จากนโยบายของพรรคแกนนำจัดตั้ง รัฐบาลที่จะเพิ่มค่าแรงให้กับผู้ที่จบปริญญาเป็นหมื่นห้าต่อเดือน ถูกวิจารณ์ทั้งในด้านดีและด้านลบ ซึ่งถ้าหันมามองอีกด้านของนักศึกษาปริญญาตรีที่จบใหม่ 5 ปีย้อนหลังพบว่า ยังไม่มีความพร้อมเฉพาะทางในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่นัก เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความสั่นคลอนของการศึกษาและสังคมที่จะพัฒนาประเทศมิใช่ น้อย
สาธินี โมกขะเวสกรรมการผู้จัดการบริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ดีบี (ประเทศไทย) จำกัดมองว่า เมื่อรัฐออกกฎให้จ้างเด็กจบใหม่ระดับปริญญาตรีที่หมื่นห้า ผลที่ตามมาทำให้บริษัทจะทำการคัดเลือกคนด้วยบททดสอบซึ่งยากมากขึ้น เพื่อให้คุ้มกับค่าจ้างที่สูง เนื่องจากนายจ้างไม่สามารถว่าจ้างได้ต่ำกว่านี้ ขณะเดียวกันคุณภาพของเด็กจบใหม่ที่ตอบโจทย์จริง ๆ ยังค่อนข้างหายาก ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวโน้มว่าจะมีบัณฑิตจบใหม่ไม่ผ่านช่วงทดลองงานมากขึ้น
หากมองตลาดงานในห้าปีหลังการ จ้างงานชะลอตัวด้วยปัจจัยทางการเมือง ทำให้คนที่ยังไม่ได้งานในแต่ละปีสะสมจำนวนมาก ส่วนพวกที่ได้งานส่วนใหญ่นายจ้างไม่ได้จ้างเป็นพนักงานประจำ แต่จะเป็นพนักงานชั่วคราวเสียส่วนใหญ่ ซึ่งยังโชคดีว่าที่ผ่านมาอัตราการปลดพนักงานไม่มากนักเพราะหลายบริษัททำงาน แบบประคองตัว
ปัญหาบัณฑิตจบใหม่ที่เข้าสู่ ตลาดแรงงานเป็นผลมาจากคุณภาพการศึกษายังไม่ตรงกับวิชาชีพมากนัก ขณะเดียวกันวินัยและทัศนคติการทำงานของคนรุ่นใหม่ยังไม่ทุ่มเทเท่าที่ควร เห็นได้จากหลายคนนัดสัมภาษณ์งาน แต่วันจริงกลับไม่มามีมากขึ้น จึงถือเป็นอีกความวิตกกังวลของนายจ้าง บริษัทใหญ่หลายแห่งแก้ปัญหาโดยทำโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเด็กปี 3 ถึงปี 4 เพื่อคัดเลือกคนที่มีแนวคิดเหมาะสมกับองค์กรและนำมาฝึกงานระหว่างเรียนพอจบ จึงเข้ารับทำงานทันที
ส่วนใหญ่คณะที่เรียนมาแล้วตกงานจะสอนแบบกว้างไม่ลงลึกเฉพาะหรือตลาดงานมีพื้นที่ให้คนเหล่านี้น้อยได้แก่1. คณะสังคมศาสตร์ 2. ศิลปศาสตร์ 3. ครุศาสตร์ 4. อักษรศาสตร์ 5. นิเทศศาสตร์
ตอนนี้เป็นวิกฤติในตลาดแรง งานสำหรับคนจบใหม่ที่มีคุณภาพ หากเทียบกับเมื่อหลายทศวรรษที่แล้วการแข่งขันด้านธุรกิจไม่รุนแรงเหมือนตอน นี้ระบบการศึกษากับธุรกิจไม่ต่างกันมากนัก แต่พอมาตอนนี้ระบบธุรกิจไปไกลมากแต่ระบบการศึกษาที่บ่มเพาะเด็กยังไม่พัฒนา ตั้งแต่การรับน้อง หรืออาจารย์ยังไม่มีมุมมองให้เด็กได้เรียนงานจริงมากนัก ซึ่งเมื่อออกไปทำงานการเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก
มีเด็กหลายคนมากที่จบแล้วไม่ รู้ว่าจะทำอะไร และตนเองจะเรียนมาเพื่ออะไร หลายครั้งครูแนะแนวในโรงเรียนเองยังไม่มีความรู้ที่อัพเดทมากนัก ขณะที่กลุ่มอาชีวะยังขาดแคลนบุคลากรอย่างมากแต่ติดตรงที่ทัศนคติของสังคม ซึ่งถ้ามองให้ดีหากไทยต้องการเป็นผู้นำด้านสปา ต้องมีการสอนในระดับวิชาชีพตั้งแต่ต้นน้ำของธุรกิจยังปลายน้ำเพื่อให้รู้ หลักการผลิตอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันต้องมีการสร้างทัศนคติที่ดีในวิชาชีพเฉพาะทาง อย่างการเป็นเชฟสามารถสร้างรายได้มากมาย แต่หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นแค่กุ๊กทำอาหาร
“การเรียนสายอาชีพในหลาย ประเทศอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น ฝึกให้เด็กมีประสบการณ์ทำงานจริงตั้งแต่อายุแค่ 17 ปี ตรงข้ามกับเด็กไทยที่เริ่มให้เรียนรู้งานจริงตอนอายุ 20– 22 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างมากในการพัฒนาเนื่องจากการเรียนสายอาชีพ สิ่งที่สำคัญคือประสบการณ์ทำงานจริงในการแก้ปัญหาในเนื้องาน”
ด้วยความที่สังคมไทยเป็น เมืองเกษตรกรรมควรมีการสร้างวิทยาลัยด้านการเกษตรในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ เพราะจะเป็นการสร้างนักวิชาการท้องถิ่นเฉพาะทาง เนื่องจากที่ผ่านมาตำราเรียนในประเทศเน้นสอนในเนื้อหาเดียวกัน แต่ลืมสนใจความเป็นท้องถิ่น ซึ่งถ้ามีสถาบันที่สอนด้านการเกษตรมากขึ้นจะช่วยพัฒนาวิชาชีพการเกษตรในแต่ ละท้องถิ่นไปในตัว
ด้านผู้ที่เรียนปริญญาโทไม่ ควรเรียนต่อทันทีเมื่อจบปริญญาตรี แต่ควรทำงานไปก่อนสัก 2–3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์จริงและลองดูตัวเองว่าสิ่งที่ตนเรียนมาเมื่อทำงานจริง ตรงกับความชอบของตนหรือไม่ หรือถ้าหากไม่ชอบการเรียนต่อควรมองหางานที่รองรับตำแหน่งที่ต้องการทำงานมาก ที่สุด ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่าองค์กรไหนที่เราต้องการทำงานด้วยและดูว่าตำแหน่งนั้นต้องการผู้จบด้าน สาขาใด แต่ไม่ควรเลือกเรียนสาขาที่กว้างมากเกินไป
ในการสมัครงานนายจ้างไม่ได้ คำนึงว่าผู้สมัครจบปริญญาตรีหรือโท แต่ถ้าใครมีประสบการณ์และทำงานให้องค์กรได้อย่างจริงจัง วุฒิทางการเรียนไม่สำคัญ ซึ่งหลายองค์กรต้องการให้ผู้ที่จะก้าวไปเป็นผู้บริหารเรียนโทเพื่อให้ผลการ ศึกษาออกมาไม่น่าเกลียดนักมากกว่าจะจริงจังกับการใช้สมัครงาน
การแก้ปัญหานักศึกษาจบใหม่ ให้มีศักยภาพในการทำงานไม่สามารถแก้ได้ถ้าให้ข้าราชการเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจซึ่งทำให้การเปลี่ยน แปลงในระบบการศึกษาไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นไปตามแนวทางการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งการแก้ไขที่ดีควรมีหน่วยงานกลางซึ่งให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวาง ระบบเพื่อกระตุ้นระบบการเรียนให้สอดคล้องกับการแข่งขัน
“ขณะเดียวกันต้องมีการปลูก ฝังให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงการทำงานของตนที่จะช่วยให้ประเทศชาติมีความมั่น คงและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลอย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี ถึงแม้คุณจะขายกาแฟสดแต่ก็เป็นเหมือนกล้ามเนื้อหนึ่งของร่างกายที่ทำให้ ประเทศเข้มแข็ง ต่างจากเด็กไทยที่พอจบมาจะมองแค่ว่าเราจะได้เงินเดือนเท่าไหร่”
ยิ่งในปี 2558 ไทยจะเข้าร่วมเสรีประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้แรงงานคุณภาพในไทยหลั่งไหลไปทำงานในประเทศที่มีศักยภาพมากกว่า เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแรงงานของไทยถือว่าเป็นแรงงานราคาถูกกว่าการที่ประเทศเหล่านั้นจะ จ้างประชากรของตนในราคาแพง ยิ่งส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศของไทย และจะทำให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาในไทยมากขึ้นเพราะขาดแรงงานในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเนื่องจากปัจจุบันแรงงานคุณภาพในประเทศก็มีน้อย อยู่แล้ว
ปัญหาแรงงานเป็นอีกสิ่งที่ รัฐต้องเร่งให้ความสำคัญเพราะทุกวันนี้เราไม่ได้แข่งขันกันแค่ในประเทศ แต่ต้องแข่งขันกับทั่วโลก ยิ่งพื้นฐานการศึกษาไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานคนที่เพิ่งจบยิ่งเคว้งในภาวะใบ ปริญญาล้นตลาด.
เตรียมตัวเองก่อนทำงาน
ที่มาเดลินิวส์