หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับคนในยุค ไอที คงหนีไม่พ้นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ถ้าข้อมูลหายไปล่ะก็เป็นเรื่องแน่นอน เราจึงต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ของเราอย่างทะนุถนอมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหลายคนยังมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ ฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ อยู่หลายเรื่องดังนี้
การใช้งานฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง
ไม่ว่าจะฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ กี่ครั้งก็ตาม ก็ไม่ส่งผลต่อการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลาย ๆ คนมักคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริง ๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิด การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ ต้องแบกรับภาระหนัก หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูล (Platter) ระหว่างการฟอร์แมตแต่อย่างใด สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการ ใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจากฮาร์ดดิสก์ตัวอื่น ๆ เลย
การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มี ความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่านฮาร์ดดิสก์
ถ้าฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อย ๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การฟอร์แมตแล้ว เห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา
การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ลดน้อยลงไป ฮาร์ดดิสก์จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นโอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉย ๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานจะเท่าเดิม
กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ หรือกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการ สร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นก็น่าจะเป็นความเสียหายของ OS มากกว่า
ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ ตายลงอย่างช้า ๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุม กระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้ฮาร์ดดิสก์ ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ฮาร์ดดิสก์ จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการได้
ที่มา : www.online-station.net
อ่าานเพิ่มเติมได้ที่
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 2
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5-ecom-%e0%b8%88%e0%b8%9a%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/programmer-developer%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%86%e0%b8%81%e0%b9%87%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a/