เมื่อ บริษัท ต้องเผชิญวิกฤตการณ์อย่างหนักในการดำเนินกิจการ จนมีเหตุอันควรให้ต้องหยุดกิจการบางส่วน หรือทั้งหมด เป็นการชั่วคราว เช่นประสบภาวะขาดทุน เป็นหนี้ค่าวัสดุ หรือลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ทำให้คำสั่งซื้อลดลง เมื่อ งาน มีน้อย ลูกจ้างมีมาก จึงจำเป็นต้องประกาศหยุดการดำเนิน งาน ชั่วคราวเพื่อแก้ไข คลี่คลายสถานการณ์ให้บรรเทาเบาบางลง ก่อนพร้อมเปิดดำเนินการอีกครั้ง
ในกรณีที่ต้องการปิดกิจการชั่วคราว นายจ้าง ควรทำอย่างไรให้ถูกต้องตาม กฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดการประท้วงของเหล่า พนักงาน ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง
การเลือกใช้วิธีปิดกิจการชั่วคราว เพื่อลดรายจ่ายและหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทนั้น เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดในทันที เนื่องจากการ เลิกจ้าง จะมีความรับผิดชอบตามมาอีกมากมาย ทั้งค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ เลิกจ้าง รวมถึงค่าจ้างที่ยังไม่ได้จ่าย ก็ต้องนำมาจ่ายให้ลูกจ้างภายใน 3 วันนับตั้งแต่เลิกจ้างเสียด้วย เพื่อให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทันทีโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ได้รับการเยียวยาในขณะที่ยังตั้งตัวไม่ได้
ทั้งนี้ การเลิกจ้างมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ และเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้นหากบริษัทประสบปัญหาอย่างหนัก การปิดกิจการชั่วคราวจึงเป็นทางออกหนึ่งที่ยุติธรรมต่อทั้งสองฝ่าย