บริหารวันลาพักร้อนอย่างไรไม่ให้เสียงาน

บริหารวันลาพักร้อนอย่างไรไม่ให้เสียงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 21 January, 2015
Share

Key Takeaway

  • สิทธิลาพักร้อนคือวันหยุดที่พนักงานมีสิทธิ์ลาพักผ่อนโดยได้รับค่าจ้างตามกฎหมายหรือข้อตกลงกับนายจ้าง เพื่อพักผ่อนหรือทำกิจกรรมส่วนตัว โดยไม่ต้องอธิบายเหตุผล
  • ตามกฎหมาย พนักงานมีสิทธิ์ลาพักร้อนขั้นต่ำ 6 วันต่อปี หลังจากทำงานครบ 1 ปี
  • ลาพักร้อนคือการลาเพื่อพักผ่อนโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล ส่วนลากิจคือการลาเพื่อจัดการธุระส่วนตัว ต้องแจ้งเหตุผลและอาจมีการหักเงินได้
  • พนักงานสามารถสะสมวันลาพักร้อนไว้ใช้ในปีถัดไปได้ หากบริษัทอนุญาตตามนโยบาย แต่บางบริษัทอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้วันลาสะสม

แม้ระเบียบการลาพักร้อนแต่ละบริษัทจะต่างกัน แต่สิทธิลาพักร้อนตามกฎหมายแรงงานยังยึดเหมือนกัน หลายคนอาจสงสัยว่าเรามีสิทธิลาพักร้อนได้กี่วันในแต่ละปี และวิธีคำนวณสิทธินั้นควรเป็นอย่างไรให้ถูกต้อง บทความนี้จะพาไปสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิวันหยุดพักร้อนตามกฎหมายแรงงานไทย เพื่อให้เข้าใจและใช้สิทธิอย่างถูกต้องและเต็มที่ที่สุด

สิทธิการลาพักร้อน คืออะไร

สิทธิการลาพักร้อน คือสิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของพนักงานประจำซึ่งได้รับการคุ้มครองอย่างชัดเจนใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน โดยกำหนดให้ทุกบริษัทต้องจัดสรรวันหยุดพักผ่อนให้พนักงานอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อนของพนักงาน

การคำนวณวันลาพักร้อน

การคำนวณจำนวนวันลาพักร้อนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท แต่ยังคงยึดตามหลักเกณฑ์พื้นฐานที่กฎหมายกำหนด มาทำความเข้าใจวิธีคำนวณสิทธิลาพักร้อนอย่างถูกต้องเพื่อให้ใช้สิทธิของตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กรณีได้สิทธิวันลาพักร้อนทันทีเมื่อเริ่มงาน

บางบริษัทมอบสิทธิวันลาพักร้อนให้พนักงานทันทีตั้งแต่เริ่มงาน ถือเป็นสวัสดิการที่ช่วยสร้างความประทับใจและส่งเสริมความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน หากได้รับสิทธินี้ ควรทราบเงื่อนไขและวิธีการบริหารวันลาอย่างเหมาะสม โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้

(จำนวนเดือนที่ทำงาน/12​) × สิทธิวันลาต่อปี = จำนวนวันลาพักร้อน 

ตัวอย่าง นายจ้างให้สิทธิลาพักร้อนแก่นาง ป. ตั้งแต่เริ่มงาน โดยคำนวณตามสัดส่วนสิทธิที่พนักงานควรได้รับ ซึ่งในบริษัทนี้พนักงานมีสิทธิวันลาพักร้อน 6 วันต่อปี และนาง ป. เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 

  • กรณีที่ 1 นาง ป. ทำงานครบ 1 เดือน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ จะได้วันพักร้อนจำนวน 0.5 วัน 
    • ตัวอย่างการคำนวณ (1/12​) × 6 = 0.5 
  • กรณีที่ 2 นาง ป. ทำงานครบ 5 เดือน วันที่ 1 มิถุนายน จะได้วันพักร้อนจำนวน วัน 6 วัน
    • ตัวอย่างการคำนวณ (5/12​) × 6 = 2.5
  • กรณีที่ 2 นาง ป. ทำงานครบ 1 ปี วันที่ 31 มกราคม จะได้วันพักร้อนจำนวน วัน 6 วัน
    • ตัวอย่างการคำนวณ (12/12​) × 6 = 6

กรณีได้สิทธิวันลาพักร้อนหลังผ่านช่วงทดลองงาน

ในบางบริษัท พนักงานจะไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อนทันทีที่เริ่มงาน แต่จะได้รับสิทธิหลังจากผ่านช่วงทดลองงานแล้ว เราสามารถรู้เงื่อนไขและระยะเวลาที่พนักงานต้องทำงานก่อนที่จะสามารถใช้สิทธิวันลาพักร้อนได้ ผ่านการคำนวณ ดังนี้

(จำนวนเดือนที่ทำงาน/12​) × สิทธิวันลาต่อปี = จำนวนวันลาพักร้อน 

ตัวอย่าง นายจ้างให้สิทธิลาพักร้อนแก่นาย พ. ต่อเมื่อผ่านช่วงทดลองงานแล้ว โดยจะคำนวณสิทธิลาพักร้อนตามสัดส่วนตั้งแต่เดือนแรกที่เริ่มทำงาน ซึ่งในบริษัทนี้พนักงานมีสิทธิวันลาพักร้อน 6 วันต่อปี นาย พ. เริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน 2568 และผ่านช่วงทดลองงานในวันที่ 1 ตุลาคม 2568 

  • กรณีที่ 1 นาย พ. จะไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อนทันทีเมื่อทำงานครบ 1 เดือน เพราะยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน
  • กรณีที่ 2 นาย พ. ทำงานครบ 5 เดือน และจะได้รับสิทธิวันลาพักร้อนครบ 2.5 วัน โดยเริ่มนับจากเดือนแรกหลังจากที่นาย พ. ผ่านช่วงทดลองงานแล้ว
    • ตัวอย่างการคำนวณ (5/12​) × 6 = 2.5 
  • กรณีที่ 3 นาย พ. ทำงานครบ 9 เดือน และจะได้รับสิทธิวันลาพักร้อนครบ 4.5 วัน 
    • ตัวอย่างการคำนวณ (9/12​) × 6 = 4.5
  • กรณีที่ 4 นาย พ. ทำงานครบ 1 ปี และจะได้รับสิทธิวันลาพักร้อนครบ 6 วัน 
    • ตัวอย่างการคำนวณ (12/12​) × 6 = 6

การลาพักร้อนจำเป็นต้องบอกเหตุผลไหม?

การลาพักร้อนเป็นประเภทการลาที่พนักงานไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลใดๆ พนักงานสามารถใช้เวลานี้ในการทำสิ่งที่ต้องการ เช่น การท่องเที่ยว หรือการพักผ่อนที่บ้าน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการหักเงินจากการลา

ลาพักร้อน vs ลากิจ ต่างกันอย่างไร

การลาพักร้อนและการลากิจมีความแตกต่างกัน โดยนายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างลากิจได้อย่างน้อยปีละ 3 วัน โดยไม่มีการหักค่าจ้างหรือเงินเดือน การลากิจมักใช้สำหรับการทำธุระที่จำเป็น เช่น กิจธุระทางราชการหรืองานเร่งด่วน ขณะที่การลาพักร้อนมักถูกใช้สำหรับเหตุผลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานเร่งด่วนหรือทางราชการ

พนักงานลาพักร้อนติดต่อกันได้กี่วัน?

กฎหมายแรงงานของไทย พนักงานสามารถลาพักร้อนติดต่อกันได้สูงสุดไม่เกิน 6 วันต่อปี หากเป็นวันลาตามสิทธิที่กำหนด โดยอาจมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขเพิ่มเติมตามระเบียบการลาพักร้อนของแต่ละบริษัท

พนักงานสะสมวันลาพักร้อนไว้ใช้ในปีถัดไปได้หรือไม่?

เงื่อนไขการเก็บสะสมสิทธิ์วันหยุดพักร้อนขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท โดยหลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานเก็บวันลาพักร้อนที่ยังเหลือในปีนี้ไว้ใช้ข้ามปีได้ แม้ว่าจะไม่มีข้อกำหนดใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ชี้แจงว่า การทบและสะสมวันลาพักร้อนสามารถทำได้ตามนโยบายของแต่ละบริษัท โดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย

ถ้าจะลาพักร้อน ควรบอกล่วงหน้ากี่วัน?

กฎหมายหรือ พรบ. คุ้มครองแรงงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่พนักงานต้องแจ้งลาพักร้อน แต่บริษัทมักกำหนดให้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน หรือ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและหน้าที่ พนักงานควรแจ้งล่วงหน้าตามนโยบายของบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่องานและความเสียหายที่อาจนำไปสู่การเลิกจ้างหรือฟ้องร้อง

สิทธิลาพักร้อนมีทุกบริษัทไหม?

มีทุกบริษัท เพราะวันลาพักร้อนหรือวันหยุดพักร้อนตามกฎหมายแรงงานเป็นสิทธิที่ทุกบริษัทต้องบริหารและจัดการให้กับพนักงาน เนื่องจากวันลานี้มีความสำคัญในการช่วยให้พนักงานได้พักผ่อน ลดความเครียดจากการทำงาน ได้ใช้เวลากับครอบครัว หรือเติมเต็มความสุขให้กับตัวเอง เพื่อกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำงานไม่ครบปี ใช้สิทธิลาพักร้อนได้ไหม?

ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างจะไม่ได้รับวันลาพักร้อนหากยังทำงานไม่ครบ 1 ปี แต่หากนายจ้างต้องการให้วันลาพักร้อนแก่พนักงานก่อนครบ 1 ปี ก็ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

ภายใน 1 เดือน สามารถใช้สิทธิลาพักร้อนได้กี่วัน?

กฎหมายแรงงานไม่ได้กำหนดจำนวนวันที่ลูกจ้างสามารถใช้วันลาพักร้อนติดต่อกัน หากนายจ้างกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนปีละ 2 วันต่อเดือน การจำกัดจำนวนวันลาภายในเดือนนั้นสามารถทำได้

เนื่องจากนายจ้างมีสิทธิในการกำหนดวันลาพักร้อน ทั้งนี้ การกำหนดให้หยุดลาพักร้อนว่าจะได้กี่วันภายใน 1 เดือนนั้น จึงเป็นไปจึงเป็นไปตามนโยบายของบริษัท

การลาพักร้อน บริษัทต้องจ่ายเงินไหม?

ลูกจ้างที่ลาพักร้อนตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด นายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงินใดๆ หากลูกจ้างสงสัยว่าตนเองถูกเอาเปรียบเกี่ยวกับวันลา สามารถร้องเรียนได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ของตน หรือร้องเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในวันทำการ

วันลาพักร้อนเหลือ บริษัทต้องจ่ายเงินไหม?

หากบริษัทไม่อนุญาตให้พนักงานใช้สิทธิวันลาพักร้อนสะสม บริษัทจะต้องจ่ายเงินทดแทนสำหรับวันลาพักร้อนที่เหลืออยู่ตามจำนวนที่สะสมไว้ โดยการจ่ายเงินนี้จะต้องคำนวณตามอัตราค่าจ้างของพนักงานในแต่ละวัน

วันลาพักร้อนคิดเป็นเงินอย่างไร?

วันลาพักร้อนจะคิดเป็นเงินโดยการคำนวณจากอัตราค่าจ้างรายวันของพนักงาน ซึ่งได้มาจากการนำค่าจ้างรายเดือนมาหารด้วยจำนวนวันทำงานในเดือนนั้น (โดยทั่วไป 30 หรือ 31 วัน ขึ้นอยู่กับเดือนนั้น) หลังจากนั้น ค่าจ้างรายวันที่ได้จะนำไปคูณกับจำนวนวันลาพักร้อนที่พนักงานสะสม เพื่อคำนวณยอดเงินที่บริษัทต้องจ่ายให้กับพนักงานในกรณีที่ไม่ได้ใช้วันลาพักร้อน

สรุป

วันลาพักร้อนเป็นสิทธิของพนักงานที่มีตามกฎหมายแรงงาน เพื่อให้พนักงานได้พักผ่อนและลดความเครียดจากการทำงาน โดยพนักงานมีสิทธิใช้วันลานี้ได้ตามนโยบายของบริษัท โดยทั่วไปต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับบริษัท หากพนักงานไม่ได้ใช้วันลาพักร้อนในปีนั้น บริษัทอาจจ่ายเงินทดแทนตามจำนวนวันที่เหลือ

หากคุณกำลังมองหางานใหม่และต้องการตรวจสอบสิทธิ์การลาพักร้อนในแต่ละตำแหน่งงานที่คุณสนใจ Jobsdb เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงวันลาพักร้อนที่บริษัทต่างๆ ก่อนตัดสินใจสมัครเข้าไปทำงานได้อย่างง่ายดาย 

More from this category: ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา