เมื่อคุณตัดสินใจที่จะลงทุนแล้วนั้น คุณควรทำความเข้าใจถึงปัจจัย 2 ประการที่สำคัญ ก็คือ ความเสี่ยงและผลตอบแทน เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนประเภทใด ต่างก็มุ่งหวังในสิ่งเดียวกันก็คือ “ผลตอบแทนจากการลงทุน” ในอัตราที่น่าพอใจและคุ้มค่ากับการลงทุน เพื่อจะได้นำเงินลงทุนและดอกผลที่เกิดขึ้นไปใช้ในการอุปโภคบริโภคตามเป้าหมายในอนาคต ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนที่ผู้ลงทุนจะได้รับนั้น สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
- เงินสด เมื่อผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินสดแล้ว ควรนำเงินไปลงทุนต่อเพื่อให้เกิดผลตอบแทนเพิ่มเติม โดยอาจนำไปลงทุนในหลักทรัพย์เดิมหรือหลักทรัพย์อื่นๆ แต่ไม่ควรเก็บไว้เป็นเงินสด เพราะเงินสดไม่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้
- รายได้จากการนำเงินสดที่ได้รับไปลงทุนต่อ คุณต้องมีเงิน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเงินเก็บหรือเงินออมทั่วไป แต่หมายถึงเงินที่คุณมั่นใจแล้วว่า คุณไม่มีความจำเป็นต้องเบิกออกมาใช้ หรือนำออกมาใช้ในช่วงระยะเวลานานกว่า 1 ปี เพราะการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นไม่แน่นอน คุณอาจจะได้ข่าวมาว่าหุ้นตัวนั้น ตัวนี้จะขึ้น ภายในวันสองวัน สัปดาห์ หรือสองสัปดาห์ หากคุณโชคดีหรือข่าวของคุณตรง คุณก็อาจไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น คุณจะทำอย่างไร เมื่อคุณต้องรอเป็นปี หรือสองปี ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต คุณควรกันเงินไว้ส่วนหนึ่ง ในกรณีที่คุณเจ็บป่วย หรือมีอุบัติเหตุ ที่ต้องใช้เงิน คุณจะได้ไม่ต้องตัดใจขายหุ้นที่คุณลงทุน คุณควรกันเงินส่วนที่คุณต้องจ่ายประจำ ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้พร้อมเพื่อคุณจะได้ไม่ต้องมาถอนเงินในบัญชีที่ใช้ลงทุน
- กำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์หรือกำไรจากส่วนต่างของราคา ผลกำไรในที่นี่เป็นผลตอบแทนที่ได้รับจากการที่ผู้ลงทุนสามารถขายหลักทรัพย์ไปได้ ในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมาเมื่อสิ้นสุด ระยะเวลาการลงทุน โดยผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรส่วนต่างของราคา ถ้าหลักทรัพย์นั้น เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนประเภทนี้จะไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของตลาด ในขณะนั้น รวมถึงเทคนิคในการลงทุนของผู้ลงทุนด้วย
- สิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ในราคาที่กำหนดไว้ก่อนเป็นการล่วงหน้า ในกรณีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ บริษัทมีการจดทะเบียนออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับการจัดสรรหุ้นก่อนผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยจะกำหนดเป็นสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนการที่ผู้ถือหุ้นเดิมจะใช้สิทธิหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งในแง่ของผลต่างระหว่างราคาใช้สิทธิกับราคาตลาดในขณะนั้น และความต้องการรักษาสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัท
สุดท้ายนี้ ผู้ลงทุนอาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงบางประการที่ทำให้ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้น คุณควรจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ และผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน เพื่อจะได้เลือกหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ใดๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง
ที่มา : www.set.or.th