ผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินเกี่ยวกับการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินตรา ควรมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในระเบียบข้อบังคับตามพระราชบัญญัติควบ คุมการแลกเปลี่ยนเงิน ที่ใช้มาตั้งแต่พ.ศ. 2485 เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศอย่างสมดุล และสามารถรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในยุคที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราทำ ได้อย่างเสรีและรวดเร็วเช่นนี้
1.การประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ผู้ที่สามารถประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราตปท. มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ธนาคารรับอนุญาต (ธนาคารพาณิชย์) บริษัทรับอนุญาต (บริษัทเงินทุน) และบุคคลรับอนุญาต (โรงแรมขนาดใหญ่) โดยจะต้องยื่นขออนุญาตต่อกระทรวงการคลังผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้เรียบ ร้อยเสียก่อน จึงจะสามารถดำเนินธุรกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีการจัดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อ โกงประชาชน ตามพ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2545) และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งสามารถถูกสั่งยึดทรัพย์ได้
2.การนำเงินบาทติดตัวออกนอกประเทศ
ผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศสามารถนำเงินบาทติดตัวออกไปได้ครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นเดินทางไปประเทศเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย สามารถนำเงินบาทติดตัวไปได้ครั้งละไม่เกิน 500,000 บาท
3.การนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ
หากต้องการนำเงินออกนอกประเทศเกินกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องแยกเป็นค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ประกอบด้วย ค่าเดินทาง ค่าสินค้าและค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค่าใช้จ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่คนในต่างประเทศ และโอนเงินทุนออกไปต่างประเทศ
4.การส่งของออกนอกประเทศ
หากมีการส่งสินค้าที่มีมูลค่าเกิน 500,000 บาทออกไปขายต่างประเทศ ผู้ส่งต้องนำเงินที่ได้จากการขายสินค้านั้นเข้าประเทศทันทีและต้องไม่เกิน 120 วันหลังจากวันที่ส่งสินค้าออกไป และเงินตราที่ได้รับมาต้องขายหรือฝากธนาคารไว้ภายใน 7 วัน ที่กล่าวมานี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ควรทราบสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินบาท เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่ไร้ขอบเขตความสมดุล จนอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาค่าเงินบาทของไทยได้