เรซูเม่ (Resume) ถือว่าเป็นประการด่านแรกของการสมัครวาน ที่เราจะได้เรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สมัครงานว่าเป็นเช่นไร รวมไปถึงความประทับใจต่าง ๆ จากผู้สมัคร แต่ในขณะเดียวกันเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สมัครนั้นให้ข้อมูลมาตรงและไม่เกินจริงจนเกินไป วันนี้เรามีวิธีเบื้องต้นในการจับไต๋ว่าผู้สมัครคนนี้ขี้จุ๊หรือไม่
ผู้สมัครขี้จุ๊ ในเรซูเม่
ในปี 2017 มีผลการสำรวจจาก Careerbuilder ที่พบว่ากว่า 75% ของผู้จัดการฝ่ายจ้างงาน (Recruitment Manager) เคยพบกับ Resume ที่เขียนขึ้นเกินจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบอกว่าตัวเองเคยมีประสบการณ์ในการทำงานบริษัทใหญ่ ๆ แต่เมื่อทำการสอบถามกับ CEO หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับไม่รู้จัก หรือจะเป็นการเขียนความสามารถในการใช้โปรแกรมหรือการอบรมในหลักสูตรพิเศษ ที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถนั้นจริงเป็นต้น
ทำให้ HR ในยุคใหม่จะต้องทำการเช็คข้อมูลของผู้สมัครให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะหากว่าเรารับคนที่ไม่ตรงกับความสามารถเข้ามา ย่อมส่งผลเสียต่อองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในกา่รที่เราต้องการหาคนมาแทนที่รวมไปถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดอีกด้วย
ในส่วนของวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นนั้น เราแนะนำวิธีดังต่อไปนี้
Behavioral Interview คือ การสัมภาษณ์โดยใช้คำถามเชิงพฤติกรรมที่มีต่อเหตุการณ์หรืองานที่ทำในอดีต ซึ่งคำถามเหล่านี้หากผู้สมัครสามารถตอบได้อย่างชัดเจน ก็อาจจะพอรับรู้ได้ว่าผู้สมัครมีความสามารถตามที่ระบุได้จริง โดยคำถามเหล่านี้จะเป็นคำถามต่อเนื่องให้ผู้สมัครได้ตอบ นอกจากนี้เราอาจจะถามถึงการรับมือในเรื่องต่าง ๆ เช่น วิธีการในการรับมือเมื่อเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือลูกค้าเป็นต้น
การเช็ควันที่ในประวัติการทำงานก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี ในการตรวจสอบถึงความสามารถในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น หากผู้สมัครทำงานในบริษัทหนึ่งตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2021 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2022 ก็มีแนวโน้มว่าผู้สมัครจะเขียนในเรซูเม่ว่าทำงานตั้งแต่ 2021-2022 โดยไม่ได้ระบุเดือนไว้ ก็ตีไปเลยว่าผู้สมัครคนนี้ไม่ได้ให้ข้อมูลจริง
ในการเขียนเรซูเม่ ผู้สมัครมักจะมีการระบุความสามารถต่าง ๆ ไว้ ซึ่งเราสามารถที่จะสอบถามแบบลงลึกกับทักษะที่เขามี เนื่องจากโดยปกติแล้วผู้สมัครมักที่จะมีความสามารถที่สูงกว่าคุณสมบัติที่ต้องการ (Job Requemnent) โดยจุดนี้เราจะสามารถที่จับโกหกผู้สมัครได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะว่าหากผู้สมัครมีความสามารถจริง ๆ ตามที่ระบุไว้ ผู้สมัครจะสามารถอธิบายได้อย่างละเอียดและตรงไปตรงมา ยิ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา เราสามารถที่จะถามจนกว่าจะหายข้อสงสัยได้
นอกจากนี้เราสามารถที่จะลองถามคำถามเกี่ยวกับงานที่ทำมาก่อน เช่นผลงานที่เคยทำว่า คิดงานออกมายังไง ลงมือยังไง วางแผนยังไง หรือให้ผู้สมัครลองพูดถึงผลงานที่ตัวเองชอบหรือภูมิใจมากที่สุด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเห็นว่าเขาโกหกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
แม้ว่าผู้สมัครจะโกหกได้แนบเนียนขนาดไหน แต่ก็อย่าลืมว่าในทุกการสมัครงาน HR หรือผู้รับสมัครมักที่จะให้ใส่ชื่อของ Reference Person หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับที่ทำงาน ซึ่งในจุดนนี้เราสามารถที่จะไปสอบถามเรื่องนี้กับคนที่เขาอ้างอิงถึง รวมไปถึงหากคุณรู้จักกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท ที่ผู้สมัครทำงานอยู่ อาจจะลองสอบถามดู จะทำให้คุณจับโกหกได้อย่างไม่ยาก อีกทั้งยังมั่นใจถึงความสามารถของผู้สมัครเมื่อรับเข้ามาทำงานอีกด้วย
สำหรับคนที่กำลังหางานหลาย ๆ คนอาจจะมองว่าการใส่ข้อมูลที่เกินจริงในเรซูเม่เป็นเรื่องเล็ก แต่จริง ๆ นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะแผนกบุคคลมักจะมีวิธีการในการตรวจสอบข้อมูลอย่างถูกต้อง และถึงแม้ว่าเราจะสามารถเข้าทำงานได้จริง แต่หากว่าถูกจับได้ภายหลังอาจจะถูกเชิญออก พร้อมกับติด backlist ของบริษัทในเครืออีกด้วย ยิ่งเป็นการฝากเรซูเมไว้กับ Head hunter อาจจะทำให้คุณหมดอนาคตที่จะได้ทำงานในบริษัทดี ๆ ไปเลย
ดังนั้นวิธีการที่จะได้งานที่ดีที่สุดคือ การหาความรู้รวมไปถึงการฝึกทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อสายงานให้พร้อมเมื่อมีโอกาสมาถึง
จะเห็นได้ว่าการเขียนข้อมูลเท็จลงในเรซูเม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เนื่องจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีวิธีการในการตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครงานอยู่เสมอ ซึ่งสี่วิธีนี้เป็นเพียงวิธีขั้นต้นเท่านั้น ยังมีวิธีอีกมากมายในตรวจสอบข้อมูล ดังนั้นหากเป็นไปเขียนข้อมูลที่ถูกต้อง ความสามารถที่คุณมีจริง ๆ เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเองในระยะยาว
และหากคุณอยากเปลี่ยนงานใหม่ แต่ยังขาดความรู้ด้านวิธีการสัมภาษณ์งานอยู่ หรือต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ ๆ ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสามารถเสริมความรู้เพิ่มเติมได้จากการเรียนออนไลน์กับ UpLevel เสริมทักษะ เพิ่มโอกาสงาน จาก JobsDB มีคอร์สที่สอนความรู้ด้านนี้ให้คุณเพิ่มทักษะการทำงานโดยเฉพาะ
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/
https://th.jobsdb.com/en-th/articles/answer-interview-questions-negative-information/