ถ้าให้พูดถึงการสมัครงานสิ่งที่เราต้องเจออย่างแน่นอนเลยก็คือ “การสัมภาษณ์งาน” เป็นด่านแรกที่ถือได้ว่าชี้เป็นชี้ตายตัวเราเลยก็ว่าได้ การสัมภาษณ์งานนั้นนอกจากจะใช้ดูทัศนคติของเราที่มีต่อเรื่องงานและเรื่องทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังเป็นการทดสอบความเข้ากันของผู้สมัครและองค์กรอีกด้วย ซึ่งด่านแรกนี้เป็นความท้าทาย ไม่ว่าจะสำหรับนักศึกษาที่พึ่งเรียนจบ ชาว First Jobber ที่เพิ่งเริ่มก้าวเข้าสู่ชีวิตวัยทำงานได้ไม่นาน หรือแม้แต่คนที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้ว และกำลังมองหาที่ทำงานใหม่เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หากเราไม่ได้เตรียมตัวสัมภาษณ์งานให้พร้อม เราอาจจะมานั่งนึกเสียดายในภายหลังที่ไม่เตรียมตัวให้ดีเสียตั้งแต่ตอนนั้น หากเราอยากเตรียมตัวให้พร้อม อยากเพิ่มโอกาสในการได้งาน เริ่มต้นได้จากการเตรียมคำตอบให้กับ “คำถามจิตวิทยา” ที่ผู้สัมภาษณ์อาจจะหยิบยกมาถามคุณ
สิ่งที่ช่วยลดความตื่นเต้นได้ดีที่สุดก็คือ การสร้างความมั่นใจให้กับตัวเราเอง การเตรียมความพร้อมสำหรับคำถาม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตัวเราได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า คำถามที่เรามักจะเจอในการสัมภาษณ์งานมีอะไรบ้าง
คำถามที่ได้ยกมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งในคำถามที่เรามักจะเจอตอนสัมภาษณ์ ซึ่งคำถามเหล่านี้คือคำถามเชิงจิตวิทยา ที่คนสัมภาษณ์มักใช้ถามกัน และอาจจะปรับเปลี่ยนตามบริบทขององค์กรนั้น ๆ อีกที ก่อนที่เราจะไปดูคำถามเชิงจิตวิทยาเหล่านี้ เราไปทำความรู้จักคำถามจิตวิทยากันก่อนดีกว่า เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือกับทุกคำถามที่เราอาจต้องเจอได้อย่างตรงจุด
คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา คือ คำถามวัดทัศนคติ เพื่อดูว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งที่รับสมัครหรือไม่ โดยอาจถามถึง ปัญหาต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ไหม แล้วตัวคุณมีวิธีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร เป็นต้น
คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยาจะใช้เพื่อวัดพฤติกรรมของตัวผู้สัมภาษณ์งาน เพื่อดูว่าคุณจะตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงานอย่างไร และมีวิธีรับมือ รวมไปถึงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
ทุกคำตอบพยายามตอบให้ออกมาเป็นเชิงบวกให้ได้มากที่สุด ถึงแม้ว่า คำถามจิตวิทยาบางคำถามอาจฟังดูกวน ชวนโมโห ให้เกิดอารมณ์ในเชิงลบ ก็ควรจะหาสิ่งที่เป็นแง่ดีหรือแง่บวกนำออกมาตอบเสมอ
การตอบคำถามเชิงจิตวิทยาที่ดี คือการที่เราควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถ ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์แบบไหน ก็ไม่ควรนำเรื่องส่วนตัวมากระทบในหน้าที่การงาน
ให้เราจำไว้เสมอว่า ทำไมเราถึงอยากเข้ามาทำงานที่นี่ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้ตัวคุณเองสามารถตอบกับคำถามจิตวิทยา แนวที่ว่า ทำไมคุณถึงเลือกเรา / ทำไมคุณถึงอยากร่วมงานกับเรา ได้อย่างตรงไปตรงมา และจริงใจที่สุดต่อหน้าผู้สัมภาษณ์
ฝึกซ้อมตอบคำถามเชิงจิตวิทยาเหล่านี้บ่อย ๆ แล้วเราจะรู้แนวทางการตอบ ซึ่งควรที่จะเตรียมตัวเตรียมความพร้อมล่วงหน้าสักหน่อย เพราะคำถามลวงที่วัดทัศนคติเหล่านี้ เราต้องรู้ให้ทันว่า คำถามนี้ถามเพราะต้องการวัดทัศนคติเราในด้านไหน
จาก 4 ข้อที่กล่าวมา ซึ่งโดยรวมแล้วพยายามตอบคำถามสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยาด้วยจิตวิทยาง่าย ๆ คือ พยายามพุ่งความสนใจไปที่ ความต้องการของนายจ้างหรือบริษัทมากกว่าสิ่งที่คนเองต้องการ พอรู้อย่างนี้แล้ว เราไปดูตัวอย่าง 10 คำถามเชิงจิตวิทยา และแนวทางการตอบกัน
แนวทางการตอบ : พยายามตอบในแง่บวก เช่น ‘ออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ดีกว่า’ หลีกเลี่ยงการพูดถึงที่ทำงานเก่าในแง่ลบ เช่น ‘ออกเพราะเจ้านายเก่าที่นิสัยแย่มาก ๆ’ เป็นต้น
แนวทางการตอบ : ตอบไปเลยว่าใช่ ไม่ต้องกลัวอะไร เพราะการประสบความสำเร็จไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดในโลกสักหน่อย เล่าให้เค้าฟังถึงความสำเร็จเจ๋ง ๆ ของคุณที่มีจนถึงช่วงที่สัมภาษณ์นั่นแหละ
แนวทางการตอบ : เลี่ยงคำตอบที่จะกำหนดช่วงเวลาอย่างแน่นอนว่าคุณจะอยู่ที่นี่ไปนานแค่ไหน ลองตอบประมาณว่า ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายยังพอใจที่จะรักกัน
แนวทางการตอบ : ตอบอย่างคนมีวิสัยทัศน์และถ้าเข้าวัตถุประสงค์ (objective line) ของ Resume ที่เราเขียนไปก็จะดีมาก (objective line คือส่วนหนึ่งของ Resume) โดยการอธิบายประมาณสองสามประโยคที่บ่งบอกตัวคุณว่าคุณเป็นคนอย่างไร และมีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างไร ผู้จ้างงานจะดูตรงนี้เป็นพิเศษ ว่าเป้าหมายของคุณสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม : งัดไม้ตายพิชิตคำถามสัมภาษณ์ วางเป้าหมาย 5 ปี อย่างไร
แนวทางการตอบ : ถึงแม้ว่าคำถามข้อนี้จะล่อเป้าให้เราแฉที่ทำงานเก่ามาก แต่อยากให้เลี่ยงด้วยการตอบว่า ที่เก่าก็เปรียบเสมือนสถานที่ที่ทำให้คุณเติบโตและทำให้คุณเป็นคุณในวันนี้ได้ ไม่ต้องไปลงรายละเอียดของที่ทำงานเก่ามากเพราะมันเป็นความลับขององค์กร (confidential) ซึ่งบางที่บริษัทที่เราไปสัมภาษณ์ อาจจะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกัน
แนวทางการตอบ : เล่าไปแบบสบาย ๆ เลยว่าคุณใช้เวลาว่างไปกับอะไรบ้าง เช่น งานอดิเรกของคุณ พยายามโยงงานอดิเรกของคุณไปสู่การเพิ่มพูนทักษะให้กับตัวเองสักเล็กน้อยแต่พองาม เป็นต้น
แนวทางการตอบ : อย่าเปิดเผยทุกเรื่องที่ผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมา เล่าความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นแล้วตามต่อด้วยบทเรียนที่เกิดขึ้น และวิธีจัดการและแก้ไขกับปัญหากับความผิดพลาดครั้งนั้น เพื่อแสดงถึงคนที่มีการเรียนรู้จากความผิดพลาด
แนวทางการตอบ : ไม่ต้องลงรายละเอียดมากจนถึงว่า ต้องเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยอย่างไรหรือต้องกินอะไร นอนกี่โมง คือแค่บอกไปง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า เป็นคนรอบรู้ ยุติธรรม ให้กำลังใจกับคนในทีม อะไรประมาณนี้ เป็นต้น
แนวทางการตอบ : คำถามแบบนี้ต้องตอบอย่างระมัดระวังเป็นอย่างมาก แนะนำว่าให้ยกตัวอย่างที่คุณทำได้ดีภายใต้ความกดดัน ทำให้เค้ารู้สึกว่าความกดดันนี่แหละที่ทำให้คุณดึงพลังแฝงออกมาได้
แนวทางการตอบ : ทำการบ้านมาดี ๆ ว่าอยากถามอะไรคนที่สัมภาษณ์ ชัดเจนในการทำความเข้าใจกับคำตอบให้ดี คำถามนี้เจอบ่อยจริง ๆ
10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำถาม และคำตอบเชิงจิตวิทยา ที่มักจะเจอในการสัมภาษณ์งาน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังจะไปสัมภาษณ์งาน ขอให้คุณโชคดี มั่นใจกับทุกคำตอบที่ตัวเองได้ตอบไป
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง