ตำแหน่ง Telesales หรือ งานขายทางโทรศัพท์ เป็นอีกหนึ่งงานที่ท้าทาย นักขาย ว่าจะทำอย่างไรจึงจะโน้มน้าวใจลูกค้าให้ซื้อสินค้าและบริการได้ทั้ง ๆ ที่ไม่เห็นหน้าค่าตากัน จะพูดอย่างไรให้น่าสนใจ รวมทั้งอะไรที่ไม่ควรพูดไม่ควรทำในการสนทนา jobsDB นำมาฝากจากหนังสือ “เทคนิคการขายทางโทรศัพท์” เขียนโดยสมชาติ กิจยรรยง ดังนี้
- เสียงที่พูดอย่างเชื่อมั่นที่เป็นเสียงปกติของเราเอง หมายถึง การพูดให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องพูดดัดเสียง
- การพูดคุยเสนอทางโทรศัพท์ที่ดีควรมีเสียงสูงต่ำด้วย อย่างพูดเสียงราบเรียบ เหมือนคนสิ้นแรง
- การพูดที่ดีควรมีสัมมาคารวะ คือ คำพูดที่มีหางเสียง เช่น คะ ค่ะ ครับ นะคะ เป็นต้น
- คำพูดที่จะช่วยลดข้อกังขา คือคำว่า ขอโทษค่ะ / ครับ ขอบคุณค่ะ / ครับ
- อย่าพูดแบบที่มีขยะในคำพูดบ่อย ๆ เช่น แบบว่า มันเป็นอะไรที่ เนี้ยะ หรือคำว่า เอ้อ อ้า
- การพูดเพื่อเสนอแนะและชักชวน ผู้พูดหรือผู้ขายอย่าเอาแต่ผูกขาดในการพูดแต่ฝ่ายเดียว ควรรู้จักซักถาม สอบถามอย่างมีจิตวิทยาในการพูด และรู้จักฟังเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
- อย่าขบเคี้ยว อมยาอม ดินสอ หรือปากกาไว้ที่ปาก ขณะสนทนา
- ชมลูกค้าอยู่เสมอ เพราะการชมนอกจากทำให้ผู้ฟังชื่นชอบแล้ว ยังมีโอกาสที่ผู้ฟังจะเชื่อ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้
- อย่าชวนลูกค้าคุยนานเกินควร ยกเว้นเขาเป็นฝ่ายชวนคุย แต่ไม่ควรนานเกินกว่า 30 นาที
- อย่าโต้เถียงลูกค้า และอย่าบ่นต่อหน้าลูกค้าไม่ว่าเรื่องใด ๆ ก็ตาม
- อย่าตอบห้วน ๆ ว่าไม่ทราบ หรือไม่รู้
- จงรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
การพูดเก่งเป็นบุตรของความรู้ แต่ไม่จำเป็นต้องพูดทุกอย่างที่เรารู้ คือ เราต้องรู้ว่าอะไรควรพูด และอะไรไม่ควรพูดกับลูกค้า ก่อนพูดนั้นเราเป็นนายของคำพูด แต่เมื่อพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายของเราทันที
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เทคนิคปิดการขายทางโทรศัพท์
เทคนิคการขายแบบ Telemarketing