ประเภทผู้สอบบัญชี มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

ประเภทผู้สอบบัญชี มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ผู้สอบบัญชี มีหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการเงิน โดยผู้สอบบัญชี 1 คนไม่ได้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีทุกประเภท ซึ่งมีการแบ่งประเภทผู้สอบบัญชีเป็น 4 ประเภทตามลักษณะหน้าที่การทำงาน ดังนี้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร,ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป,ผู้สอบบัญชีตลาดทุนและผู้ตรวจสอบภายในนอกจากนี้ยังมีผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการอิสระอีกเช่นกัน แต่ในที่นี้จะขอพูดถึงแค่ผู้สอบบัญชี 4 ประเภทตามที่กล่าวมาเท่านั้น

ประเภท ผู้สอบบัญชี ความแตกต่างและหน้าที่

1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA: Tax auditor)

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จะต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียน และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร โดยต้องเป็นผู้ที่มี ความสามารถทางการบัญชี และภาษีอากร สามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาภาษีอากรได้ โดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรสามารถตรวจสอบ และรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท) ซึ่งการมีผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้อง และเหมาะสมมากขึ้น

2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป (CPA: Certified Public Accountant)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไปต้องเป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียน และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชี และแสดงความเห็นไว้ในรายงานการสอบบัญชี โดยมีอำนาจสามารถตรวจสอบ และรับรองบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ สามารถรับรองได้ทุกประเภทนิติบุคคล ยกเว้นงบการเงินที่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก กลต. ซึ่งสามารถรับรองได้แค่งบการเงินเท่านั้น

ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตทั่วไปจะปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับการตรวจสอบ มีอำนาจในการรับรองบัญชีบริษัท รวมถึงจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

3. ผู้สอบบัญชีตลาดทุน (List of Auditors Approved by the office of SEC)

ผู้สอบบัญชีตลาดทุนเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  (List of Auditors Approved by the office of SEC) หรือกลต. โดยบริษัทที่อยู่ในตลาดทุน หรือบริษัทที่ขอยื่นเข้าจดทะเบียนในตลาดทุน (IPO) ที่ตลาดทุนคือศูนย์กลางมีการออกสินค้าเป็นหลักทรัพย์ขายให้แก่ประชาชนเพื่อถือครองไว้และถือว่าเป็นพันธะสัญญาต่อกัน ซึ่งมีทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุนรวมต่างๆ งบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ยกเว้นกองทุนที่มีสมาชิกไม่เกิน 100 คน และมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิไม่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งพิจารณา ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และผู้สอบบัญชีนั้น (CPA) ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกให้ใช้ผู้สอบบัญชีทั่วไปได้)

4. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditors)หรือIA

ผู้ตรวจสอบภายในเป็นบุคคลที่ฝ่ายบริหารขององค์กรแต่งตั้งขึ้นโดยอาจเป็นพนักงานในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบก็ได้ โดยเน้นให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการดำเนินงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งไม่ใช่การตรวจสอบงบการเงินและบัญชี เพราะผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ และเสนอรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง หรือคณะกรรมการตรวจสอบ โดยส่วนใหญ่ผู้ตรวจสอบภายในจะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของกิจการ สำหรับผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ไปตรวจสอบเพื่อรายงานผลที่ถูกต้องตรงไปตรงมา และก่อให้เกิดการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

นี่คือความแตกต่างของผู้สอบบัญชีทั้ง 4 ประเภท ซึ่งผู้ที่ต้องการทำงานเป็นนักสอบบัญชีอิสระต้องผ่านการสอบใบอนุญาตก่อนทั้งสิ้น จึงจะสามารถเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีอำนาจในการตรวจสอบบัญชีในด้านต่างๆ อย่างเป็นอิสระต่อหน่วยงานที่เข้าตรวจสอบ

#ให้ก้าวแรกของการทำงานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#jobsDB

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา