ระบบ Logistic มีบทบาทมากขึ้นในโลกของการทำธุรกิจในปัจจุบัน และจะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคต ด้วยเหตุของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน และไร้ขีดจำกัดโดยสิ้นเชิง ทำให้การติดต่อทำธุรกรรมต่าง ๆ สะดวกสบายมากขึ้น การเติบโตของระบบธุรกิจที่อาศัยประโยชน์ของ Logistics ทำให้ตลาดแรงงานด้านนี้ เติบโตตามไปด้วย ทำให้คนหางานจำนวนหนึ่งให้ความสนใจกับงานด้านนี้
งาน Logistics หรือที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็น งานขนส่งสินค้า ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ และก้าวเข้ามามีบทบาททางธุรกิจมากขึ้น ระบบ Logistics ได้กลายมาเป็นระบบที่ถูกนำมาปรับใช้ในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังจุดหมายด้วยวิธีการ และระบบที่ดีที่สุด
ตำแหน่งงาน Logistics เป็นตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดส่งสินค้า และทรัพยากรอย่างอื่น จากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งมีความต้องการของผู้บริโภครออยู่ ผู้ที่ทำงานด้าน Logistics ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่เรียนจบมาทางด้าน Logistics ซึ่งเปิดสอนในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย เช่น คณะโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์ ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์)
ผู้ที่เรียนจบ และสนใจงานด้าน Logistics สามารถไปประกอบอาชีพได้ค่อนข้างหลากหลาย โดยตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักในสายงานนี้ เช่น ผู้ปฏิบัติงานนำเข้าและส่งออกสินค้า ผู้จัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศ พนักงานคลังสินค้า พนักงาน Shipping พนักงานประเมินราคา ตัวแทนการนำเข้าและส่งออกสินค้า ผู้ดูแลคลังสินค้า เจ้าหน้าที่คลังสินค้า พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ เจ้าหน้าฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้ที่ทำงานด้าน Logistics
ลักษณะของงานของเจ้าหน้าที่ Logistics
งาน Logistics เป็นงานที่มาพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจ ไม่ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีมากน้อยเพียงใด งานด้านนี้ก็สามารถเติบโตตามไปด้วย และจะยิ่งทำให้ตลาดแรงงานเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ผู้หางานด้าน Logistics จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการหางาน พิสูจน์ให้นายจ้างเห็นว่าเรามีความเหมาะสมเพียงใดกับตำแหน่งงานนี้
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ