป้าหมายดีกว่า
- หาสาเหตุที่แท้จริงของความรู้สึกไม่เห็นด้วยโดยสาเหตุนั้นไม่จำเป็นต้องสมเหตุสมผลก็ได้ เพราะอีกฝ่ายอาจใช้เหตุผลล้มล้างความคิดคุณ และทำให้ปัญหานั้นไม่เจอทางออกเสียที
- เปลี่ยนวิธีพูดแทนที่จะใช้ประโยคคำถามที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์และนำไปสู่การโต้แย้ง เช่น “ทำไมคุณไม่บอกผมเรื่องข้อตกลง” ลองเปลี่ยนเป็น “ผมอยากให้คุณบอกผมเรื่องข้อตกลง” ประโยคบอกเล่าเช่นนี้กระตุ้นให้ตอบได้ทั้งในทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
- นั่งลงคุยกันดีกว่าการนั่งคุยกันช่วยลดการใช้ภาษากาย หรืออารมณ์โกรธจากการโต้แย้งได้
- พูดในสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าเพิ่งตัดสินผู้ฟังจะยอมรับได้ หากคุณพูดว่า “รายงานของคุณขาดข้อมูลสำคัญไป” เขาสามารถเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่หากคุณพูดว่า “คุณนี่สะเพร่าจริง ลืมข้อมูลสำคัญในรายงานไปได้ยังไง” การด่วนตัดสินไปก่อนยิ่งกระตุ้นให้เกิดการโต้แย้งรุนแรงขึ้น
- หลีกเลี่ยงคำพูดรุนแรงคำพูดของคุณสามารถสื่ออารมณ์โกรธ ต่อต้าน ไม่ยอมรับ ตำหนิ และอื่น ๆ ที่คุณมีในขณะนั้นได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการเจรจาเป็นแน่
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
บริหารความขัดแย้งอย่างไร...ให้มีเชิงสร้างสรรค์
ปัญหาพนักงานมีทัศนคติเชิงลบต่อองค์กรแก้ไขได้