ในขณะที่พนักงานมองว่าการถูกบริษัทบล็อกโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูปฟรีอีเมล และโปรแกรมแชททั้งหลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลแต่ในแง่มุมของนายจ้างแล้วการใช้งานโซเชียลมีเดียก็มีผลกระทบต่อบริษัทจริง ๆ ทั้งนี้ มีหลายเหตุผลที่ทำให้นายจ้างต้องจับตาดูการใช้โซเชียลมีเดียในองค์กรอย่าง ใกล้ชิด เช่น
- ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เนื่องจากเอาเวลางานมาใช้อินเทอร์เน็ต แชท ทวีต เล่นเฟซบุ๊ค ดูยูทูป ติดตามบล็อกหรือเว็บบอร์ด
- การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการระบายอารมณ์เรื่องงาน บ่น เจ้านาย และต่อว่า เพื่อนร่วมงาน ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงบริษัทและการทำงานร่วมกันของพนักงาน
- ทำให้การใช้ภาษาแย่ลง ใส่ใจกับการใช้ภาษาที่ถูกต้องน้อยลง เช่น ติดภาษาแชทมาใช้ในการทำงาน สะกดคำผิด ใช้ภาษาแบบผิด ๆ เป็นต้น
- การที่ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ได้กรองข้อมูลให้ดีเสียก่อน ก็อาจทำให้ข้อมูลผิด ๆ แพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว และยากที่จะแก้ไขได้ทัน
- สุขภาพแย่ลงหากเป็นคนโซเชียลมากเกินไป เช่น อยู่กับโซเชียลเน็ตเวิร์กมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน หรือ ส่งข้อความแชทมากกว่า 120 ข้อความต่อวัน และอาจส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ขาดงานบ่อย หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า การนอนหลับผิดปกติ รวมถึงการฆ่าตัวตายเลยก็มี
- ยิ่งมีเพื่อนในโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ยิ่งทำให้การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง อาจถึงขั้นแยกตัวเองจากสังคม ไม่สุงสิงกับใคร ทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ราบรื่น
แม้ความพยายามของบริษัทในการบล็อกโซเชียลมีเดียจะไม่เป็นผล เพราะพนักงานหันมาใช้โซเชียลมีเดียบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของตัวเองแทนก็ตาม แต่พนักงานเองก็พึงรู้หน้าที่ของตน ที่จะไม่ปล่อยให้โซเชียลมีเดียทั้งหลายทำให้เสียงาน เสียสุขภาพ และเสียชื่อเสียงความเป็นมืออาชีพทั้งของตนเอง และ ภาพลักษณ์ของบริษัท ที่ตนทำงาน
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
6 แนวคิดผิด ๆ Social Media Marketing
มารยาทการใช้เทคโนโลยีในที่ทำงาน