โลกเราได้ก้าวมาสู่จุดที่ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกเชื่อมโยงกันไว้ด้วยเทคโนโลยี เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปิดโลกของการใช้ชีวิตยุคใหม่ให้สะดวก ง่าย และเอื้อต่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ การทำงาน และการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ และแน่นอนว่าความสำคัญของ Internet of Things หรือ IoTs ย่อมเข้ามามีบทบาทกับการบริหารงานบุคคลในยุค HR 4.0 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการผสมผสานของเทคโนโลยีดังกล่าวเอื้อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจมากมาย จากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ที่เน้นการเชื่อมต่อกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินงานขององค์กร
Internet of Things จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ของการทำงาน HR ให้กลายเป็น Digital HR บูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการบริหารจัดการคนให้เกิดประสิทธิภาพ และตอบโจทย์วิถีชีวิตคนทำงานยุคปัจจุบัน
Digital HR ดึงดูดใจพนักงานยุคใหม่พนักงานยุคใหม่ต้องการมองหาสถานที่ทำงานที่ดึงดูดใจ ปฏิบัติกับพนักงานราวกับลูกค้า อีกทั้งยังต้องการความเปลี่ยนแปลงด้าน HR เพื่อสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
Digital HR สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานคน Gen Y และ Gen Z ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่องค์กร จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสถานที่ทำงานให้หลุดออกจากกรอบของความซ้ำซากจำเจ การทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันจะปรากฏอยู่บนโลกโซเชียลมากขึ้น และ HR ต้องมีส่วนช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในสถานที่ทำงานให้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลร่วมสมัย
Digital HR คือศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการพัฒนาคนการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลจะเป็นตัวช่วยผู้จัดการและพนักงานในการวางแผนกำหนดความก้าวหน้าในสายอาชีพ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ตอบโจทย์ ตรงเป้าหมาย และบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างผลดีทั้งต่อตัวพนักงานและองค์กรอย่างต่อเนื่อง
Digital HR คือข้อได้เปรียบในการสรรหาการเสนอคุณค่าให้แก่พนักงานผ่านช่องทางดิจิทัล ช่วยให้องค์กรสามารถ ค้นหาผู้สมัครงาน และรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูง และการค้นหาพนักงานผ่านเครื่องมือโซเชียลมีเดียทั้งหลายเป็นการสรรหาคนทำงานที่ใช่มากขึ้นสำหรับองค์กร
Digital HR คือข้อมูลสำคัญขององค์กรการบูรณาการข้อมูลพนักงานแบบเรียลไทม์ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และการอ้างอิง Big Data ทำให้ Digital HR สามารถสร้างข้อมูลเชิงลึกที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร ที่มีผลต่อการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการตัดสินใจวางกลยุทธ์ขององค์กร
เทรนด์การสรรหาบุคลากรยุค 4.0
- ผู้หางานไม่ได้มีเพียงกลุ่มที่ตั้งใจหางานเท่านั้น ยังมีกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งใจหางาน แต่หากมีโอกาสดี ๆ เข้ามา ก็ยินดีจะรับไว้
- เงินเดือน ค่าตอบแทน ไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่จูงใจผู้หางานอีกต่อไป HR ต้องพิจารณาให้ดีว่าจะเขียนประกาศหางานอย่างไรให้ได้ใจกลุ่มเป้าหมาย มีสิทธิประโยชน์ครอบคลุม และน่าดึงดูดใจเป็นที่สุด
- การเติบโตของการใช้สมาร์ทโฟนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว Mobile Platform คือคำตอบของความสะดวก ง่ายดาย ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะอุปกรณ์ที่คนยุคปัจจุบันใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดก็คือสมาร์ทโฟน (ใช้งานเฉลี่ย 6.2 ชั่วโมงต่อวัน) ตามมาด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์แบบพกพา โดยกลุ่มคน Gen Y ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 53.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ที่มา : ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2559 โดย ETDA สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
- ผู้หางานส่วนใหญ่หางานและสมัครงานผ่านมือถือเป็นหลัก เมื่อเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook เห็นได้จากอัตราการสมัครงานผ่าน jobsDB Mobile App ที่เพิ่มขึ้นถึง 91%
- ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการสรรหาคนทำงาน สำหรับแนวโน้มการหางานในปัจจุบัน เว็บไซต์หางานยังคงเป็นช่องทางหลักในการหาผู้สมัครงานของผู้ประกอบการถึง 65% ในขณะที่ผู้หางานค้นหาและสมัครงานผ่านช่องทางเว็บไซต์หางาน ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีมากถึง 74% (ที่มา : ผลสำรวจของ Seek Asia Candidate เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559)
ได้เวลาแล้วที่ผู้ประกอบการและคนทำงาน HR ต้องปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการทำงานกันครั้งใหญ่ นอกเหนือจากการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้หางานในปัจจุบัน เทรนด์เกี่ยวกับ Big Data Candidate เพื่อทำความเข้าใจผู้หางานอย่างลึกซึ้ง การใช้ช่องทางออนไลน์ในการ สรรหาพนักงาน ให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มบนมือถือที่เข้าถึงได้ง่าย เหนือสิ่งอื่นใด คือ การจุดประกายสร้างสรรค์องค์กร พลิกโฉมหน้าให้กลายเป็น Digital Workplace … Digital Organization ได้อย่างแท้จริง
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ