เวลาที่เราได้เข้าประชุมเพื่อฟังการ พรีเซนต์งาน จากผู้คนต่าง ๆ เคยสังเกตกันบ้างมั้ยว่า บางครั้งเวลาฟังพรีเซนต์ก็มักจะรู้สึกเบื่อ ง่วง ทั้ง ๆ ที่หัวข้อที่ถูกพรีเซนต์นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก หรือบางคนสามารถพูดพรีเซนต์เรื่องที่ครั้งแรกที่ฟังหัวข้ออาจรู้สึกเฉย ๆ แต่พอได้ฟังพรีเซนต์แล้ว กลับรู้สึกว่าเรื่องนี้น่าสนใจมาก ตื่นเต้นทุกขณะ นั้นเป็นเพราะว่า “วิธีการพูดพรีเซนต์” มีผลอย่างมากที่จะสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง จนหัวข้อที่กำลังถูกนำเสนออยู่นั้นดูน่าสนใจขึ้นมาทันที
จากบทความ “What it takes to give a great presentation” หรือ “อยากพรีเซนต์ดี ต้องมีอะไรบ้าง ของคุณ Carmine Gallo นักเขียน คอลัมนิสต์ และนักกล่าวสุนทรพจน์ชาวอเมริกัน ที่ได้ไปเป็นที่ปรึกษาด้านพูดในที่สาธารณะและการทำพรีเซนต์เทชันให้กับ CEO ท่านหนึ่งใน Silicon Valley คุณ Carmine Gallo เกิดความสงสัยว่าอะไรที่ทำให้ CEO ท่านนี้ ผู้ซึ่งเป็นแขกประจำของ CNBC และต้องพูดพรีเซนต์ในเชิงธุรกิจมากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังมาขอคำแนะนำจากเขาอีก จนได้รับคำตอบจาก CEO ว่า เขาเชื่อว่าทุกครั้งที่สกิลการสื่อสารของเขาพัฒนามากขึ้นไปเท่าไหร่ ก็จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นไปกว่าเดิม ทำให้คุณ Carmine Gallo เขียนบทความนี้ ลงนิตยสารสำหรับ CEO ทั่วโลกอย่าง Harvard Business Review เพื่อสรุปเทคนิคการพูดพรีเซนต์ให้ปังไว้ 5 ข้อด้วยกัน
1. ทำสไลด์ให้น้อย เน้นสื่อสารด้วยภาพ แทนการใช้ตัวอักษร
พรีเซนต์งาน ที่ดี ไม่ใช่พรีเซนต์ที่มีสไลด์มากที่สุด แต่เป็น พรี เซนต์ ที่ผู้พูดสามารถดึงความสนใจจากผู้ฟังได้มากที่สุดต่างหาก และที่สำคัญการพรีเซนต์จะต้องไม่ใช้เวลานานเกินไป เพราะความสนใจจดจ่อของคนมีเวลาไม่นานนัก หากเราเลือกที่จะทำสไลด์เยอะ พูดนาน ก็อาจจะทำให้คนฟังเกิดความเบื่อหน่าย และที่สำคัญอาจจะลืมประเด็นที่เราต้องการสื่อสารก็ได้ ยิ่งถ้าเรามีตัวอักษรในสไลด์เยอะ และมัวแต่อ่านสิ่งที่อยู่บนสไลด์ไปด้วยตอนพรีเซนต์ ก็จะทำให้เราดูขาดเสน่ห์ การพรีเซนต์ของเราก็จะดูจืดชืดไปด้วย การมีสไลด์น้อย นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาตอนเปลี่ยนสไลด์ไปมาแล้ว ยังสามารถทำให้เราเล่าเรื่องได้มากขึ้น สื่อสารกับคนฟังได้มากขึ้น เป็นอีกจุดที่จะสร้างความน่าสนใจให้กับการนำเสนองานของเราด้วย
2. ไม่ใช้Bullet Points แต่เอา Bullet Points แต่ละอันมาแยกเป็นสไลด์เลย พร้อมใช้รูปภาพสื่อความหมาย
Steve Jobs เทพแห่งการพรีเซนต์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกมาแล้ว เป็นคนที่ไม่ชอบใช้ Bullet Points ในพรีเซนต์เทชันของเค้าเลย แต่เค้ามักจะเอาหนึ่งประโยคที่ควรจะเป็น Bullet Point นั้นมาสร้างสไลด์ใหม่ พร้อมใส่รูปภาพ เพื่อแทนความหมาย เพราะมีงานวิจัยที่บอกว่า มนุษย์นั้นสามารถจำรูปภาพได้ดีกว่าตัวอักษรถึง 65% นั่นคงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม Steve Jobs ถึงทำให้คนทั่วโลกอยากดูเวลาที่เค้าจะเปิดตัวสินค้าใหม่ของเค้าในแต่ละครั้ง แม้พรีเซนต์นั้นจะมีความมินิมอลมากก็ตาม
3. ลูกเล่นในน้ำเสียง อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วย สื่อสาร กับคนฟัง
ก็เหมือนกับเวลาเล่านิทาน ถ้าเล่าด้วยโทนเสียงเดียวคงไม่มีใครสนใจอยากจะฟัง ถึงแม้ว่าคุณกำลังเล่าเรื่องการล่าสมบัติสุดขอบฟังอยู่ ลองเพิ่มการใช้เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดัง เสียงเบาเข้าไปในพรีเซนต์ของคุณ นอกจากจะเพิ่มความสนใจให้กับคนฟังแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีการสื่อสารเพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่า จุดไหนที่สำคัญ เช่น การเพิ่งเสียงที่หนักแน่นไปที่ Keyword ที่ต้องการเน้นความหมาย หรือการหยุดพูดชั่วขณะหลังจากที่พูด Keyword ที่ต้องการเน้นไป เพื่อบอกคนฟังว่า ตรงจุดนี้มีความสำคัญนะ ก็เป็นวิธีการสร้างจังหวะในการนำเสนอผลงานที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
4. สร้างภาพจำ ด้วยการทำให้คนฟังรู้สึก “ว้าว”
การสร้าง Wow moment เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะทำให้การนำเสนอของคุณเป็นที่น่าจดจำ ไม่ว่าคุณกำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ก็ตาม เพราะเมื่อไหร่ที่คนฟังรู้สึก “ว้าว” จะทำให้คนฟังเหล่านั้นสามารถจำเรื่องที่คุณพรีเซนต์ได้แม่นยำขึ้น แม้จะจำเนื้อหาได้ไม่ครบก็ตาม ตัวอย่างเช่น มีครั้งหนึ่งในงาน TED Talks ที่ บิต เกตส์ จะต้องบรรยายเรื่องโรคมาลาเรียที่กำลังระบาดหนักในแอฟริกา ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้ฟังที่อยู่ในสหรัฐอย่างมาก เขาจึงใช้วิธีบอกคนฟังในห้องบรรยายว่า เขาได้นำยุงที่มีเชื้อมาลาเรีย มาให้คนฟังในห้องได้เห็นกันแบบตัวเป็น ๆ ซึ่งยุงทั้งหมดถูกบรรจุในขวดโหล และหลังจากนั้น เขาก็ปล่อยให้ยุงเหล่านั้นออกมาบินว่อนในห้องบรรยาย ทำเอาคนฟังตะลึงกันไปหมด เป็นการสร้าง Wow Moment ของบิล เกตส์ที่ทำให้คนฟังจำเรื่องที่เขาต้องการนำเสนอได้เป็นอย่างดี
5. ฝึกซ้อม ฝึกซ้อม และก็ฝึกซ้อม
Practice makes Perfect ยังคงเป็นคำที่ใช้ได้ดีไม่ว่าคุณตั้งใจจะทำอะไรก็ตาม ถ้าคุณอยากพรีเซนต์เก่ง คุณต้องซ้อมให้มาก นอกจากจะทำให้ไม่ลืมสิ่งที่จะพูด เพราะเนื้อหาจะซึมลึกเข้าไปในสมองคุณแล้ว กล้ามเนื้อปากที่ได้ฝึกฝนอยู่เสมอก็จะทำให้คุณพูดคล่องขึ้น และยังช่วยลดความตื่นเต้นที่ต้องไปพูดต่อหน้าผู้คนได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น คุณจะรู้ว่าจังหวะไหนคือจังหวะที่ใช่ในการพรีเซนต์ของคุณ ซึ่งจะทำให้การนำเสนอของคุณน่าสนใจ และสามารถดึงความสนใจจากคนฟังได้
ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปใช้ในการพรีเซนต์ครั้งต่อไปของคุณ หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยทำให้การสื่อสารและการนำเสนองานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเอาคนฟังได้อย่างอยู่หมัด ไม่ว่าหัวข้อในการพรีเซนต์งานในครั้งนั้นจะยากแค่ไหนก็ตาม
หากคุณกำลังมองหางานใหม่ อยากจะลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปลองใช้พรีเซนต์ตัวเองในการสัมภาษณ์งานดูก็ได้ แต่ก่อนอื่นแนะนำให้มาค้นหาตำแหน่งงานใหม่ที่ใช่ ได้ที่ แอปพลิเคชันหางาน JobsDB แอปหางานที่มีตำแหน่งงานจากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
คอร์สเรียนออนไลน์ ที่เกิดจากการจับมือกันระหว่าง JobsDB และ FutureLearn ภายใต้ชื่อแคมเปญ "ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่" ให้คุณปลดล็อกศักยภาพ กับคอร์สฟรี!ที่จะอัพตัวคุณให้ก้าวล้ำนำใครในทุกเกมการแข่งขันกับเรา พันธมิตรด้านการหางานที่ดีที่สุดของคุณ และ FutureLearn ผู้ให้บริการคอร์สออนไลน์จากประเทศอังกฤษที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ดำเนินการมานานกว่า 9 ปี ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ทั้งด้าน Emerging Skills และ Transferrable Skills ที่สามารถนำไป reskill หรืแ upskill ใช้ในชีวิตการทำงานปัจจุบันได้