การทำบัญชีต้นทุนวัตถุดิบมีด้วยกัน 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. วิธีเข้าก่อน – ออกก่อน
วัตถุดิบที่ถูกเบิกไปใช้ภายใต้วิธีการนี้จะเริ่มต้นจากวัตถุดิบคงเหลือ ณ วันต้นงวด หลังจากนั้นจึงจะเริ่มคิดจากการซื้อ ในครั้งแรกๆ ไล่มาตามลำดับ วัตถุดิบคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดใดๆ จึงคำนวณจากยอดต้นทุนการซื้อในครั้งหลังสุด ตามหลักการดังกล่าว มีผลทำให้มูลค่าวัตถุดิบคงเหลือสะท้อนถึงข้อมูลต้นทุน ที่มีความเป็นปัจจุบันไม่ว่ากิจการจะใช้ระบบสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด หรือแบบต่อเนื่องก็ตาม
2. วิธีเข้าหลัง – ออกก่อน
ภายใต้วิธีการนี้ ให้เราลองสมมติว่าสินค้าที่ได้รับเข้ามาในครั้งหลังสุดนั้น จะถูกเบิกใช้ออกไปก่อน ซึ่งแน่นอนว่าหลักการดังกล่าวนี้ จะให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน ดังนั้นสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ ณ วันสิ้นงวดใดๆ นั้น จะรวมถึงสินค้าคงเหลือของงวดก่อน (ถ้ามี) บวกกับสินค้าที่ซื้อเข้ามาในครั้งแรกๆ หลักการของวิธีเข้าหลัง-ออกก่อนนี้จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันระหว่างการใช้ระบบบัญชีสินค้า คงเหลือแบบสิ้นงวดและแบบต่อเนื่อง
3. เมื่อกิจการใช้ระบบสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด
การคำนวณต้นทุนของวัตถุดินที่เบิกใช้ไปในระหว่างการผลิต และวัตถุดิบคงเหลือปลายงวดนั้น จะถูกคำนวณเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเมื่อใช้ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด
4. เมื่อกิจการใช้ระบบสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
วัตถุดิบคงเหลือปลายงวด และมูลค่าวัตถุดิบที่เบิกใช้ไปในการผลิตนั้น จะมีความแตกต่างไปจากการคำนวณภายใต้หลักการของ ระบบบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวด เนื่องจากต้นทุนของวัตถุดิบที่โอนให้กับวัตถุดิบที่ถูกเบิกไปใช้ในการผลิตนั้น ไม่ได้ทำการคำนวณ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นมูลค่าของวัตถุดิบคงเหลือปลายงวดจะสูงกว่าเมื่อคำนวณตามหลักการของวิธีนี้