เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2558 ออกโดย พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 13 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่ารักษาพยาบาล ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับกฎกระทรวงฉบับเดิมปี 2551 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
ข้อ | ปี 2558 | ปี 2551 |
2 | กรณีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท | กรณีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 45,000 บาท |
3 | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาทสําหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข (2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท (5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม (6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ําร้อนลวก ความร้อน ความเย็น สารเคมี รังสี ไฟฟ้า หรือระเบิด จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่ผิวของร่างกาย (7) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาทสำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข (2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท (5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม (6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สารเคมี หรือไฟฟ้า จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้เกินกว่าร้อยละสามสิบของร่างกาย (7) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด |
4 | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 3 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ต้องไม่เกิน 300,00 บาทสําหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (6) ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป (2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (6) ที่จําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ําร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จําเป็นต้องรักษาตั้งแต่สามสิบวันติดต่อกัน (4) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังตามข้อ 3 (7) (ก) เป็นผลให้อวัยวะสําคัญล้มเหลว (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 3 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ต้องไม่เกิน 200,00 บาทสำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (6) ที่จําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป |
5 | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 4 สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 4 สำหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 300,00 บาทโดยให้คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ |
6 | ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 5 สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แล้ว ต้องไม่เกิน1,000,000 บาท | ไม่มีกฎข้อนี้ |
สำหรับค่าห้อง ค่าบริการ ให้จ่ายจริง หรือจ่ายไม่เกินวันละ 1,300 บาท เท่าเดิม ครอบคลุมถึงลูกจ้างที่เจ็บป่วยก่อนกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ด้วย
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ