พลัง Creative กับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางการตลาด

พลัง Creative กับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางการตลาด
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ถ้าใครได้เคยมีโอกาส ไปชมนิทรรศการ เกี่ยวกับงานออกแบบของ TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) ที่จัดที่ห้างสรรพสินค้าดังย่านสุขุมวิท อย่าง ดิ เอมโพเรี่ยม คงจะได้เห็นว่า มนุษย์เรานั้น ช่างเก่งคิด เก่งทำ เสียนี่กะไร

สร้างสรรค์การตลาด งานนิทรรศการดังกล่าว เป็นแหล่งรวมคน Creative ระดับโลกมาร่วมแสดงความคิดเห็น ที่ต่างก็นำเอาความแตกต่างของผลงาน และวัฒนธรรม การทำงานที่ลอกเลียนแบบได้ยากมานำเสนอ ซึ่งล้วนแต่น่าสนใจเพราะ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ของ Value Creation อย่างเช่น แนวคิดในการสร้างสรรค์งานของ “ทาเคโตชิ ซาโตะ” ผู้บริหารสินค้าไลฟ์สไตล์ชื่อ Wise.Wise ในญี่ปุ่น ได้นำแนวคิดด้าน Balance และ Comfort เป็นสร้างสรรค์ออกแบบที่เน้น ในการสร้างคุณค่าทางจิตใจ (Lifestyle is value) เพราะคนคือสินทรัพย์ที่มนุษย์หวงแหนมากที่สุด จึงต้องการบริการทางการแพทย์ชั้นเยี่ยม และต้องการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเวชกรรม เพื่อหาแหล่งรักษาตัวที่ราคาถูก

ในประเด็นที่ทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำมาต่อยอดธุรกิจ และจับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศเป็นหลัก โดยใช้ Value Creation ที่เกิดจาก “ความดูแล” แบบไทย ซึ่งได้กลายมาเป็นคุณค่า และมูลค่าใหม่ ที่ดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก

ฟรานเชสโก โมราเช จากสถาบันโดมุส มิลาน ประเทศอิตาลี ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าไทย ควรจะค้นหาสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ เศรษฐกิจ และเพิ่มมูลค่า โดยสรุปว่า “ควรนำจุดแข็งของไทยในเรื่องความมีน้ำใจ ดูแลเอาใจใส่ มาสร้างสรรค์มูลค่า เช่น Hypersense ความละเอียดอ่อนไหว ที่สามารถสื่อความรู้สึกได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับธุรกิจเครื่องสำอางสินค้า สุขภาพ Refined Pollination ความประนีประนอม ที่ผสมผสานวัฒนธรรมต่างชาติในผลิตภัณฑ์ไทย Exotic Care ความใส่ใจให้บริการ ที่ต้องการความ ละเมียดละไม เช่น ธุรกิจสปา ของไทย อีกรายหนึ่งเป็นดีไซเนอร์เจ้าของสตูดิโอ Dror ชื่อ ดรอร์ เบนเชทริต ซึ่งเคยทำงานให้กับแบรนด์ ดัง ๆ ของโลก เช่น บอมแบย์ พูม่า ฯลฯ ได้ชี้ให้ เห็นถึง “งานออกแบบที่ถอดรหัสจากความ ซับซ้อน และเรียบง่าย” ที่เน้นการเปลี่ยนรูปอย่าง สิ้นเชิงจำนวน 3 รูปแบบ

  1. การเปลี่ยนรูปเชิงอุปาอุปไมย เช่น ออกแบบ แจกัน โดยทำให้ทันแตกก่อนเชื่อมโยงความรู้สึกในประสบการณ์
  2. การเปลี่ยนรูปเชิงกายภาพ เช่น เก้าอี้ Pick Chair ที่มาจากแผ่นไม้ยาวแขวนผนัง นำมาพับ และตั้งบนพื้นใช้นั่งได้
  3. การเปลี่ยนรูปจากการจับคู่ระหว่างสองขั้ว ทางกายภาพ และศิลปะ เช่น ผลงานออกแบบ กราฟิก

มาดูแนวคิดของดีไซเนอร์อย่างอีฟ บีฮาร์ ผู้นำเสนอ Innovative ให้กับสินค้าแบรนด์ดัง ๆ ทั่วโลก เช่น ไนกี้ โซนี่ โตชิบา ฯลฯ เขาพูดถึงการออกแบบ ที่ผสมผสานระหว่างอารมณ์ กับเทคโนโลยี โดยมีหลักการ 4 ข้อคือ

  1. Cycle การหมุนเวียนกลับสู่ธรรมชาติ และรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
  2. Adapt ปรับเปลี่ยนได้
  3. E-Mote แนวคิดที่ผสานอารมณ์ บวกกับเทคโนโลยี และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิง พาณิชย์ เช่น โคมไฟระย้าของสวารอฟสกี้ ที่ปรับ ย่อขนาดให้เล็กลง และใช้แผ่นเรืองแสง ทำหน้าที่ ส่องสว่างแทนหลอด LED
  4. Democratize เสรีภาพ และภราดรภาพ กับแนวทางออกแบบ เพื่อมนุษย์โลก ที่น่าสนใจคือ เขามองว่าเทคโนโลยีจากนี้ไป จะมุ่งตอบสนองความต้องการระดับบุคคลมากขึ้น ไม่ใช่แบบ Mass อีกต่อไป

โดยสรุปจากงานดังกล่าวในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้ Value Creation จะมีความสำคัญ มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อมูลค่าเพิ่มให้กับผู้บริโภคไม่ ทางใดก็ทางหนึ่ง และหากจะประมวลคุณสมบัติ ของคนที่จะสร้างสรรค์งานออกแบบระดับโลกออกมาได้ ควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • กล้าคิดนอกกรอบ
  • มีความสนใจตีความหมายของตัวตนใหม่ ด้วยการปรับแนวคิดสู่แนวโน้มโลกใหม่ และพฤติกรรมใหม่ๆ
  • สร้างจากสิ่งที่ตัวเองมีอยู่จริง และต่อยอดจากจุดแข็งที่มี เช่น วัฒนธรรม
  • รู้จักปรับกระบวนคิดของตนเองอย่างถ่องแท้

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ความคิด “สร้างสรรค์” ที่เกิดขึ้นจาก “ความไร้เหตุผล”

การตลาดแบบยั่งยืนสไตล์ญี่ปุ่น

More from this category: เรื่องเล่าธุรกิจ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา