ธุรกรรมนอกงบดุลและผลกระทบต่อรายงานการเงิน

ธุรกรรมนอกงบดุลและผลกระทบต่อรายงานการเงิน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ความครบถ้วนสมบูรณ์ของการนำเสนอตัวเลข ข้อมูลใน งบการเงิน และในหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นคุณลักษณะ เชิงคุณภาพของข้อมูลทางบัญชีที่สำคัญยิ่ง ซึ่งจะส่งผลต่อความ โปร่งใสและความน่าเชื่อถือของรายงานการเงินของกิจการ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของการนำเสนอรายงานการเงินของธุรกิจที่มีปัญหาคือการพยายามตกแต่งตัวเลขในงบการเงิน ด้วยการจัดทำ ธุรกรรมนอกงบการเงิน (Off-Balance Sheet Transactions) และ การปกปิดซ่อนเร้นของข้อมูลที่มีนัยสำคัญ มิได้มีการเปิดเผยอย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้รายงานการเงินเกิดความเข้าใจผิด

ส่งผลต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาด และเกิดความเสียหายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ รายงานการเงินอย่างแท้จริง นอกเหนือไปจากรายการที่แสดงใน งบการเงินแล้ว บริษัทควรเปิดเผยรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญ อย่างครบถ้วน เช่น โครงสร้างทุนที่ซับซ้อนของกิจการ การลงทุนใน บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นใน ภายหน้า รวมทั้งข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก รายการนอกงบดุล หรือธุรกรรม นอกงบดุล

ความหมายของ “ธุรกรรมนอกงบดุล” และ “หนี้สิน”

การทำธุรกรรม/รายการนอกงบดุล หมายถึง รายการที่ทำ ให้หนี้สินโดยรวมของกิจการเพิ่มขึ้น โดยที่ผลจากการทำธุรกรรม ดังกล่าวนั้น ไม่ปรากฏให้เห็นในงบดุลของกิจการ (วรศักดิ์ ทุมมานนท์ 2543 : 20-21) ซึ่งธุรกรรมที่กระทำขึ้นนั้นมีเจตนาที่จะ ปกปิดภาระหนี้สิน และข้อผูกพันที่มีอยู่ในปัจจุบันของกิจการ ภาระหนี้สินอันอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการจัดหาเงินกู้ จากบุคคลภายนอก โดยหลีกเลี่ยงมิให้ รายการเหล่านั้นปรากฏรวม กับยอดหนี้สิน ในงบดุลของกิจการได้ กล่าวคือ กิจการจะซ่อนหนี้สิน ของตนออกจากรายงานทางการเงิน โดยการปกปิดรายการนั้นไว้ หรือ ทำการหลบซ่อนบัญชี ทั้งหนี้สินที่เกิดขึ้นจริง และ หนี้สินที่ อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้า (Schilit, Howard Mark 1985 : 156)

หนี้สิน หมายถึงภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของรายการค้าที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่า กิจการ จะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (สมาคม นักบัญชีและผู้สอบรับบัญชีอนุญาตแห่งประเทศไทย. แม่บท การบัญชี)

ประเภทของรายการค้านอกงบดุล หรือธุรกรรมนอกงบดุล

(Schilit, Howard Mark. Financial Shenanigans: How to detect accounting gimmicks and fraud in financial reports NY : McGraw-Hill, 1985) วิธีการหลบซ่อนหนี้สินออกจากรายงานทางการเงินที่มักจะเกิดขึ้น มีดังต่อไปนี้

  1. การรายงานรายได้ให้สูงกว่าความเป็นจริง
  2. การไม่บันทึกหนี้สินที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ หนี้สิน ที่อาจจะเกิดขึ้น
  3. การไม่เปิดเผยภาระผูกพันที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือ ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  4. การสร้างรายการเพื่อล้างหนี้สินออกจากบัญชี

วิธีการหลบซ่อนหนี้สินออกจากรายงานการเงินทั้ง 4 วิธีดังกล่าว เป็นการทำธุรกรรมนอกงบดุลซึ่งถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ วิธีการที่ใช้ในการทำทุจริตในงบการเงิน (Fraudulent Financial Report) กล่าวคือ วิธีการที่ใช้ในการทำทุจริตในงบการเงิน ประกอบด้วย

1. การบันทึกสินทรัพย์และรายได้สูงเกินจริงโดย

  • รับรู้รายได้ไม่ถูกต้อง
  • กำหนดมูลค่าสินทรัพย์ไม่ถูกต้อง

ธุรกรรมนอกงบดุล 2. การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่จริง ไม่เพียงพอ และไม่ครบถ้วนโดย

  • การเปิดเผยรายการระหว่างกันที่ไม่เพียงพอ
  • การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วน หรือ ไม่เหมาะสม

3. การบันทึกหนี้สิน และค่าใช้จ่ายต่ำเกินจริงโดย

  • การเลื่อนการรับรู้ค่าใช้จ่าย และ รายได้ที่เหมาะสม
  • การคิดค่าเสื่อมราคา ค่าตัดบัญชี ค่าเสื่อมสิ้น และ การตัดบัญชีที่ไม่เหมาะสม
More from this category: เรื่องเล่าธุรกิจ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา