หน้าที่สำคัญของคนเป็นหัวหน้านอกจากจะต้อง บริหารงาน ให้ได้ตามเป้าหมายแล้ว ยังต้องคอยดูแลลูกทีมให้ทำงานเป็นทีมเวิร์กที่ดี มีความสามัคคีกัน ถ้าได้ลูกน้องที่มีคุณภาพ ทำงานดี บุคลิกเข้ากันได้ก็โชคดีไป แต่ในสังคมการทำงานย่อมมีคนหลายประเภท ถ้าต้องบริหารลูกน้องที่ฝีมือดีจริง ประสบการณ์ทำงานโชกโชน บางคนอาจทำงานมานานกว่าหัวหน้าด้วยซ้ำ แต่กลับมีอีโก้สูงปรี๊ดพ่วงมาด้วย จะบริหารลูกทีมเหล่านี้อย่างไรให้ทำงานร่วมกันได้ บอกเลยว่าต้องใช้ทักษะทั้ง hard skill และ soft skill มาดูกันดีกว่าว่ามีเทคนิคอะไรบ้างที่คนเป็นหัวหน้าสามารถนำไปปรับใช้ได้
1. แสดง ภาวะผู้นำ
ไม่ว่าลูกทีมของคุณจะเก่งกาจมาจากไหน มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าคุณ ก็อย่าเพิ่งเสียความมั่นใจไป ในฐานะที่เป็นหัวหน้า ซึ่งหน้าที่หลักคือการบริหาร คุณควรแสดงภาวะผู้นำให้ลูกทีมอีโก้สูงได้เห็น เพื่อให้ได้รับการยอมรับและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน เช่น มีความ กล้าในการตัดสินใจ รู้ลึกรู้จริงในงานของตัวเอง บริหารงานอย่างมีระบบ นอกจากงานนี้ยังต้องบริหารงานด้วยความเป็นกลาง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ชอบลูกน้องคนไหนเป็นพิเศษ แสดงให้ทุกคนเห็นว่าคุณเป็นหัวหน้าที่มีวุฒิภาวะ ดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
คุณสมบัติของการเป็นหัวหน้าที่ดีคือความใจกว้าง โดยพื้นฐานแล้วคนที่มีอีโก้สูงจะเชื่อมั่นในตัวเองสุดขีด และอาจคิดเอาเองว่ารู้ดีกว่าใครรวมถึงหัวหน้าด้วย แต่หัวหน้าก็ไม่ควรมีอคติ ให้คิดเสียว่าทุกคนมีข้อดีข้อเสีย ข้อดีก็คือพวกเขามีความสามารถในการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน ส่วนข้อเสียของการมีอีโก้สูงนั้น รับมือได้ด้วยการเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดที่แตกต่าง แต่ถ้าความคิดเห็นของพวกเขาล้ำเส้นเกินพอดี ก็ควรมีการตักเตือน โดยให้คำแนะนำที่มีเหตุผลเพื่อให้ลูกทีมอีโก้สูงได้ปรับปรุงตัว
3. มอบหมายงานที่ท้าทาย
เพราะความมั่นใจในตัวเองสูงเกินไป อาจทำให้ลูกทีมหลงตัวเองว่าเก่งกว่าคนอื่น สามารถแก้ได้ด้วยการมอบหมายงานที่ท้าทายความสามารถ อาจจะเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อนหรือไม่ถนัด เพื่อให้พวกเขาได้ฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะไม่สามารถทำงานสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว ต้องขอคำปรึกษา ความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน วิธีนี้ช่วยลดอีโก้ ให้พวกเขารู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น เรียนรู้ การปรับตัวในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปปรับใช้เป็นบทเรียนการทำงานครั้งต่อไป
4. สร้าง ข้อตกลงการทำงาน
ในกรณีที่ลูกทีมทำดีก็ควรชื่นชม ถ้าทำผิดก็ควรตักเตือนด้วย หัวหน้าควรสร้างข้อตกลงในการทำงานเพื่อให้ทุกคนทำงานอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน เช่น ถ้าทำงานผิดพลาด ขั้นแรกจะถูกตักเตือนจากหัวหน้า ถ้าทำพลาดเกิน 3 ครั้ง อาจจะมีการหักเงินเดือน หรือถ้าทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ก็จะมีรางวัลตอบแทนให้ เป็นต้น จะช่วยโน้มน้าวใจให้ลูกทีมอีโก้สูงปรับพฤติกรรม และรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับทีม ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวเองและคนอื่นๆ ในทีมด้วย
5. ประเมินผลงาน
ประเมินผลงานของลูกทีมโดยยึดตามหลัก KPI (Key Performance Index) ที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน เช่น ยอดขาย กำไรที่ได้ หรือโปรเจคงานที่ทำสำเร็จตามเวลาที่กำหนด เพื่อให้ลูกทีมอีโก้สูงรู้ขีดความความสามารถของตัวเอง ถ้าทำดีแล้วก็พัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก ถ้าประเมินแล้วต่ำกว่ามาตรฐานก็ต้องยอมรับในผลงานของตัวเอง ได้เห็นข้อเสีย และรู้ว่าควรจะปรับปรุงอะไรบ้าง หัวหน้าก็มีหน้าที่ให้คำปรึกษา และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน
การบริหารลูกทีมฝีมือดีแต่อีโก้สูงเป็นภารกิจที่ท้าทายคนเป็นหัวหน้า เพราะต้องใช้ทั้งความรู้ในการทำงาน ความอดทนอดกลั้น และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่ถ้าทำสำเร็จก็จะเป็นผลดีกับทุกคน สร้างความสามัคคี เพิ่มศักยภาพในการทำงาน สร้างทีมเวิร์ค ที่แข็งแกร่ง แล้วช่วยกันพัฒนาองค์กรต่อไป
สำหรับคนที่อยากจะก้าวไปสู่ ตำแหน่งระดับหัวหน้างาน สามารถค้นหางานน่าสนใจและผลตอบแทนที่คุ้มค่าผ่านแอปพลิเคชั่น jobsDB ได้เลย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android