ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 2

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 2
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

(ต่อจาก ความเชื่อผิด เกี่ยวกับการใช้ ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 1 ) หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับคนในยุคไอทีคงหนีไม่พ้นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ ของเรา ถ้าข้อมูลหายไปล่ะก็เป็นเรื่องแน่นอน เราจึงต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ของเราอย่างทะนุถนอมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหลายคนยังมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับ การใช้ฮาร์ดดิสก์ อยู่หลายเรื่องดังนี้

9. ถ้าฮาร์ดดิสก์มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับการทำงานได้ มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง หมุนช้าลง

ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของฮาร์ดดิสก์ให้เห็นอย่างแน่นอน หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของฮาร์ดดิสก์ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

  1. เสียงคลิกที่ได้ยินจากฮาร์ดดิสก์เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของฮาร์ดดิสก์อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่นฮาร์ดดิสก์

  1. เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้ อาจล้มได้หากมีการใช้ฮาร์ดดิสก์มากเกินไป

เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

  1. การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว

ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่านฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือฮาร์ดดิสก์หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่ามีการ เสื่อมแต่อย่างใด

  1. ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น แต่จะหมุนลดลงเมื่อฮาร์ดดิสก์ไม่มีกิจกรรม (idle)

แผ่นดิสก์ภายในฮาร์ดดิสก์หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงในช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

  1. การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้

โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

  1. การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการใช้ฮาร์ดดิสก์ที่คุณควรรู้จักคือ เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDDก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

  1. เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์) และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์

ซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรับการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได้

  1. เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์

การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพื้นที่ว่างสำรองบนฮาร์ดดิสก์อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำรองบนฮาร์ดดิสก์ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบนฮาร์ดดิสก์นั้นมีจำนวนจำกัด

สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของฮาร์ดดิสก์แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ในการใช้ฮาร์ดดิสก์ หากคุณมีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพ ข้อมูล และเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าฮาร์ดดิสก์จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

jobsDB Mobile App

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/2021%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84ai%e0%b9%81%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

More from this category: ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา