Talent Managementผมคิดว่าท่านผู้อ่านเกือบทุกคน คงจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างนะครับ หลาย ๆ องค์กรในปัจจุบันพยายามที่จะสร้างระบบการบริหารคนที่เป็นTalentขององค์กร ตั้งแต่ การพิจารณาคัดเลือก การบริหารจัดการคนกลุ่มนี้ ว่าจะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร ที่จะทำให้คนกลุ่มนี้เป็นคนที่อยู่ทำงาน และสร้างผลงานให้กับองค์กรในระยะยาว แต่หาไปหามา ไม่ใช่ไม่เจอนะครับ แต่กลับเจอเยอะมาก จนถึงเยอะเกินไป เรียกได้ว่า พนักงานในองค์กรเกือบ 50% ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Talent หัวหน้า ทุกคนต่างก็บอกว่า ลูกน้องของตนเองนั้นเก่ง ๆ ทั้งนั้น จนสุดท้าย คนเก่ง หรือ Talent ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากคนปกติที่ ทำงาน ในองค์กรเลย ตกลงว่าคนที่เป็น Talent นั้นต้องเป็นอย่างไรกันแน่
เราลองมาดูคุณสมบัติของคนที่เป็น Talent ว่ามีอะไรกันบ้าง
ถ้าเราพิจารณาจากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คนที่เป็น Talent ขององค์กรนั้น จะไม่ใช่คนที่ทำผลงานในเกณฑ์ปกติ ไม่ใช่คนที่ทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือมีพฤติกรรมที่ดี ตรงตามที่คาดหวังไว้ แต่จะเป็นพนักงานที่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นมาก ๆ และผลงานก็ต้องสร้างความแตกต่าง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างยากที่จะคาดเดาได้ คนกลุ่มนี้ในองค์กรถ้าเฟ้นหากันจริง ๆ มีไม่ถึง 5% หรอกครับ นี่แหละคือ Talent ตัวจริง
เกณฑ์ในการที่จะบอกว่าพนักงานคนไหนคือ Talent นั้นจะต้องให้ผู้จัดการหลาย ๆ คนช่วยกันพิจารณาว่าพนักงานคนไหนที่เป็น Talent หัวหน้าคนเดียวดูไม่ค่อยออก และมักจะเข้าข้างลูกน้องตนเองอยู่เสมอ ก็เลยต้องอาศัยคนอื่นรอบข้างช่วยดูด้วย และอีกประเด็นที่ช่วยบอกเราได้อย่างชัดเจนก็คือ คนที่เป็น Talent ขององค์กรนั้น พนักงานส่วนใหญ่ ผู้บริหารส่วนใหญ่ มีเสียงไปในทางเดียวกันว่า คนๆ นี้แหละคือคนเก่งของเรา ที่เราต้องรักษาไว้
ถ้าองค์กรสามารถเฟ้นหา Talent ได้จริง ๆ นโยบายที่จะใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม Talent ก็จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเรากำลังบริหารและรักษาคนเก่งจริง ๆ ไว้ในองค์กร
มิฉะนั้น องค์กรจะต้องลงทุนมากมาย แต่กลับกลายเป็นว่า คนที่องค์กรลงทุนนั้น ก็คือพนักงานธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ Talent อะไรเลย
ที่มา : ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ