ก็เป็นที่ทราบกันดีแล้วนะคะว่า ช่วงต้นปีจะมีพนักงานลาออกกันมากกว่าปกติ เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ หลังรับโบนัสก็ไม่ผิดใช่ไหมคะ ด้วยเหตุนี้เองก็เลยคิดว่าเราน่าจะมาคุยกันเรื่องเหตุผลของการลาออกกัน อย่างเป็นจริงเป็นจังสักหน่อย น่าจะเข้าบรรยากาศตอนนี้อยู่ไม่น้อย
จริง ๆ แล้วเรื่อง การลาออกจากงาน ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ สำหรับคนส่วนใหญ่นะคะ เพราะมันหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รายได้ การเดินทาง เรื่องการปรับตัวและเรียนรู้ใหม่ ๆ ด้านองค์กร ด้านตัวงาน และยังรวมไปถึงเส้นทางในอาชีพและหน้าที่การงาน ( Career Path ) อีกด้วย ซึ่งประเด็นหลังนี้มีหลาย ๆ ท่านที่อาจไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นปัจจัย ที่สำคัญมาก ๆ ประการหนึ่งเลยล่ะค่ะ หากเราปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ได้วางแผนด้าน Career Path อาจทำให้เรา พลาดโอกาสที่ดีในหน้าที่การงานไปโดยไม่รู้ตัว
แล้วทำไมคนถึงอยากลาออกจากงานล่ะค่ะ ในเมื่อมันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย? หลาย ๆ ท่านอาจเคยอ่าน หนังสือเรื่อง The 7 Hidden Reasons Employees Leave ของ Leigh Branham ที่เขียนสรุปสาเหตุ 7 ประการที่ทำให้คนอยากลาออกจากงานไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะ อ่านแล้วแอบพยักหน้าเห็นด้วยกับหลาย ๆ ข้อหรือเปล่าคะ คิดว่าทุกท่านคงพอจะจำความรู้สึกตอนที่เราอยากจะลาออกจากงานได้ดี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมันคงไม่ใช่แค่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้คนตัดสินใจลาออกจากงานเพราะคนที่คิดจะลาออกส่วนใหญ่มักจะมีความกดดัน มากพอสมควรก่อนที่จะตัดสินใจลาออก แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้หมายความว่าการลาออกจะต้องเกิดจากปัญหาและความกดดันต่าง ๆ ไปทั้งหมดนะคะการที่มีโอกาสใหม่ที่ดีกว่าที่เข้ามาหรือเหตุผลอื่น ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุให้คนตัดสินใจลาออกจากงานได้บ้างเช่นกัน
ในฐานะของคนที่อยู่ในงานด้าน HR คงต้องลองพิจารณาหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขสาเหตุสำคัญทั้ง 7 ประการข้างต้น โดยในการพัฒนาระบบงานทาง HR ต่าง ๆ เช่น ระบบการสรรหาว่าจ้าง (Recruitment System) ที่จะคัดคนให้เหมาะกับงาน ระบบการบริหารและพัฒนาอาชีพ (Career Management & Development System) สามารถช่วยในเรื่องของโอกาสในการพัฒนาและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นต้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในการที่จะช่วยดูแลให้บุคลากรในองค์กรมีความสุขในชีวิตการทำงาน
นอกจากนั้น บรรดาหัวหน้างานและ ผู้บริหาร ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานของท่านเองก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก นอกจากการที่ท่านจะช่วยดูแลบุคลากรตามแนวทางและระบบ HR ตามที่บริษัทกำหนดแล้ว ในเรื่องของความสัมพันธ์และการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อ ความสุขในการทำงาน ของลูกน้องอย่างมาก เป็นเรื่องที่ไม่ว่าบริษัทหรือ
ระบบ งาน HR ที่มีประสิทธิภาพมากแค่ไหนก็ไม่อาจมาทดแทนในส่วนนี้ได้นะคะ เพราะคนที่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลกับลูกน้องมากที่สุดก็คือท่านนั่นแหละค่ะ ปัญหาหลักส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บังคับบัญชาและลูกน้องก็คือ เรื่องของและการที่ผู้บริหารไม่สามารถWalk the Talkหรือไม่ได้ปฏิบัติตนตามที่พูด และจะมีให้พบเห็นเยอะมากว่า ผู้บริหารมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลพูดคุยได้เป็นคุ้งเป็นแควแต่ทำได้ไม่ถึงครึ่งของสิ่งที่ตนเองพูดไป หรือที่แย่กว่านั้นคือพูดอย่างทำอย่าง เช่น พูดจาชมเชยลูกน้องว่าทำงานดีทำงานเก่ง ยิ่งคนเก่ง ๆ ก็ยิ่งได้รับมอบหมายงานเพิ่มเติมให้ แต่ถึงเวลาในการประเมินผลเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งและพิจารณาเงินเดือนกลับไม่ได้ให้ความสำคัญหรือแสดงให้เห็นว่าตนเองตระหนักในคุณค่าของคน ๆ นั้นแต่อย่างใด แบบนี้รายไหนรายนั้นลูกน้องคงอยู่ด้วยไม่นานหรอกค่ะ
ในการที่เราจะดูแลบุคลากรให้เขามีความสุขในการทำงาน มีความผูกพันและอยากมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จให้แก่หน่วยงานและบริษัทนั้น จริง ๆ แล้วหัวใจสำคัญง่ายนิดเดียวค่ะ นั่นก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเราและปฏิบัติต่อเขาอย่างจริงใจ และเสมอต้นเสมอปลาย หากใครเจอผู้บริหารหรือ หัวหน้างาน แบบนี้ก็คงทุ่มเททำงานให้อย่างสุดตัวแหละค่ะ แล้วอย่างนี้บุคลากรดี ๆ จะไปไหนเสียล่ะคะ
ที่มา : ณัชชา นิลแจ้ง
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำอย่างไรเมื่อพนักงานเริ่มเบื่องาน
จูงใจอย่างไร ให้ลูกน้องเต็มใจทำงาน