นาย ไพบูลย์ สำราญภูติ อดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ลักษณะของคนในองค์กรมี 4 ประเภท ซึ่งทุกคนมีช่วงเวลาการทำงานไม่เท่ากัน ซึ่งช่วงการทำงานก็เปรียบได้กับสินค้าชิ้นหนึ่ง คือ
คนกลุ่ม A ไม่ฉลาด-ขยันจะเป็นกลุ่มที่ว่านอนสอนง่าย เรียนรู้ได้ง่าย นายจ้างสั่งให้ทำอะไรก็ทำอย่างไม่มีคำบ่น จะพบได้กับพนักงานที่อยู่ในช่วงรอเวลาผ่านการทดลองงาน
คนกลุ่ม B ฉลาด-ขยันเป็นช่วงที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่งและชินต่อระบบงาน ความรู้เพิ่มขึ้น คนกลุ่มนี้จะเป็นเหมือนซูเปอร์สตาร์ ที่เริ่มฟุ้งถึงความสำเร็จของตนเอง ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกรวมในกลุ่มซ่าส์
คนกลุ่ม C ฉลาด-ขี้เกียจเป็นกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มเซียน ผ่านอาการคุยฟุ้งแล้วก็จะเป็นการสอนพนักงานรุ่นน้อง แต่ก็จะสอนในเรื่องด้านลบซะมากกว่า ส่วนเรื่องดี ๆ จะเก็บไว้เป็นเคล็ดลับเฉพาะตัว
คนกลุ่ม D ไม่ฉลาด-ขี้เกียจเป็นระยะสุดท้ายที่องค์กรควรเริ่มพิจารณาว่าคนกลุ่มนี้สมควรได้อยู่ต่อไป หรือไม่ เพราะในระยะที่ 3 นั้น พวกเขาจะไม่รับรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้วยังปิดหูไม่ฟังคำแนะนำของใคร เพราะเชื่อว่าตัวเองเก่งอยู่แล้ว สุดท้ายก็จะกลายเป็นหนี้ให้องค์กร
ดังนั้นคนที่เป็นผู้นำต้อง พิจารณาและทำความรู้จักคนแต่ละประเภท และสังเกตว่าลูกน้องของตัวเองนั้นอยู่ในระดับใด หรือมีจุดอ่อนในเรื่องใด แล้วทำการปิดช่องที่ว่างนั้น เพื่อให้องค์กรเดินไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด