สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำกราฟิกอาจยังไม่คุ้นเคยกับนามสกุลต่าง ๆ ของไฟล์ภาพทำไมนามสกุลถึงไม่เหมือนกัน และแต่ละนามสกุลเหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน มาเรียนรู้ความแตกต่างของแต่ละนามสกุลในเบื้องต้นกันเลยดีกว่า
GIF มาจาก Graphics Interlace File
- ภาพที่ไม่ต้องการความคมชัดมากนัก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก
- ต้องการพื้นแบบโปร่งใส
- ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด
- ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
- ส่วนขยายคือ .gif
JPEG มาจาก Joint Photographer's Experts Group
- ภาพที่ต้องการความคมชัดสูง มีสีมาก
- เหมาะสมกับการนำเสนอทั้งระบบสื่อมัลติมีเดีย และเว็บไซต์
- สามารถกำหนดขนาดของไฟล์ได้ตามความเหมาะสม (File Compression)
- สามารถกำหนดคุณสมบัติการแสดงผลแบบหยาบ แล้วค่อยๆ ละเอียดเมื่อเวลาผ่านไป ที่เรียกว่าคุณสมบัติ Progressive
- ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .jpg หรือ .jpeg
PNG มาจาก Portable Network Graphics
- ภาพที่ต้องการความคมชัดสูง
- รูปแบบล่าสุดในการนำเสนอภาพผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- สามารถแสดงผลได้ในระบบสีเต็มพิกัด (True Color)
- มีขนาดไฟล์เล็ก และควบคุมคุณภาพได้ตามที่ต้องการ
- มีการกำหนดให้พื้นภาพเป็นพื้นโปร่งใสได้ (Transparent)
- แสดงผลแบบหยาบสู่ละเอียด (Interlaced)
- ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .png
TIFF มาจาก Tagged-Image File Format
- รูปแบบที่ใช้เก็บภาพพร้อมรายละเอียดต่างๆ เช่น เลเยอร์ (Layer), Annotation, โหมดภาพทั้งระบบ
- CMYK, RGB, Lab Color ตลอดจนข้อมูลประกอบอื่นๆ ตามต้นฉบับเดิมของภาพ
- เหมาะสมต่อการเก็บบันทึกภาพต้นฉบับ และภาพสำหรับใช้ประกอบการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์
- ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .tif
ที่มา : http://www.stks.or.th
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
งานดีไซน์ที่ดีมีหลัก 3 ข้อ
วิธีทำภาพแบบ Posterize