ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ที่จบด้านไอที เพราะสายงานนี้เป็นที่ต้องการของตลาด แทบทุกองค์กรต้องการบุคลากรไอที เพื่อแก้ไขระบบขององค์กรให้ราบรื่น และพัฒนาบริการหรือสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น สำหรับใครที่กำลังหางานอยู่ เราได้รวบรวมคำถามสัมภาษณ์งานไอทีและคำตอบไว้เป็นแนวทาง เพื่อให้มั่นใจว่าสัมภาษณ์งานครั้งนี้ผ่านชัวร์! จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
กลุ่มคำถามวัดระดับความฉลาดทาง IQ (Intelligence Quotient)
ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่องค์กรพบเจออยู่บ่อยๆ หรือคำถามความถนัดเฉพาะ รวมถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่ผู้สมัครงานให้ความสนใจ เพราะผู้สัมภาษณ์อยากทราบว่าเรามีทักษะการคิด วิเคราะห์ และการใช้เหตุผล มากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่างคำถาม
1.บอกชื่อโปรแกรมที่ถนัดใช้งาน และเรียงลำดับจากโปรแกรมที่ง่ายไปถึงยากที่สุด
คำถามนี้ผู้สัมภาษณ์อยากทราบว่าคุณมีความถนัดด้านใดเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งที่สมัครหรือไม่ เช่น คุณ สมัครตำแหน่ง Web Developer แต่ตอบว่าไม่ค่อยถนัดเรื่อง HTML หรือ JavaScript ก็คงไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นควรศึกษา Job Description ให้ละเอียดก่อน นอกจากนี้คุณควรอธิบายด้วยว่าทำไมถึงคิดว่าโปรแกรมนี้ยากหรือง่าย ตบท้ายด้วยการสร้างความมั่นใจให้ผู้สัมภาษณ์ โดยตอบว่าถึงแม้โปรแกรมนี้จะยากแค่ไหน แต่จะพยายามเรียนรู้และฝึกฝนให้มากที่สุด
2. คุณชอบเข้าเว็บไซต์ บล็อก หรือ Podcasts อะไรบ้าง?
ผู้สัมภาษณ์งานอยากทราบว่าคุณเป็นคนอัปเดตข้อมูลทางเทคโนโลยีมากน้อยแค่ไหน เพราะ สายงานไอที ต้องรู้เท่าทันเทรนด์ตลอดเวลา ซึ่งคุณก็ควรเลือกตอบเว็บไซต์หรือเทคบล็อกที่น่าเชื่อถือและคนทั่วไปรู้จัก เช่น TechSource, Medium, TechCrunch, และ The Verge เป็นต้น ยิ่งเป็นเว็บไซต์ต่างประเทศก็บ่งบอกว่าคุณมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีด้วย
คำถามนี้ต่อเนื่องจากคำถามที่ 2 ซึ่งผู้สัมภาษณ์อยากรู้ทักษะการคิดวิคราะห์ของคุณที่มีต่อเทรนด์เทคโนโลยี เช่น Cloud Kitchen บริการให้เช่าครัวและพื้นที่ คุณต้องอธิบายว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร แล้วแนวคิดนี้จะ Disrupt ร้านอาหารทั่วโลกได้หรือไม่ ใครจะได้ประโยชน์สูงสุด หากคำตอบของคุณเป็นเหตุเป็นผลก็จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจ
กลุ่มคำถามวัดระดับความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
เพราะองค์กรไม่ได้ต้องการแค่คนทำงานเก่งอย่างเดียว แต่ต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วย รู้จักปรับตัวเข้าหาผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี และแสดงออกมาอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างคำถาม
คำถามนี้อยากวัดทักษะทางอารมณ์และการรับมือกับความกดดันของผู้สมัคร คุณควรตอบว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ สิ่งแรกที่ควรทำถือการขอโทษที่ทำให้เสียเวลาทำงาน เพื่อแสดงความกล้าในการยอมรับและ เรียนรู้ข้อผิดพลาดในการทำงาน จากนั้นจึงอธิบายให้พนักงานเข้าใจว่าทำไมต้องใช้เวลานานขนาดนี้ อาจจะเป็นปัญหาจากซอฟแวร์ ที่ต้องติดต่อกับ supplier ทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้ในเวลาสั้นๆ และจะพยายามไม่ให้เกิดปัญหานี้อีกในอนาคต
หลายครั้งที่พนักงานไอทีถูกมองว่าต้องแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ซึ่งจริงๆ แล้วพนักงานไอทีก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับผิดชอบด้วย เช่น มีพนักงานให้ช่วยเรื่องสูตรของโปรแกรม Microsoft Exel หรือ เครื่องปริ๊นเตอร์เสียก็เรียกไอที เป็นต้น คุณควรตอบว่าหากเป็นงานเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณมีความรู้ช่วยเหลือได้ และไม่รบกวนเวลาที่ทำงานอยู่ ก็ยินดีช่วยเหลือเต็มที่ เป็นการแสดงความมีน้ำใจในฐานะเพื่อนร่วมงาน แต่หากเป็นงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับ เลย และเสียเวลาทำงานหลัก คุณก็ควรตอบปฏิเสธไปตรงๆ แต่พูดด้วยน้ำเสียงโทนสุภาพ อาจแนะนำบุคลากรท่านอื่นที่พอจะช่วยเหลือได้
กลุ่มคำถามวัดระดับความฉลาดทางจริยธรรม MQ (Moral Quotient)
อย่างที่รู้กันว่าเทคโนโลยีมีทั้งข้อดีข้อเสีย หากใช้ความเก่งในทางที่ผิดย่อมส่งผลลบต่อตนเองและส่วนรวม จึงต้องคัดกรองพนักงานที่มีความฉลาดทางจริยธรรมด้วย เพราะพนักงานด้านไอทีเป็นคนที่เชี่ยวชาญระบบหลังบ้านทั้งหมดและรู้ข้อมูลสำคัญขององค์กร
ตัวอย่างคำถาม
คำถามนี้ถือเป็นหัวใจหลักของการสัมภาษณ์ ที่สามารถตัดสินได้ว่าคุณจะได้งานหรือไม่ เพราะคนเก่งด้านไอทีสมัยนี้หาไม่ยาก แต่ละปีมีบัณฑิตคุณภาพมากมาย แต่การหาคนเก่งและมีจริยธรรมที่ดีด้วย ไม่ใช่เรื่องง่าย คำถามนี้อาจดูเหมือนไม่ยาก แต่คุณควรตอบอย่างซื่อสัตย์ต่อตนเอง พร้อมอธิบายเหตุผลที่โน้มน้าวผู้สัมภาษณ์ให้เชื่อใจได้ ซึ่งหลักจริยธรรมของไอทีหลักๆ เลยก็คือ การใช้ความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาให้บริษัทก้าวหน้า เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่ใช้ความรู้เฉพาะทางไปละเมิดสิทธิเสรีภาพ หรือใช้ทรัพยาการบริษัทอย่างเต็มที่ จนไปขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์หลัก เป็นต้น
ผู้สัมภาษณ์อาจใช้คำถามนี้ปิดท้ายการสนทนา เพราะเป็นคำถามที่ตอบยากมาก คุณควรตอบด้วยความซื่อสัตย์ แสดงความจริงใจให้ผู้สัมภาษณ์เห็น ถ้าเราโกหกตั้งแต่ตอนสมัครงาน ถึงแม้จะทำให้เราได้งานในตำแหน่งนี้ แต่เมื่อถึงเวลาทำงาน สักวันความจริงก็ต้องปรากฏ จะทำให้คุณหมดความน่าเชื่อถือและเสียประวัติการทำงานได้
ได้แนวคำถามคำตอบไปแล้ว หวังว่าทุกคนจะนำไปปรับใช้กันนะคะ อย่าลืมศึกษาข้อมูลบริษัทและจัดเตรียม resume ให้ดี อย่างไรก็ขอให้ได้ตำแหน่งงานที่หวังไว้นะคะ สมัครงานตำแหน่งไอทีได้ที่นี่
#ให้ก้าวแรกของการทำงานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#jobsDB