เป็นที่คับข้องใจของคู่สามีภรรยามายาวนาน เกี่ยวกับเกณฑ์การเสียภาษีที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นของสามี โดยต้องนำเงินได้ที่เป็นชื่อของภรรยามารวมคำนวณเป็นเงินได้ของสามี ทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษีสูงขึ้น คนที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสจึงต้องเสียภาษีสูงขึ้น ถือเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย
ในที่สุดเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่าเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิสามีและภรรยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่าไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิงนับเป็นข่าวดีสำหรับภรรยาที่มีเงินได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ที่ตั้งแต่ปีภาษี 2555 เป็นต้นไปมิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี
กรณีสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษี ซึ่งสรุปได้ดังนี้
การหักลดหย่อน | สามีหรือภรรยามีรายได้คนเดียว | มีรายได้ทั้งสองคน |
ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท | หักของตนเอง 30,000 + ของคู่สมรส 30,000 | หักของตนเองคนละ 30,000 บาท |
บุตรคนละ 15,000 และ การศึกษาบุตรคนละ 2,000 บาท | หักได้ 17,000 บาท | ถ้าเป็นสามีภรรยาตลอดปีภาษี หักได้คนละ 17,000 บาท ถ้าเป็นสามีภรรยาไม่เต็มปีภาษี หักได้คนละ 8,500 บาท |
เบี้ยประกันชีวิต (ส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกินหักได้ หลังคำนวนภาษีแล้วแต่ไม่เกิน 90,000 บาท) | ส่วนแรกหักของตนเองตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 + ของคู่สมรสตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ถ้าเป็นสามีภรรยาไม่เต็มปีภาษีหักเฉพาะของตนเอง | หักของตนเองตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท |
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท) | หักเฉพาะของผู้มีเงินได้ | หักของตนเอง |
ดอกเบี้ยกู้ยืม (จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท) | ถ้ากู้ยืมคนเดียวให้หักเฉพาะของผู้มีเงินได้ ถ้ากู้ยืมร่วมกัน ให้หักได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท | ถ้ากู้ยืมแยกกันให้หักของตนเอง ถ้ากู้ยืมร่วมกันให้หักได้คนละครึ่ง |
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม | หักได้ตามที่จ่ายจริง | หักของตนเองตามที่จ่ายจริง |
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท | บิดามารดาของตน บิดา 30,000 + มารดา 30,000 บิดามารดาของคู่สมรส บิดา 30,000 + มารดา 30,000 | หักเฉพาะของบิดามารดาของตน บิดา 30,000 + มารดา 30,000 |
ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือ ผู้ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท | หักได้ 60,000 บาท ถ้าเลี้ยงดูบุตรที่พิการหรือทุพพลภาพ หักได้อีก 60,000 บาท | ใครมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนนั้นมีสิทธิ หักลดหย่อน |
ที่มา : http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/regulation200955.pdf
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ