เรียน จบสายอาชีพ ต่อคณะอะไรได้บ้าง ...? หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่เด็กอาชีวะหลาย ๆ คนมักจะสงสัยว่า เรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช.แล้ว อยากเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะทำได้ไหม และหากจะเรียนต่อต้องเรียนต่อในคณะใด ต้องจบสาขาใด จึงสามารถเรียนต่อในคณะที่เราสนใจ หรือสงสัยว่าจบคณะอยากเรียนแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
สำหรับเด็กสายอาชีพ หรือเด็กอาชีวะนั้น เส้นทางการเรียนต่อมีอยู่2 เส้นทาง ดังนี้
- เรียนต่อสายวิชาชีพในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือ ปวส. ทั้งนี้ เด็กที่เรียนสายอาชีพส่วนใหญ่แล้วเมื่อจบวุฒิ ปวช. มักจะเรียนต่อในระดับ ปวส. ต่อยอดสายอาชีพกันแบบเต็มตัว เพราะข้อดีสำหรับการเรียนลงลึกสายอาชีพ นอกจากจะได้ความรู้เฉพาะทาง เสริมทักษะในวิชาชีพในเชิงลึกมากขึ้น เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้ทันที เพราะมีความรู้ทั้งในภาควิชาการและภาคปฏิบัติ ที่สำคัญวุฒิ ปวส. สายอาชีพเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานหลายบริษัท โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม วิศวกรรม
- เบนสายไปเรียนต่อปริญญาตรีในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับเด็กอาชีวะที่เรียนจบในสายวิชาชีพมา และสนใจจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ในปัจจุบันมีทางเลือกที่หลากหลาย เพราะมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน โดยเฉพาะในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนปัจจุบันเปิดกว้าง และเปิดรับผู้ที่เรียนจบในระดับ ปวช.มากกว่า มหาวิทยาลัยของภาครัฐ โดยมีการเปิดรอบรับสมัครอย่างต่อเนื่อง และใช้เกณฑ์ของมหาวิทยาลัยเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติ ไม่จำเป็นต้องมีคะแนนสอบในระบบ TCAS
และใครที่สนใจอยากเข้าในระบบ TCAS ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดว่า แต่ละรอบนั้นมีที่ไหนเปิดรับวุฒิ ปวช. บ้าง เพราะมหาวิทยาลัยที่ใช้ระบบ TCAS ในการคัดเลือกไม่ได้เปิดรับผู้ที่จบ ปวช. หรือสายอาชีพในทุก ๆ รอบและทุกคณะ โดยรอบที่เปิดรับสมัครผู้ที่จบสายอาชีพ หรือ ปวช. แน่นอน คือ รอบที่ 4 ซึ่งเป็นรอบที่เด็กสายอาชีพสนใจลงสมัครในรอบนี้เยอะที่สุด
จบสายอาชีพระดับปวช.เลือก9 คณะที่ใช่
- คณะวิศวกรรมศาสตร์เช่น วิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งผู้ที่จะเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องจบ ปวช. ในสาขาวิชาเครื่องกล ยานยนต์ งานซ่อมบำรุง งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม สาขางานก่อสร้างโยธา
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีสาขาการบัญชี สาขาการตลาด สาขาการจัดการสํานักงาน สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ผู้ที่จะเรียนต่อจบ ปวช. สาขาการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ สาขาภาษาต่างประเทศ และสาขาธุรกิจบริการ เป็นต้น
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สาขาสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายใน สาขาภูมิสถาปัตย์ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาสถาปัตยกรรมไทย สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ผู้ที่จะเรียนต่อจบ ปวช. สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน การออกแบบ เป็นต้น
- คณะศิลปกรรมศาสตร์สาขาทัศนศิลป์ สาขาดุริยางคศิลป์ สาขานฤมิตศิลป์ สาขานาฏยศิลป์ ผู้ที่จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขางานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องปั้นดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับและอัญมณี การพิมพ์ สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ดนตรีสากล และเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ สาขางานพิมพ์ เป็นต้น
- คณะการโรงแรมและการท่องเที่ยวสาขาการโรงแรม สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวผู้ที่จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขาคหกรรมบริการ คหกรรมเพื่อการโรงแรม สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขางานการโรงแรม การท่องเที่ยว เป็นต้น
- คณะมนุษยศาสตร์สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งผู้จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขางานเทคโนโลยีระบบเสียง สาขาการประชาสัมพันธ์ สาขาภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีวสารสนเทศ ซึ่งผู้จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ สาขาธุรกิจคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยผู้จะศึกษาต่อในคณะนี้ต้องมีวุฒิ ปวช. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจเสื้อผ้า สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร สาขางานคหกรรมการผลิต เป็นต้น
- คณะอุตสาหกรรมสาขาช่างยนต์ สาขาช่างกลโรงงาน สาขาช่างเชื่อมโลหะ สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างก่อสร้าง โดยผู้จะศึกษาต่อในคณะนี้ต้องมีวุฒิ ปวช. สาขาช่างกล สาขาช่างไฟฟ้า สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างเชื่อม เป็นต้น
- คณะเกษตรกรรมสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาประมง ผู้เรียนต่อต้องจบการศึกษา ปวช. สาขางานพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ และการประมงทะเล เป็นต้น
นอกจากคำถามเกี่ยวกับคณะที่เด็กสายอาชีพจะสามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว อีกคำถามยอดฮิตคือ เรียนจบแล้วในแต่ละคณะสามารถไปทำงานอะไรกันบ้าง ซึ่งคำตอบนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไป เพราะขึ้นอยู่กับความต้องการในตลาดงาน และแน่นอนว่าสายงานที่มีความต้องการบุคลากรสูงมาก ๆ มีอยู่จำนวนมาก เช่น สายงานด้านวิศวกรรม วิศวกรซอฟต์แวร์และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบด้านไอที นักการตลาด นักการเงิน นักออกแบบ กราฟฟิกดีไซน์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหาร ผู้ผลิตและคิดค้นผลิตภัณฑ์ทางด้านความงาม เครื่องสำอาง อาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และอีคอมเมิร์ซ สถาปนิก มัณฑนากร และสาขาโลจิสติกส์ การขนส่ง อาชีพในสายงานการบัญชี เป็นต้น
อาชีพข้างต้นเหล่านี้ล้วนเป็นอาชีพที่พร้อมเปิดรับบุคลากรจบใหม่จากคณะและสาขาที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เปิดรับเด็กสายอาชีพเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในปัจจุบัน คราวนี้เราก็ได้คำตอบกันแล้วว่า จบสายอาชีพ ต่อคณะอะไรได้บ้าง สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังวางแผนสมัครงาน จัดเตรียมเรซูมเม่สำหรับสมัครงานที่เราใฝ่ฝัน เข้ามาดูที่แอปพลิเคชัน JobsDB กันได้เลย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/learn-english-online/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b9%8c/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e-%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e/