เชื่อว่าเป็นปกติของคนส่วนใหญ่ ที่พอถูกเรียกสัมภาษณ์งานเรามักจะมีความกังวลถึงคำถามที่ต้องถูกทดสอบจากองค์กรนั้น ๆ เป็นอย่างแรก แน่นอนว่า “การตอบคำถาม” เป็นสิ่งที่ต้องโฟกัสย่อมถูกต้องแล้ว เพราะทุกคำตอบของคุณ ล้วนแล้วแต่แสดงออกถึงตัวตน ทัศนคติ แนวความคิด ความเชื่อ ภาวะความเป็นผู้นำ การแก้ไขปัญหา ฯลฯ โดยทั้งหมดนั้นแสดงออกถึงการเตรียมพร้อมที่ดีของผู้สมัคร ยิ่งคุณทำได้ดีเท่าไร ยิ่งนำมาซึ่งความประทับใจต่อผู้สัมภาษณ์อย่างแน่นอน
คำถามสัมภาษณ์งาน
การเตรียมตัวตอบคำถามเป็นเรื่องที่ต้องให้น้ำหนักก็จริง ทว่าเราไม่อยากให้คุณเอาความกังวลทั้งหมดไปลงที่เรื่องดังกล่าวเพียงอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่า “การสัมภาษณ์” ย่อมหมายถึงการสนทนาระหว่างบุคคล จำเป็นต้องมีทั้งผู้ถามและผู้ตอบ ในทางกลับกัน คุณเองก็สามารถเป็นผู้ถามที่ดีได้ อย่าปล่อยให้องค์กรเป็นฝ่ายประเมินฝ่ายเดียว ในฐานะคนทำงานก็มีสิทธิ์เลือกและประเมินบริษัทเช่นเดียวกัน แล้วอย่าลืมว่าการตั้งคำถาม เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความคิด หากคุณฉลาดที่จะตั้งคำถาม ย่อมเป็นผลดีแสดงให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นว่า คุณน่าสนใจและโดดเด่นกว่าผู้สัมภาษณ์คนอื่น ๆ
แล้วคำถามแบบไหนถึงจะเป็นคำถามที่ดี?
ช่วงแรกของการสนทนา เราอาจจะถามถึงวัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศการทำงานเป็นอย่างไร เน้นการทำงานแบบเป็นทีมหรือเป็นในลักษณะไหน โอกาสก้าวหน้าในสายงาน หรือการถามถึงช่วงอายุและวัยกลุ่มคนทำงานหลักของบริษัท ก็สะท้อนถึงภาพรวมการทำงานได้เช่นเดียวกัน ส่วนคำถามเกี่ยวกับเงินเดือนควรเก็บไว้ถามในตอนท้าย ๆ หรือระหว่างการเจรจาหลังจากที่ได้รับข้อเสนอที่แน่นอนจากองค์กรแล้ว
และนี่คือ 10 คำถามสุดเจ๋งที่ JobsDB เตรียมไว้ให้คุณแล้วก่อนไปสัมภาษณ์งาน
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า ไม่ใช่แค่องค์กรเลือกเรา คนทำงานเองก็เลือกองค์กร การถามคำถามนี้จะช่วยให้คุณตั้งต้นทิศทางได้อย่างแม่นยำ เพราะถ้าคำตอบออกมาไม่ตรงกับเป้าหมายการทำงานของเรา หากปรับไม่ได้ก็แยกย้ายกันไปตั้งแต่ตอนนี้จะดีกว่า สมมติว่าองค์กรให้ความสำคัญกับสกิลที่หลากหลายของพนักงาน แต่คุณมองว่าการต่อยอดความสามารถเดิมคือสิ่งสำคัญ คุณอาจไม่เหมาะกับองค์กรนี้
คำถามนี้เป็นอีกหนึ่งสิ่งชี้วัด ที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ควรทำงานหรือไม่ทำงานกับองค์กรนี้ หากเราทราบถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ย่อมทำให้เห็นถึงภาพรวมของการทำงาน โครงสร้างระบบต่าง ๆ ว่ามันเมคเซนส์หรือตรงกับสิ่งที่เราตั้งธงในใจเอาไว้หรือไม่ หากเป็นเส้นทางเดียวกันก็ถือว่ามีแนวโน้มการทำงานที่ดี
นิยามความสำเร็จและเป้าหมายของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันไป ข้อนี้เป็นสิ่งที่ควรทราบเป็นอย่างยิ่ง เพราะคุณจะได้รู้ว่าที่นี่ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” สำหรับคุณ หากความสำเร็จที่บริษัทคาดหวังไว้กับพนักงาน ตลอดจนมีแนวทางการวัดผลที่ไม่ตรงกับเรา และเมื่อพิจารณาดูแล้วพบว่าไม่มีแนวร่วมในปลายทางเดียวกัน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาตั้งแต่แรก
ต่อกันที่คำถามที่เจาะลึกลงไปในวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งข้อนี้เน้นไปที่คนทำงานโดยเฉพาะ ว่าองค์กรทรีตหรือให้คุณค่าพนักงานมากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่าคำตอบในข้อนี้นับเป็นผลประโยชน์ต่อเราโดยตรง ในฐานะผู้ที่จะเข้าไปทำงานในบริษัทนี้ เป็นสิ่งที่พึงรู้ว่า คุณค่าที่บริษัทมองเราสอดคล้องกับค่านิยมที่คุณมีหรือไม่ (คำตอบจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าเหมาะกับที่นี่หรือไม่)
หลังจากถามข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรแบบภาพรวมไปแล้ว ลองเปลี่ยนคำถามลงลึกไปที่วิธีการทำงานกันบ้าง การที่เราทราบถึงความคาดหวังและความต้องการจากทีมที่มีต่อเราตั้งแต่ต้น จะช่วยให้การทำงานราบรื่นตั้งแต่วันแรก ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก พุ่งเข้าชนไปในทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมแสดงผลงานทันทีตั้งแต่วันแรก
ในโลกของการทำงานความจริงสิ่งหนึ่งที่คุณต้องยอมรับ คือทุกที่ล้วนมีปัญหา (แก้ไขได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนร้อยพ่อพันแม่ การหลีกเลี่ยงปัญหาจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แนะนำให้คุณพยายามปรับแนวคิด มองว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจ ลองเสนอความคิดเห็นและแนะนำถึงแนวทางการแก้ไข เพื่อให้การทำงานร่วมกันของคนในทีมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
อย่าให้องค์กรทราบถึงเป้าหมายของคุณเพียงอย่างเดียว เราเองมีสิทธิ์ทราบถึงเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวของบริษัทเช่นเดียวกัน อย่าลืมว่าการทำงานอยู่ในหมวดหมู่ของผลประโยชน์ต่างตอบแทน ลองพิจารณดูว่า เป้าหมายขององค์กรจะพาคุณเติบโตไปในทิศทางที่คุณวางไว้ได้หรือไม่ หรืออยู่ในทิศทางเดียวกันหรือเปล่า
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำงานอยู่ในองค์กรที่เล็งเห็นถึงศักยภาพพนักงานนับว่าเป็นสิ่งที่ดี ถือเป็นผลประโยชน์ที่วิน ๆ ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง อย่าลืมว่าสกิลต่าง ๆ เมื่อฝึกฝนและพัฒนาจนชำนาญ จะเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวเราไปทั้งชีวิต ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า ทักษะและการพัฒนาขององค์กร ตรงกับความสนใจของเราไหมด้วย ไม่อย่างนั้นก็จะฝืนใจและไม่มีความสุขเอาได้
ข้อนี้เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่ตรงไปตรงมาและเข้าเป้าอยู่ไม่น้อย ตอนถามอาจจะใช้น้ำเสียงแบบไม่ทางการมากนัก เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างการถาม แต่เชื่อเถอะว่าคำตอบขององค์กรจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น บริษัทไหนที่ Turnover rate สูงย่อมแสดงถึงความภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กรค่อนข้างต่ำ สะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการพนักงานขององค์กรนั้น ๆ เป็นอย่างดี
คุณอาจจะเลือกคำถามชวนยิ้มแบบนี้ไว้ปิดท้ายการสัมภาษณ์งานก็ดีอยู่ไม่น้อย อย่าคิดว่าข้อมูลเชิงนี้จะไม่มีประโยชน์ การได้ฟังความเห็นจากผู้มีประสบการณ์ตรงหรือจาก “คนวงใน” น่าจะพอไกด์ให้เราเข้าใจถึงแนวทาง และเห็นถึงทัศนคติที่พนักงานมีต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี
เรื่องของการถาม “คำถาม” ไม่มีอะไรตายตัวหรือถูกผิด เราเองในฐานะผู้สมัครงานก็มีสิทธิ์เลือกงานและองค์กรไม่ต่างกัน ดังนั้น หากคุณสงสัยหรืออยากรู้เรื่องไหน หากพิจารณาดูแล้วว่าอยู่ในขอบข่ายของกาลเทศะ หรือไม่ละลาบละล้วงจนเกินไป ระหว่างสัมภาษณ์ก็สามารถถามกับผู้สัมภาษณ์ได้เลย และเมื่อเตรียมตัวพร้อมกับทุกการสัมภาษณ์แล้ว อย่าลืมเข้ามาหางานที่ใช่ตรงใจคุณ ได้แล้ววันนี้ที่ JobsDB แอปพลิเคชันหางานที่ให้คุณครบทุกความต้องการ!
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ