หนึ่งในสายงานที่ฟังดูแปลกๆ ชวนให้นึกถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (หรือที่เราเรียกกันว่า ยาม นั่นเองครับ) ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งผิดปกติอะไร เพราะหลายๆคนก็เข้าใจผิดกันอยู่บ่อยครั้ง
จป. วิชาชีพก็คือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (Safety Officer)ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ปฏิบัติไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นตำแหน่งที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้นายจ้างต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, การไฟฟ้า, การประปา, โรงแรม, โรงพยาบาล, งานเหมืองแร่และถ่านหิน, ห้างสรรพสินค้า, สถาบันการเงิน
สมัครงาน จป. วิชาชีพ คลิกที่นี่
ฟังแบบนี้ก็ต้องมีคำถามต่อใช่ไหมครับ? ว่าจป. วิชาชีพเค้ามีความจำเป็นในแต่ละองค์กรมากแค่ไหน? จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ซึ่ง ระบุถึง กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการกำหนดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานไว้ 5 ระดับ
1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
3) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
4) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
5) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
1. ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4. วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3
7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน
8. ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ
9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
10. ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
11. รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
สำหรับใครที่สนใจงานด้านจป. วิชาชีพจำเป็นที่จะต้องมีสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า โดยสามารถตรวจสอบสถาบันทางการศึกษาที่เปิดสอนได้จาก สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ครับ
รู้อย่างนี้แล้ว เพื่อนคนไหนที่วางแผนอยากจะทำงานในสายอาชีพนี้จะได้วางแผนกันถูกนะครับjobsDBยังมีตำแหน่งงาน จป. วิชาชีพให้สมัครด้วย คลิกที่นี่ ได้เลยครับ
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android