นี่คือบทสนทนาระหว่างลูกศิษย์คนหนึ่งที่มาพบอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการ หางาน
ลูกศิษย์ : อาจารย์คะหนู สมัครงาน ไปแล้ว ไม่เห็นมีที่ไหนเรียกไป สัมภาษณ์งาน เลยค่ะ
อาจารย์ : เธอสมัครงานอะไรไปบ้างล่ะจ๊ะ
ลูกศิษย์ : หนูสมัครงานบริษัทด้านยานยนต์ไปค่ะ เพราะหนูคิดว่าหนูสนใจในอุตสาหกรรมนี้
อาจารย์ชี้ ตำแหน่งงาน ที่ติดประกาศอยู่ที่บอร์ดรับสมัครงาน
อาจารย์ : หนูได้สมัครตำแหน่งนี้ไหมจ๊ะ งานน่าสนใจ นะ
ลูกศิษย์ : เปล่าค่ะ หนูไม่อยากไปทำงานต่างจังหวัด หนูเลยไม่ได้สมัคร
อาจารย์ชี้อีกงานหนึ่งบนบอร์ด
อาจารย์ : แล้วงานนี้ล่ะจ๊ะ
ลูกศิษย์ : ไม่ค่ะ หนูไม่อยากทำงานบริษัทนี้ หนูเลยไม่ได้สมัคร
อาจารย์ : โอเค แล้วงานนี้ล่ะจ๊ะ
อาจารย์ชี้อีกงานหนึ่งบนบอร์ด
ลูกศิษย์ : หนูไม่ได้สมัครค่ะ เพราะไม่ใช่สายงานที่หนูสนใจ
อาจารย์ : แล้วหนูมองหา งานแบบไหน อยู่ล่ะจ๊ะ
ลูกศิษย์ : หนูไม่รู้ค่ะ บางทีอาจเป็นงานที่ตรงกับสายที่หนูเรียนมาค่ะ
อาจารย์ : หนูรู้ได้อย่างไรว่างานเหล่านี้ ไม่ตรงกับที่หนูเรียนมา
ลูกศิษย์ : หนูไม่รู้ค่ะ หนูว่ามันไม่ใช่งานที่หนูกำลังมองหา
อาจารย์ : หนูรู้ได้อย่างไรว่างานพวกนี้ไม่ใช่ที่หนูกำลังมองหา ถ้าหนูยังไม่รู้ว่าหนูกำลังมองหาอะไร
ลูกศิษย์ : หนูบอกไม่ถูกค่ะ แต่ถ้าหนูเจอหนูจะรู้ว่ามันใช่ค่ะ อาจารย์คะ หนูมีอีกคำถามหนึ่งค่ะ
อาจารย์ : โอเค หนูจะถามอะไรจ๊ะ
ลูกศิษย์ : ทำไมงานถึงหายากอย่างนี้ล่ะคะ ดูเหมือนว่าไม่มีที่ไหนต้องการรับคนเข้าทำงานเลยค่ะ
อาจารย์ : …
ถ้าคุณเป็นอาจารย์คุณจะให้คำตอบเด็กคนนี้ว่าอย่างไร?
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกงานที่ตัวเองสนใจ ดีกว่าหว่านใบสมัครไปเพียงเพื่อให้ได้งานอะไรก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่เลือกมากจนปิดโอกาสของตัวเอง ผู้หางานควรให้เวลากับการสำรวจตัวเองว่างานแบบไหนกันแน่ที่คุณต้องการ ไม่ใช่“ฉันจะรู้ก็ต่อเมื่อฉันเจองานนั้น”
คุณจะได้งานที่ต้องการก็ต่อเมื่อคุณรู้ว่าคุณต้องการอะไร หากคุณยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ก็เท่ากับว่าคุณเสียโอกาสได้งานดี ๆ ทีอาจเหมาะกับคุณไปก็ได้แทนที่จะบ่นว่า หางานไม่ได้ ควรถามตัวเองก่อนว่า คุณเลือกงานมากเกินไปหรือเปล่า
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เลือกงาน เลือกบริษัท ที่จะสมัครงานอย่างไรที่ให้ประโยชน์สูงสุด