เป็นที่ทราบกันดีว่า ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้า กองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงานเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
คนทำงานหลายคนอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดมากพอ รู้เพียงแต่ว่าในแต่ละเดือนเราต้องจ่ายค่าประกันสังคม แต่ไม่รู้ว่าทำไมเราต้องจ่าย แล้วเราจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้างจากการจ่ายเงินในแต่ละเดือน บางครั้งคนทำงานหลายคนจะรู้สึกว่าการจ่ายเงินประกันสังคมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย เพราะแทบจะไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าว การที่หลายคนคิดเช่นนั้น เป็นเพราะเขาไม่รู้ว่าเราจะได้ใช้สิทธิอะไรจากประกันสังคมบ้าง หากรู้แล้วก็จะเข้าใจระบบประกันสังคมได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
กองทุนประกันสังคม มีผู้ประกันตนทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
แม้ว่าผู้ประกันตนแต่ละประเภทจะได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่มีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนเหมือนกัน เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างของผู้ประกันตนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ลองมาดูข้อสรุปของสิทธิประโยชน์ คุณสมบัติของผู้ประกันตนว่ามีอะไรบ้าง
ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33)
ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) จะได้รับความคุ้มครอง มีดังนี้ กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39)
ผู้ประกันตนตามมาตรานี้ คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้ว ลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้ กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ
ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40)
ผู้ประกันตนในมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ ซึ่งมีให้เลือก 2 ชุด
คนทำงานส่วนใหญ่ล้วนต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งแตกต่างกันไปตามอัตราเงินเดือนของแต่ละคน แต่สิทธิประโยชน์นั้นแตกต่างกันไปตามหลักประกัน ทั้งในเรื่องสุขภาพ เงินสมทบ เงินประกัน และความคุ้มครองที่จะได้รับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเราเองว่า เราต้องการเลือกการประกันตนแบบใด จึงจะเหมาะสมกับเรามากที่สุด
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วางแผนเกษียณกันตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาว ไม่ถือว่าเร็วไปอย่างแน่นอน
ลงทุนง่าย ๆ กับกองทุนสวัสดิการต่าง ๆ เพื่ออนาคตที่มั่นคงของมนุษย์เงินเดือน