การอ่านงบกำไรขาดทุน ที่แสดงผลประกอบการของบริษัทนั้น หากผู้ทำ บัญชี หรือ ผู้บริหาร ติดกับดักตัวเลขที่ดูดี อาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่รู้เลยว่าสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทไม่ได้ดูดีเหมือนกับตัวเลขที่เห็น ทำให้ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนมากพอ ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาล้มละลายและต้องปิดกิจการในที่สุด
หลักการของ บัญชี ต่างจากวิทยาศาสตร์ที่ต้องการแสวงหาความเป็นจริงที่สมบูรณ์ที่สุด แต่บัญชีไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์ที่สุด เพราะหากจะทำให้สมบูรณ์ที่สุดก็คงไม่อาจหาข้อสิ้นสุดได้ และยิ่งกลายเป็นความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ หากแต่ความถูกต้องทางการบัญชีนั้น มุ่งเน้นที่การไม่ทำผิดกฎเกณฑ์ และไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “การเข้าข้างตัวเอง” ผสมอยู่ หลักเกณฑ์ทางบัญชีไม่ใช่อะไรที่ตายตัวเพียงหลักเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง แต่นักบัญชีสามารถเลือกสรรได้ว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใดให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบริษัท และเมื่อเลือกแล้วก็ต้องการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นั้นต่อไป ตราบใดที่เรายังปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เราเลือกต่อไป มันก็จะยังคงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่เสมอ เมื่อเราจะดูว่าผลประกอบการที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ต้องดูจาก งบกำไรขาดทุน ซึ่งคำนวณจากส่วนต่างระหว่างยอดขาย กับ ค่าใช้จ่าย เราจะรู้ว่าใน 1 ปีที่ผ่านมาเราได้กำไร หรือขาดทุน หรือหาก 1 ปียาวนานเกินไปจะสรุปผลกันเป็นราย 3 เดือน หรือสรุปทุก ๆ เดือนเลยก็ได้ โดยที่ความหมายของส่วนต่างที่เป็นกำไรหรือขาดทุนนั้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราเปรียบเทียบรายได้อะไรกับค่าใช้จ่ายอะไร ดังต่อไปนี้
การอ่านตัวเลขทางบัญชีจึงไม่สามารถดูเพียงด้านเดียวได้ แต่ต้องพิจารณาให้รอบด้าน นำตัวเลขรายได้ และค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ มาพิจารณาประกอบด้วยเสมอ เพื่อให้ได้ตัวเลขผลการดำเนินการที่แท้จริงของบริษัทซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการตัดสินใจในการ บริหารธุรกิจ ต่อไป