Career Path ของคนทำงาน Digital Marketing เริ่มที่ตรงไหนและก้าวต่อไปทางไหนได้บ้าง

Career Path ของคนทำงาน Digital Marketing เริ่มที่ตรงไหนและก้าวต่อไปทางไหนได้บ้าง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

นับตั้งแต่การระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด – 19 โลกของเราก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว เพราะในหนึ่งแทบทุกคนต้องมีกิจกรรมเกี่ยวกับดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นโอนจ่ายเงินผ่านมือถือ เล่น Facebook Instagram หรือโซเชียลมีเดียอื่น ๆ google ค้นหาเรื่องที่อยากรู้ สั่งอาหารผ่านแอปเดลิเวอรี่ และช็อปปิ้งสินค้าออนไลน์ ทำโลกการตลาดที่ต้องหมุนตามผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปสู่การทำการตลาดออนไลน์หรือดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง

ดิจิทัลมาร์เกตติ้ง

จากผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เปิดเผยว่า คนไทยมีพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยนานขึ้นเป็น 10 ชั่วโมง 36 นาทีต่อวัน โดยโซเชียลมีเดียที่นิยมใช้มากสุด 3 อันดับแรกได้แก่ YouTube, Line, Facebook ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ที่ออกมาระบุถึงตัวเลขการใช้จ่ายผ่านสื่อดิจิทัลในปี 2564 มีมูลค่าสูงถึง 24,766 ล้านบาท โดยแพลตฟอร์ม Line ผ่าน Instant Massaging และ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอรม์หลักที่แบรนด์ต่าง ๆ เลือกใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ตามมาด้วยน้องใหม่มาแรงอย่าง TikTok ที่มียอดโฆษณาเติบโตกว่า 654% ในปีที่ผ่านมา  โดยสื่อโฆษณาเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่อัตราเฉลี่ย 27.5% ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

นี่เป็นข้อมูลสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าอาชีพในสายงาน Digital Marketing มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากเพียงใด นอกจากเป็นที่ต้องการตัวและมีโอกาสตกงานต่ำแล้ว Career Path หรือความก้านหน้าในอาชีพของคนทำงานสายการตลาดดิจิทัลก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน ลองมาดูกันว่า สายงานดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งจะมี Career Path ให้ได้ไต่เต้ายังไงบ้าง

Digital Marketing Executive (พนักงานการตลาดดิจิทัล)

คือจุดเริ่มตนของคนที่อยากทำงานสายนี้ เนื้องานจะเป็นงานพื้นฐานประเภท วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค เก็บข้อมูลและวิเคราะห์แพลตฟอร์มหรือช่องทางสื่อออนไลน์ ทำความเข้าใจกับเทรนด์ของตลาดและกลุ่มเป้าหมาย คิดไอเดียออกแคมเปญการตลาด พร้อมวัดผลลัพท์ว่าสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไรบ้าง และเก็บข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ ทำรายงานข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้ รวมไปถึงเบ็ดเตล็ดอย่างงานเอกสาร ทำสัญญา ติดต่อลูกค้าและประสานงานต่าง ๆ

Digital Marketing Specialist (ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล)

เมื่อผ่านงานพื้นฐานมาอย่างช่ำชองแล้ว ก็ถึงเวลามาลงลึกในสายงานย่อยของ Digital Marketing เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Specialist) ในตำแหน่งงานเฉพาะ โดยความรู้ที่ต้องมีลึกขึ้นก็อย่างเช่น ความรู้เชิงลึกในด้านการใช้เครื่องมือทางการตลาดของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Google Adwords, Facebook Ads, Instagram, YouTube, Blogger, Influencer ไปจนถึงรู้จักพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของกลุ่มเป้าหมาย สามารถวางแผนกลยุทธ์และจัดทำแคมเปญออนไลน์ได้ ตำแหน่งงานเช่น SEO Specialist, SEM Specialist, Content Specialist, Social Media Specialist เป็นต้น

Digital Maketing Manager (ผู้จัดการฝ่ายการตลาดดิจิทัล)

ตำแหน่งผู้จัดการผ่านการตลาดออนไลน์นี้ต้องเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการบริหารจัดการสื่อดิจิทัลอย่างเชี่ยวชาญ และยังจะต้องมีความสามารถในการใช้เครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบริโภค พร้อมทั้งความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ แผนโฆษณา ออกแคมเปญใหม่ ๆ รวมไปถึงกำหนดงบประมาณและจัดการค่าใช้จ่ายที่จะใช้ไปในสื่อดิจิทัลทั้งหลายให้เป็นไปตามแผนและสามารถสร้างผลลัพธ์ที่บริษัทตั้งเป้าไว้

Vice President Chief of Marketing (รองประธานฝ่ายการตลาด)

ตำแหน่งนี้มักจะมีในองค์กรขนาดใหญ่ เพราะจะเป็นคนที่มีหน้าที่ดูแลภาพรวมการตลาดทั้งหมดของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นทางออนไลน์หรือออฟไลน์ของแต่ละ Business Unit ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่มักมีมากกว่า 1 ธุรกิจ นอกจากนี้ตำแหน่ง Vice President Chief of Marketing ยังจะต้องทำหน้าที่วัดผลลัพธ์ของกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดที่ได้ทำไป รวมถึงรายงานผลการตลาดทั้งหมดของบริษัทให้กับผู้บริหารต่อไป

Chief Marketing Officer (ประธานบริหารฝ่ายการตลาด)

ส่วนใหญ่ตำแหน่งมักพบเห็นได้ในองค์กรขนาดใหญ่ระดับบริษัทมหาชน หรือบริษัทจำกัดที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ แต่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ CMO มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุม ดูแล และจัดการการตลาดทั้งหมดของทุก Business Unit ให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนดไว้ พร้อมกับการทำงานประสานกับผู้บริหารระดับ C Level อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น CEO (ประธานบริหาร) CFO (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน) COO (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ) เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางบริษัทและนำเป้าหมายเหล่านั้นมาแตกย่อยให้คนในทีมนำไปเป็นแนวทางในการทำงานต่อ และยังมีหน้าที่ประสานงานกับสื่อมวลชนภายนอกเพื่อให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการตลาดของบริษัทอีกด้วย

นอกจากจะเป็นที่ต้องการของบริษัทน้อยใหญ่มากมายแล้ว Career Path ก็ดูจะสดใสมีตำแหน่งให้เลื่อนขึ้นไปได้เรื่อย ๆ ฐานเงินเดือนเองก็อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าดี และหากเป็นคนที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือมีทักษะอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจด้วยแล้ว ก็จะยิ่งส่งเสริมให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่ามาตรฐานคนทำงานการตลาดทั่วไปได้อีกด้วย แถมข้อดีของสายอาชีพ Digital Marketing อีกอย่างก็คือ ไม่ว่าจะจบอะไรมาก็สามารถผันตัวเองเข้าสู่สายงานนี้ได้ไม่ยาก เพียงแต่ขอให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถนำไอเดียมาพลิกแพลงให้ “ว้าว” ได้ และมีความพยายาม พร้อมเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ความรู้ทางการตลาดใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เทรนด์ใหม่ ๆ ของทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถประสบความสำเร็จในสายงาน Digital Marketing นี้ได้ไม่ยาก

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คู่มือทำความเข้าใจงานด้านการตลาดอย่างง่ายสำหรับเด็กจบใหม่

คนแบบไหนที่จะได้เป็น Manager ก่อนอายุ 30

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา