หากพูดถึงรูปถ่ายสมัครงาน ฟังดูไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้หางานไม่ได้งานเลยนะคะ ถ้าเป็นสมัยก่อนที่ยังไม่มีกล้องดิจิทัล เราก็เข้าร้านถ่ายรูป บอกเขาว่ามาถ่ายรูปติดบัตร เท่านี้เราก็จะได้รูปถ่ายสมัครงานมาแล้ว แต่ในปัจจุบันที่ทุกคนสามารถถ่ายรูปเองกันอย่างง่ายดาย ทำให้คนจำนวนไม่น้อย คิดว่ารูปถ่ายสมัครงานก็คงเหมือนกับรูปที่อัพขึ้น Social Network กันอยู่ทุกวัน จึงนำรูปถ่ายเล่น ๆ เหล่านั้นมาใช้ในการสมัครงานด้วย ซึ่งปัญหารูปถ่ายไม่เหมาะสมนี้มีให้พบหลากหลายรูปแบบ ไม่เฉพาะในเด็กจบใหม่ แม้แต่ในระดับผู้จัดการก็ยังมีให้เห็น
ก่อนอื่นขอพูดถึงรูปถ่ายที่เหมาะสมก่อนนะคะ ผู้หางานต้องเข้าใจว่า วัตถุประสงค์ของการหางานคืออะไร เราหางานก็เพื่อให้ได้งาน และการที่นายจ้างจะไว้วางใจให้เราทำงานได้นั้น เราต้องมีทักษะ ความสามารถ คุณสมบัติตรงกับที่เขาต้องการ และที่ขาดไม่ได้คือ "ความน่าเชื่อ" แม้เราจะมีประสบการณ์มาอย่างโชกโชน มีความสามารถรอบด้าน แต่อาจมาตกม้าตาย เพราะขาด “กาลเทศะ“ ก็ได้ จุดนี้ทำให้เราขาดความน่าเชื่อถือ และดูไม่เป็นมืออาชีพ ดังนั้น โปรดจำไว้ว่า รูปถ่ายที่ดูเป็นทางการยังคงจำเป็นเสมอในการสมัครงาน
มาดูกันว่ารูปถ่ายที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
ส่วนวิธีการที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือ ถ่ายรูปเอง ไม่ใช่ยืดแขนออกไปถ่าย เหมือนที่จะอัพขึ้น Instagram นะคะ หมายถึงให้เพื่อนหรือใครถ่ายให้ก็ได้ โดยคุณยืนตัวตรง หน้าตรง ให้ด้านหลังเป็นผนังห้องสีฟ้าหรือขาว แขนแนบลำตัว ถ่ายแค่ท่อนบนพอนะคะ ไม่ต้องถ่ายเต็มตัว แล้วเข้า Photoshop จัดการ Resize ให้ไฟล์มีขนาดไม่เกิน 2M รูปแบบไฟล์ .jpg/.jpeg/.jpe/.gif เพื่อแนบในเรซูเม่ออนไลน์
หากต้องการพริ้นท์ออกมาใช้แนบกับใบสมัครงานใน วันสัมภาษณ์งาน ให้ Resize เป็นขนาด 3 x 4 เซนติเมตร วางลงบนกระดาษขนาด 4 x 6 นิ้ว ได้ 9 รูป แล้วเอาไปพริ้นท์ที่ร้านถ่ายรูปได้เลย
ทีนี้มาดูกันว่า รูปถ่ายที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ HR ไม่เลือกคุณเป็นอย่างไร
เห็นตัวอย่างรูปสมัครงานที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกันไปแล้ว อย่าให้เรื่องง่าย ๆ กลายเป็นเรื่องน่าอายที่ทำให้คุณพลาดงานดี ๆ ไปอย่างน่าเสียดายเลยนะคะ ว่าแล้วก็ชักชวนเพื่อนมาถ่ายรูปสมัครงานอย่างมืออาชีพกันดีกว่า
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สมัครงานไปเป็นสิบเป็นร้อยที่ ทำไมไม่มีที่ไหนเรียกสัมภาษณ์งาน
ฝากโปรไฟล์กับ jobsDB ได้งานดี พร้อมอีกหลายข้อดีที่คุณยังไม่รู้