อย่างที่ทราบกันดีว่า กฎเหล็กในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บัญญัติเอาไว้ชัดเจนให้ภาษาอังกฤษเป็น "Working Language" หรือ "ภาษาทำงาน" ด้วยความหมายที่มีนัยสำคัญนี้เอง จึงแผ่อิทธิพลในวงกว้างให้ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องตื่นตัว และจัดลำดับความสำคัญเสียใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับสนามการแข่งขันที่เปิดกว้างมากขึ้น ไม่เพียงแต่เฉพาะ 10 ประเทศสมาชิกเท่านั้น แต่นั่นหมายถึงอาเซียน+3 และอาเซียน+ 6 ด้วย
สำหรับทิศทางด้านการศึกษาของประเทศไทยเพื่อขัดเกลาบุคลากรให้สามารถแข่งขันใน ตลาดแรงงานอาเซียน น.ส.จุไรรัตน์ แสงบุญนำรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยเกี่ยวกับนโยบายการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ของไทยที่สอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 นี้ว่า นอกเหนือจากการเพิ่ม ประสิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ แล้ว ยังเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับมัธยมทั้งรัฐบาลและเอกชน ด้วยการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษามาเลย์ หรือภาษามลายู เพราะจำนวนประชากรที่ใช้นั้นมีอยู่มาก ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน แต่ในขณะเดียวกัน ภาษาจีน ภาษาเกาหลี และภาษาญี่ปุ่น ยังเป็นภาษาต่างประเทศที่ได้รับความนิยมอยู่มากในปัจจุบัน
สำหรับโครงการโรงเรียนนำร่องของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มีอยู่ 5 โครงการหลัก ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว ได้แก่
โดยหลักสูตรการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งจะมีการติดตาม รวมถึงการจัดประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ การจัดทำดัชนีชี้วัด และการวางแผนเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา อีกทั้งยังมีการร่วมประเมินผลกับนานาชาติ เพื่อศึกษาและแก้ไขแนวทางระดับการศึกษาของไทยให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นในภายภาคหน้า
อีกหนึ่งสายการศึกษาที่จะขาดมิได้อย่างด้านอาชีวะ ที่เป็นกำลังหลักสู่ตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการมองว่า ศักยภาพของเด็กไทยในด้านวิชาชีพว่าอยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมและได้รับการยอมรับมาโดยตลอด ทั้งยังมีความโดดเด่นและหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านวิศวกรรมยานยนต์ และแรงงานฝีมือ ที่เพิ่งคว้าแชมป์แกะสลักหิมะน้ำแข็งระดับโลก ประจำปี 2557 จากเมืองฮาร์บิน ประเทศจีน แม้ที่ผ่านมาปัญหาทางด้านภาษาต่างประเทศจะเป็นอุปสรรคที่ส่งผลกระทบมายาวนาน เนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอนแบบเดิมนั้น มีสัดส่วนการสอนภาษาต่างประเทศในสายอาชีวศึกษาที่น้อยเกินไป ทำให้ทางกระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และเร่งแก้ไขอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศสำหรับอาชีวศึกษามากขึ้น และช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
กระทั่งปัจจุบัน แผนการส่งเสริมดังกล่าวเริ่มส่งสัญญาณบวกและเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้น ราว 60-70% แม้ภาพรวมเกือบทุกโครงการของภาครัฐและเอกชนจะสะท้อนไปในทิศทางบวก แต่สัดส่วนความสามารถด้านการ สื่อสารภาษาอังกฤษ ของไทยยังต่ำอยู่
ทั้งนี้ น.ส.จุไรรัตน์ แสดงความกังวลด้านศักยภาพด้าน ภาษาอังกฤษของเด็กไทย ว่าแม้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนจะพยายามส่งเสริมและผลักดันนโยบายการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร แต่หากเด็กไทยยังขาดความกระตือรือร้นและความใส่ใจ ปัญหาที่สะสมมานานคงเกินเยียวยาที่จะรักษาได้ ซึ่งรองปลัดกระทรวงศึกษาฯ ให้คำนิยามกับคุณภาพของการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าเป็น "จำเลย" ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ
ดังนั้นเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนักสำหรับการเตรียมตัวรับมือก่อนการเปิดเสรีอาเซียน ประเทศไทยควรเริ่มเปิดหูเปิดตาเรียนรู้เพื่อนบ้านให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ทัดเทียม และสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันไม่ให้เราเสียโอกาสที่ควรจะเป็นของเรา หากรู้แบบนี้แล้วถึงเวลาที่ไทยต้อง "กำจัดจุดอ่อน" อย่างจริงจังหรือยัง?
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ