ช้อปช่วยชาติ กระตุ้นเศรษฐกิจไทยช่วงปลายปี 2560 ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2560
ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ผู้มีเงินได้ไม่ใช่จะได้รับ 15,000 บาทเลย แต่ต้องนำมาคำนวณภาษีตามขั้นภาษีก่อน เพราะฉะนั้น จะได้ภาษีคืนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของแต่ละคน เช่น คนที่มีฐานภาษี 5% หากจ่ายค่าสินค้าไป 15,000 บาท จะได้ภาษีคืน 750 บาท แต่ถ้าฐานภาษี 35% จ่ายค่าสินค้าไป 15,000 บาท จะได้ภาษีคืน 5,250 บาท เลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าคนที่มีฐานภาษีสูง จะได้รับประโยชน์จากการช้อปช่วยชาติมากกว่า ดังนั้น ก่อนจะซื้อสินค้าหรือบริการ ลองคำนวณภาษีดูกันก่อนจะดีกว่า แล้วนำมาเทียบกับตารางด้านล่างนี้ได้เลยว่า ถ้าจ่ายค่าสินค้าไป 15,000 บาทแล้ว จะได้ภาษีคืนมาเท่าไหร่
รายได้สุทธิต่อปี (บาท) | ฐานภาษี | รับเงินภาษีสูงสุด (บาท) |
ไม่เกิน 150,000 | ยกเว้นภาษี | 0 |
150,001-300,000 | 5% | 750 |
300,001-500,000 | 10% | 1,500 |
500,001-750,000 | 15% | 2,250 |
750,001-1,000,000 | 20% | 3,000 |
1,000,001-2,000,000 | 25% | 3,750 |
2,000,001-4,000,000 | 30% | 4,500 |
4,000,001 ขึ้นไป | 35% | 5,250 |
สามารถตรวจสอบสินค้าที่ลดหย่อนภาษีได้ และไม่ได้ตามตารางด้านล่างนี้
ลำดับ | ประเภทค่าใช้จ่าย | ลดหย่อน | ไม่ลดหย่อน | หมายเหตุ |
1. | ค่าซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า | / | ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ บุหรี่ | |
2. | ค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร หรือในโรงแรม | / | ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ บุหรี่ | |
3. | ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถ | / | ||
4. | ค่าซ่อมรถ | / | ต้องเป็นการซ่อมและชำระค่าบริการ ช่วงวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 และซ่อมแล้วเสร็จภายใน 31 ธ.ค. 59 | |
5. | ค่านวดหน้า สปา | / | ||
6. | ค่าซื้อสินค้าในร้าน duty free | / | ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ บุหรี่ และเฉพาะสินค้าที่เสีย VAT | |
7. | ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม | / | การให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้น VAT | |
8. | ค่าซื้อทองคำแท่ง | / | ทองคำแท่งได้รับยกเว้น VAT | |
9. | ค่าซื้อทองรูปพรรณ (ได้เฉพาะค่ากำเหน็จ) | / | ทองรูปพรรณเสีย VAT เฉพาะค่ากำเหน็จ | |
10. | ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ | / | เนื่องจากเป็นการชำระค่าสินค้า และบริการในเดือนก่อน | |
11. | ค่าน้ำมันรถ ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ | / | ||
12. | ค่าที่พักโรงแรมในประเทศ | / | ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อน ได้ตามมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่ 316 และ 322) | |
13. | ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ | / | ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อน ได้ตามมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่ 316 และ 322) | |
14. | ค่าซื้อแพ็คเกจทัวร์ไปต่างประเทศ | / | ||
15. | ค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศ | / | ค่าขนส่งในประเทศได้รับการยกเว้น VAT อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจด VAT ผู้ซื้อสามารถนำตั๋วเครื่องบินมาหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้ | |
16. | ค่าตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศ | / | ||
17. | ค่าซื้อประกันชีวิต ประกันรถยนต์ | / | ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการให้บริการประกัน ซึ่งคุ้มครองนอกเหนือจากวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 | |
18. | ค่าซื้อเนื้อหมู ไก่ ปลา | / | เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้น VAT | |
19. | ค่าซื้อหนังสือ นิตยสาร ตำราเรียน | / | เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้น VAT | |
20. | ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ | / | ต้องซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ และนำบัตรนั้นไปใช้รับบริการในระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ | |
21. | ค่าซื้อบัตรของขวัญ ของห้างสรรพสินค้า (Gift voucher) | / | ไม่ได้ เนื่องจากบัตรของขวัญไม่เสีย VAT |
เอกสารที่ต้องใช้ เพื่อนำไปยื่นลดหย่อนภาษี
เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ ต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากร้าน โดยผู้ประกอบกิจการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะต้องมีการระบุข้อความดังนี้
1. มีคำว่า "ใบกำกับภาษี" ให้เห็นชัดเจน
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของร้านค้า
3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ (เลขประจำตัวผู้เสียภาษี = เลขประจำตัวบัตรประชาชน)
4. หมายเลขของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดแจ้ง
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด (ถ้ามี) เช่น คำว่า เอกสารออกเป็นชุด สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ