วิธีรับมือเมื่อถูก Bully ถูกแกล้งในที่ทำงาน
ข่าวเศร้าช็อกวงการเพลงเกาหลี เมื่อซอลลี่ ศิลปินสาวอดีตสมาชิกวง f(x) จบชีวิตลง เบื้องต้นคาดการณ์ว่าเกิดจากภาวะซึมเศร้าจากการถูกCyberbullyหรือการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ โจมตีด้วยถ้อยคำรุนแรงที่บั่นทอนจิตใจ ปัญหาการ Bully ไม่เพียงแต่จะเกิดกับคนมีชื่อเสียงเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้กับทุกคนในสังคม ตั้งแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัย จนกระทั่งวัยผู้ใหญ่ที่ดูจะมีวุฒิภาวะที่สุด ก็ยังหนีไม่พ้นการกลั่นแกล้งในสถานที่ทำงาน หรือที่เรียกว่า Workplace Bullying ซึ่งบางครั้งเหยื่อของการ Bully ก็มักจะไม่รู้ตัวว่าโดนแกล้งโดยเฉพาะในช่วงแรก
แล้วแบบไหนถึงเรียกว่า Bully?
โดยปกติแล้วการกลั่นแกล้งมีทั้งหมด 3 ระดับ
การกลั่นแกล้งในสถานที่ทำงาน แสดงออกมาได้หลายรูปแบบทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น ล้อเลียน นินทา ตีตัวออกห่าง ประจานบนโซเชียลมีเดีย แล้วเพิ่มดีกรีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มใช้คำพูดหยาบคายให้เรารู้สึกอับอาย ใช้อำนาจกดดัน สั่งงานเยอะแต่ขอด่วนทุกงาน ทำให้งานผิดพลาดหรือติดขัด ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ถูกแกล้งรู้สึกไม่มีความสุขกับการทำงาน อาจนำไปสู่ อาการหมดไฟและหมดใจจนต้องลาออก (Burnout) หรือร้ายแรงที่สุดคืออาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แล้วเราจะรับมือปัญหานี้อย่างไรดี หลายคนก็ยังคิดไม่ตก เรามีวิธีตอบโต้แบบมีสติ พลิกวิกฤติเป็นโอกาสมาฝากกันค่ะ
หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย
1.นิ่งเข้าไว้
หากเจอพวกชอบนินทา หรือเอาจุดด้อยมาล้อเป็นเรื่องขำขัน ก็อย่าใจร้อนตอบโต้ด้วยความโกรธกลับไป ตั้งสติไว้ก่อน เพราะยิ่งคุณโกรธมากเท่าไหร่ พวกขี้แกล้งก็จะยิ่งได้ใจที่ยั่วอารมณ์คุณได้ ควรเลือกที่จะนิ่งสงบไว้ ไม่ใส่ใจกับคำ พูดลบๆ ที่ไม่ใช่คำวิจารณ์สร้างสรรค์ คิดเสียว่าเป็นคำพูดไร้สาระ ไม่มีประโยชน์อะไรกับงานและชีวิตของเราเลย ถ้าเราเฉยเมย นิ่งกับคำพูดเขาเท่าไหร่ สักพักเขาก็จะเบื่อไปเอง แล้วไปหาเหยื่อรายใหม่ อีกทั้งยังทำให้ เพื่อนร่วมงาน คนอื่นมองว่าคุณมีวุฒิภาวะ ที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีด้วย
ถ้าเล่นบทพระเอกนางเอกแล้ว สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น ไม่มีทีท่าว่าเขาจะหยุดสักที ก็ถึงเวลาที่ต้องหันหน้าคุยกัน เปิดใจคุยกันตรงๆ ไปเลยว่าสาเหตุคืออะไร ขีดเส้นให้ชัดว่าอย่าก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวที่นอกเหนือจากงาน หรือไม่ชอบพฤติกรรมไหนที่เขาแสดงออกมา พยายามสื่อสารออกไปอย่างจริงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ นี่เป็นการส่งสัญญาณว่าคุณไม่พอใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น และคุณก็มีสิทธิปกป้องตัวเองเหมือนกัน ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายคิดได้และพยายามปรับตัว หรือเห็นใจเรามากขึ้นก็ได้
คนที่สนุกกับการ Bully คนอื่น ลึกๆ แล้วขาดความมั่นใจในตัวเอง เห็นคนอื่นดีกว่าไม่ได้ จะกล้าก็เฉพาะอยู่ต่อหน้าเราเท่านั้น ในกรณีที่โดนกลั่นแกล้งเรื่องงาน อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นฝ่ายถูกกระทำอย่างเดียว พยายาม ทำงานให้รอบคอบ ที่สุดและหมั่นอัปเดตให้เพื่อนร่วมงานและหัวหน้ารู้ว่าเราต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้าง คุณจะได้มีหลักฐานเพื่อยืนยันได้ แต่ถ้าหากคุณโดนตำหนิด้วยถ้อยคำหยาบคาย ข่มขู่ หรือโดนป้ายความผิด ให้บันทึกเหตุการณ์ไว้ จะอัดเสียงหรือถ่ายรูปแล้วใช้เป็นหลักฐานเพื่อปกป้องว่าคุณไม่ใช่ฝ่ายผิด แต่มีคนที่ตั้งใจอยากให้เราผิดให้ได้ นี่แหละตัวปัญหาที่แท้จริง
อย่าแบกรับปัญหาไว้คนเดียว เพราะลำพังตัวเราอาจรับมือไม่ไหว ลองปรึกษา หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือฝ่าย HR เพื่อเล่าถึงปัญหาและขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัว แล้วคนทำผิดก็ต้องได้รับโทษ หรือถ้าไม่รุนแรงมากอาจเรียกมาพูดคุยเพื่อไกล่เกลี่ยปรับความเข้าใจกัน จะได้ไม่ไปทำพฤติกรรมนี้กับคนอื่นอีก แต่ถ้าคุณกลัวมากๆ จนไม่ไว้ใจใครเลย ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อจัดการอารมณ์อ่อนไหวของตัวเองก่อน การได้ระบายเรื่องราวให้คนอื่นฟังบ้าง ก็ช่วยลดความเครียดได้ดีทีเดียว
อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่แค่เรื่องของคนแกล้งและคนถูกแกล้งเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรที่ควรช่วยกันสอดส่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรที่ดี แล้วลองกลับมาสำรวจตัวเองด้วยว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่สนับนสนุนการ Bully โดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า นอกจากนี้ เชื่อหรือไม่ยังมี พนักงานที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้ง 9 แบบที่คุณควรหลีกหนีให้ไกล อีกด้วย
#icanbebetter