รายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2560

รายการค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2560
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

         เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการคำนวนภาษี เพื่อยื่นภาษีประจำปี 2560 แล้วนะคะ jobsDB ชวนคุณมาสำรวจสิทธิในการลดหย่อนภาษีดูก่อนว่า ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีในส่วนนี้เองจะช่วยให้คุณเสียภาษีน้อยลง และยังอาจได้เงินภาษีคืนอีกด้วย

ลดหย่อนภาษีปี 2560

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว

          สำหรับผู้มีเงินได้ที่เสียภาษี ใช้ลดหย่อนภาษีได้ทันที 60,000 บาท (ปรับปรุงใหม่จากเดิม 30,000 บาท)

2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีรายได้

          กรณีสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ของเราที่ไม่มีรายได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกัน เราจะได้สิทธิค่าลดหย่อนส่วนเพิ่มอีกจำนวน 60,000 บาท (ปรับปรุงใหม่จากเดิม 30,000 บาท) โดยคู่สมรส-สามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายต้องไม่มีเงินได้ในระหว่างปี หรือมีแต่เลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีกับเรา

3. ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือบุตรบุญธรรม

          บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท (ปรับปรุงใหม่จากเดิม 15,000 บาท) โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษา ในกรณีที่มีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก แต่ถ้ามีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้ โดยเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน โดยเราต้องเป็นคนเลี้ยงดูบุตร และบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีหรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป

4. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

          ลดหย่อนจากบิดามารดา (ตัวเอง) และบิดามารดาคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท มากสุดไม่เกิน 120,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ บิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ต้องให้บิดามารดาออกหนังสือรับรองการเลี้ยงดู ให้กับบุตรที่จะขอลดหย่อนภาษีด้วย เพราะลูกที่จะรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี จะสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

5. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

          สำหรับบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

          สามารถใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท หากเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

7. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

          หักได้ตามจำนวนที่ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

8. กองทุนการออมแห่งชาติ

          ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

9. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป

          ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ที่คู่สมรสมีประกันชีวิตอยู่หรือซื้อประกันชีวิตให้คู่สมรสไว้ และคู่สมรสไม่มีรายได้ แต่ยังจ่ายเบี้ยประกันอยู่ สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท เพราะเมื่อไม่มีรายได้ จึงไม่จำเป็นต้องหักลดหย่อนภาษีนั่นเอง

10. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

          ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นประกันที่มีระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปีต่อเนื่องไปจนถึง 85 ปี และที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

11. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

          ผู้ที่จ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้เมื่อรวมกับ RMF, กบข., กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

12. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

          กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนเงินออมของสมาชิก ซึ่งกำหนดให้สมาชิกของ กบข. ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน กบข. 3% ในแต่ละเดือน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบเพิ่มให้อีก 3% ด้วยเช่นกัน โดยสมาชิกที่จ่ายเงินสบทบเข้า กบข. นี้จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

13. เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

          ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

14. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF)

          RMF เป็นกองทุนรวมที่จัดขึ้นเพื่อการออมและการลงทุนในระยะยาว เพื่อเตรียมความพร้อมหลังเกษียณ โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลดหย่อนภาษีคือ สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ถ้ามีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว เมื่อนำมารวมกับเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนใน RMF แล้วก็หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน

          สามารถ คิดตามสูตรได้คือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กองทุนครูโรงเรียนเอกชน + RMF รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท

15. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF)

          LTF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ซื้อหน่วยลงทุน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นผลตอบแทนด้วยคือ สามารถซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน)

16. ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย

          ดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำไปจ่าย เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถได้รับลดหย่อนและยกเว้นได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท กรณีร่วมกันกู้ยืม ให้เฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท

17. มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ (บ้านหลังแรก)

          ลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จ ในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยหักลดหย่อนตั้งแต่ปีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และให้หักลดหย่อนต่อเนื่องกัน 5 ปี ๆ ละเท่า ๆ กัน

18. ค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

          เป็นบ้านที่เสียหายจากน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2559 และปีภาษี 2560

19. ค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

          เป็นรถยนต์ที่เสียหายจากน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาทสำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2559 และปีภาษี 2560

20. ช้อปช่วยชาติ

          ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท เริ่ม 11 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2560 ตรวจสอบสินค้าที่ลดหย่อนภาษีได้และไม่ได้ ตามตารางด้านล่างนี้

ลำดับ

ประเภทค่าใช้จ่าย

ลดหย่อน

ไม่ลดหย่อน

หมายเหตุ

1.

ค่าซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า

/

 

ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ บุหรี่

2.

ค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร หรือในโรงแรม

/

 

ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ บุหรี่

3.

ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถ

/

 

 

4.

ค่าซ่อมรถ

/

 

ต้องเป็นการซ่อมและชำระค่าบริการ ช่วงวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 และซ่อมแล้วเสร็จภายใน 31 ธ.ค. 59

5.

ค่านวดหน้า สปา

/

 

 

6.

ค่าซื้อสินค้าในร้าน duty free

/

 

ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ บุหรี่ และเฉพาะสินค้าที่เสีย VAT

7.

ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม

 

/

การให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้น VAT

8.

ค่าซื้อทองคำแท่ง

 

/

ทองคำแท่งได้รับยกเว้น VAT

9.

ค่าซื้อทองรูปพรรณ (ได้เฉพาะค่ากำเหน็จ)

/

 

ทองรูปพรรณเสีย VAT เฉพาะค่ากำเหน็จ

10.

ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์

 

/

เนื่องจากเป็นการชำระค่าสินค้า และบริการในเดือนก่อน

11.

ค่าน้ำมันรถ ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ

 

/

 

12.

ค่าที่พักโรงแรมในประเทศ

 

/

ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อน ได้ตามมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่ 316 และ 322)

13.

ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ

 

/

ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อน ได้ตามมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่ 316 และ 322)

14.

ค่าซื้อแพ็คเกจทัวร์ไปต่างประเทศ

 

/

 

15.

ค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศ

 

/

ค่าขนส่งในประเทศได้รับการยกเว้น VAT อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจด VAT ผู้ซื้อสามารถนำตั๋วเครื่องบินมาหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้

16.

ค่าตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศ

 

/

 

17.

ค่าซื้อประกันชีวิต ประกันรถยนต์

 

/

ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการให้บริการประกัน ซึ่งคุ้มครองนอกเหนือจากวันที่ 14-31 ธ.ค. 59

18.

ค่าซื้อเนื้อหมู ไก่ ปลา

 

/

เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้น VAT

19.

ค่าซื้อหนังสือ นิตยสาร ตำราเรียน

 

/

เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้น VAT

20.

ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ

/

 

ต้องซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ และนำบัตรนั้นไปใช้รับบริการในระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 สามารถนำมาหักลดหย่อนได้

21.

ค่าซื้อบัตรของขวัญ ของห้างสรรพสินค้า (Gift voucher)

 

/

ไม่ได้ เนื่องจากบัตรของขวัญไม่เสีย VAT

 

21. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา

          มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

22. เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา

          มีสิทธิหักลดหย่อนได้อีก 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

23. เงินบริจาคทั่วไป

          การบริจาคให้กับการกุศลต่าง ๆ สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังหักลดหย่อนและยกเว้นกรณีอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น ไม่สามารถนำการบริจาคที่เป็นสิ่งของมาหักลดหย่อนได้ และหากต้องการลดหย่อนแบบคูณ 2 จะต้องเป็นการบริจาคเงินให้กับโรงเรียนรัฐ และโรงเรียนเอกชนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือสมาคมกีฬาที่ได้รับการอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยแล้วเท่านั้น เช่น บริจาคให้โรงเรียนหรือสมาคมกีฬา 15,000 บาท ก็จะสามารถหักลดหย่อนได้เป็น 30,000 บาท (15,000 x 2 = 30,000)

24. เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือน้ำท่วม

          เป็นการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 สามารถหักลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคทั่วไป ต้องไม่เกิน ร้อยละ10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น

          ทั้งนี้ การบริจาคที่จะนำมาใช้ลดหย่อนจะต้องมีใบเสร็จรับเงินบริจาค หรือใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อผู้บริจาคชัดเจนตรงกับชื่อ-นามสกุลของผู้เสีย ภาษี เพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐาน และหากมีการบริจาคร่วมกันหลายคน ให้เฉลี่ยเงินบริจาคออกเป็นเท่า ๆ กันตามสัดส่วน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560

ค่าปรับสำหรับผู้ที่ยื่นภาษีล่าช้า

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา