ธุรกิจสมัยใหม่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ มุ่งประเด็นใน การสร้างแบรนด์ ของสินค้าไม่ว่าในประเทศ หรือต่างประเทศ และกำลังขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ หลายองค์กรให้ความสำคัญกับ การสร้างแบรนด์ อย่างจริงจังและเป็นระบบ มากกว่าเพียงแค่การตลาดเหมือนเมื่อก่อน
1. สร้างสัญลักษณ์ตัวแทน สินค้า บริการ สถานที่ คน องค์กร หรือ แม้แต่ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นชื่อ สัญลักษณ์ที่เป็น Logo โดยสัญลักษณ์ตัวแทน สิ่งเหล่านี้ต้องจดลิขสิทธิ์ภาพจะจดจำภาพได้ดีกว่าตัวอักษร แต่สมองเราก็สามารถแปลตัวอักษรให้เกิดภาพและความรู้สึกได้ดี การที่เราสร้างให้ภาพหรือ Logo แทนสินค้าหรือบริการ นั่นหมายถึง เรากำลังสร้างตัวแทนเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าที่เรามีอยู่ หรือแม้นแต่ความรู้สึกที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ ยิ่งเรามีสโลแกน จะทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
2. สร้างคุณค่าความประทับใจให้กับสัญลักษณ์ ควรจะกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ว่า เมื่อเห็นแล้วคิดถึงอะไรสิ่งนี้จะเน้นถึงความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญกับการตีความกับ สัญลักษณ์ของเรา สินค้าและบริการจะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างให้ แบรนด์ นั้นส่งผลกับความรู้สึกของ กลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี บางแบรนด์ มี Logo ที่ไม่สวย เรียบง่าย แต่ทำให้รู้สึกว่า เป็นสินค้าคุณภาพ
3. ทำการตลาดสินค้าโดยผ่านแบรนด์ ต้องมีหลักการทำการตลาด เพื่อสนับสนุน แบรนด์คุณค่าทางด้านจิตใจของกลุ่มเป้าหมายนั้น มีค่ายิ่งสำหรับแบรนด์ การทำการตลาด ทุกครั้งต้องนึกถึงแบรนด์ด้วยว่า เรากำลังสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าหรือบริการนั้น ได้ตรงกับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายรึยัง เราสร้างให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ในสิ่งที่เราอยากให้เขารับรู้ หรือรู้สึกอย่างที่ต้องการได้หรือไม่ อย่างเช่น กระเป๋าราคาแพงยี่ห้อต่าง ๆ ก็จะใช้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ให้แตกต่างออกไป การโฆษณาจะจับสื่อที่กลุ่มระดับบนเป็นผู้บริโภค อย่างเช่น หนังสือบนเครื่องบิน สนามบิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ ความรู้สึกที่ดี และยิ่งกลุ่มคนระดับสูงใช้มากเท่าใด ความรู้สึกที่ได้มาครอบครองก็จะทำให้รู้สึกว่า ตนนั้นเป็นบุคคลพิเศษกว่าคนอื่น ๆ ซึ่งถ้าคุณรู้ว่าต้นทุนการผลิตนั้นราคาเท่าใด แล้วราคาที่ขายกันนั้นราคาเท่าใด คุณจะบอกได้เลยว่า มูลค่าของคนสำคัญนั้นมีราคาแพงมาก ๆ จริง ๆ กับสินค้าที่ส่งเสริมทางด้านจิตใจ
4. ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางที่ดี ในตำแหน่งที่ดีเหมาะสมที่สุดกับกลุ่มเป้าหมายเมื่อแบรนด์ออกสู่ตลาด สิ่งที่ต้องก็คือ เราต้องสื่อสารให้ตรงกับแบรนด์ ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงการรับประกัน หรือสัญญาที่ให้ไว้กับแบรนด์ ว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้านั้นจะได้รับตามที่แบรนด์ได้สัญญาทางจิตใจ
5. ตอกย้ำความรู้สึกที่ดีให้กับแบรนด์ สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นคำสัญญาที่ให้ บุคคลที่ดีเยี่ยม ภาพลักษณ์ หรือแม้นแต่หัวใจของธุรกิจก็ตามการสื่อสาร หรือโฆษณา ประชาสัมพันธ์มีผลกับการตอกย้ำความรู้สึกของแบรนด์ทั้งสิ้น สินค้าหรือบริการดีๆ มากมาย ลงทุนสร้างชื่อเสียงให้กับสินค้าและบริการไปด้วยเงินมหาศาล การสร้างชื่ออาจจะยาก แต่การรักษาชื่อเสียง และความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์นั้นๆ ยากกว่า
6. ตรวจวัดความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์ที่เราสร้างขึ้น เพื่อทำการบริหารแบรนด์ได้ตรงกับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายต่อไปการจะตอกย้ำความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายให้ถูกจุดนั้น เราควรจะศึกษาพฤติกรรม และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายที่มีกับแบรนด์นั้นๆ ด้วย
7. เมื่อแบรนด์อยู่ในใจลูกค้าแล้ว ควรจะสร้างส่วนขยายของแบรนด์เพิ่ม เพื่อสร้างความรู้สึกใหม่ ๆแบรนด์บางแบรนด์จะกลายเป็นคุณลักษณะของสินค้า การสร้างส่วนขยายของแบรนด์ จึงจำเป็นต้องมีเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทางจิตใจอีกมุมหนึ่ง หรือเน้นในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างเช่น TOYOTA จะนึกถึงรถยนต์ และ รถกระบะทันที แต่เวลาพูดถึง TOYOTA CAMRY ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นรถเก๋งที่ใหญ่กว่า TOYOTA CORONA หรือใกล้เคียงกัน และจะรู้สึกว่า TOYOTA COROLLA เล็กกว่า แต่ก็ใหญ่กว่า TOYOTA VIOS แต่ถ้าพูดถึง TOYOTA VEGO ก็จะกลายเป็นรถกระบะไป ซึ่งชื่อที่มาเสริมเหล่านี้แหละ คือชื่อส่วนขยายของแบรนด์ โดยตัวมันเองก็อาจจะกลายมาเป็นแบรนด์ได้เองได้ด้วย...
8. ป้องกันไม่ให้แบรนด์ มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี และปรับปรุงให้แบรนด์มีการตอกย้ำคุณค่าในรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ ใช้การตลาดในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ทันสมัยคนเราจะจดจำสิ่งที่ไม่ดีได้รวดเร็วกว่าการจดจำในสิ่งที่ดี ๆ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับแบรนด์ต้องรีบแก้ไข แต่หากไม่มีเรื่องอะไรมากระทบกับแบรนด์ ก็ต้องปรับปรุงและตอกย้ำแบรนด์อยู่เป็นประจำ
9. เมื่อมีสินค้าใหม่ บริการใหม่ ต้องพยายามทำให้สินค้าใหม่ หรือบริการใหม่นั้น มีความรู้สึก หรือ สามารถผสานความรู้สึกที่กลมกลืนกับแบรนด์เดิมให้ได้เมื่อมีสินค้าใหม่หรือบริการใหม่ แต่แบรนด์คงเดิม เราต้องพยายามผสมผสานความรู้สึกเดิมๆ ของลูกค้า กับคุณสมบัติของสินค้าใหม่ หรือบริการใหม่ ให้มีความรู้สึกที่ใกล้เคียงกัน อย่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากจะต้องการสร้างให้แตกต่างกัน ก็ควรสร้างเป็นแบรนด์ใหม่ไปเลยเพื่อใช้ในการขยายตลาดอื่น ๆ ไปได้อีก
10. นำแบรนด์เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายใหม่รู้จักโดยใช้ฐานเก่าเป็นตัวสนับสนุนแบรนด์สินค้าที่อยู่มานาน ส่วนใหญ่มักจะมีกลุ่มเป้าหมายของตนเอง แต่ในบางครั้งกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อาจจะสามารถขยายออกไปได้ อย่างเช่น การขยายออกสู่ต่างประเทศ แต่ก็ยังมีตลาดในเมืองไทย และไม่ได้ทิ้งลูกค้าเก่าเพราะเป็นฐานลูกค้าที่ดี
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ