การสื่อสารไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของการพูดเพียงอย่างเดียว สามารถใช้วิธีการอื่นร่วมด้วยได้ นอกจากสื่อสารด้วยคำพูดแล้ว เรายังสามารถใช้ภาษาท่าทางเป็นตัวช่วยใน การสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น บางครั้งเราจะรู้สึกว่าการพูดเพียงอย่างเดียวยังไม่ชัดเจนมากพอ หากมีการส่งสัญญาณอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นการโบกมือ การยิ้ม หรือการมองไปยังสิ่งที่พูดถึง จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ภาษาท่าทาง (Body Language) เป็นรูปแบบของการสื่อสารที่ใช้การแสดงออกทางสีหน้า การใช้ท่าทางในการสื่อสารแทนการใช้คำพูด เพื่อเพิ่มความชัดเจนในการการสื่อสารให้มีมากขึ้น เมื่อนำมาใช้กับ การสื่อสารในที่ทำงาน จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาของผู้พูดได้ง่ายขึ้น เช่น ในการประชุม หรือการนำเสนอผลงาน หากเราใช้ภาษาท่าทางเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารด้วย เราจะเห็นว่าผู้ฟังจะเข้าใจในสิ่งที่เราพูดได้ง่ายขึ้นกว่าการพูดโดยไม่มีท่าทางประกอบ
การใช้ภาษาท่าทางสำคัญต่อการทำ งาน อย่างไร? คนทำงานที่ประสบ ความสำเร็จในการทำงาน ส่วนหนึ่งใช้ภาษาท่าทางในการแสดงออก เมื่อต้องการสร้างความน่าสนใจให้กับบทสนทนา วิธีการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ภาษาท่าทางในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีดังต่อไปนี้
สื่อสารโดยการใช้Eye Contact
สบตากับคู่สนทนาเป็นระยะ เพื่อแสดงออกถึงความสนใจในเนื้อหาที่ผู้พูดกำลังพูดถึง หรือแม้แต่การพยักหน้า เพื่อนแสดงความหมายว่าเราเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูด เป็นการส่งสัญญาณในทางบวก ทำให้ผู้พูดมีความมั่นใจที่จะพูดต่อไป และเป็นการสื่อสารให้ผู้พูดรับรู้โดยที่ไม่ต้องพูดออกมา
วางมือในตำแหน่งที่เหมาะสม
ในขณะที่พูดหรือแสดงความคิดเห็น หากเราวางมือในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็จะเป็นการสื่อสารได้อีกวิธีหนึ่ง เป็นการบอกผู้ฟังได้รับรู้ถึงการควบคุมความเคลื่อนไหว และทำให้ผู้ฟังจดจ้องอยู่กับเรา หากเราเคลื่อนไหวมือบ่อย ๆ ก็จะดึงดูดความสนใจจากผู้ฟัง หรือทำให้ขาดสมาธิในการฟังได้ การวางมืออยู่ในตำแหน่งเดิมแสดงออกถึงความมั่นคง ผู้ฟังก็จะไม่ว่อกแว่กด้วยในเวลาเดียวกัน
ยิ้มสร้างความเป็นมิตร
รอยยิ้มเป็นตัวช่วยสำคัญเมื่อเราประสบกับปัญหาในการสื่อสาร บางคนบอกกับตัวเองไว้ว่า “คิดอะไรไม่ออกก็ยิ้มไว้ก่อน” นั่นอาจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีอีกวิธีหนึ่ง แต่การยิ้มมีอิทธิพลมากกว่านั้น การยิ้มจะช่วยให้เราสื่อสารกับผู้ฟังได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นการแสดงถึงความเป็นมิตร เมื่อต้องสนทนากับใคร ให้เพิ่มรอยยิ้มเข้าไปด้วย จะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย และยินดีที่จะรับข้อมูลจากเราได้ง่ายขึ้น
เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด
การเคลื่อนไหวหรือเดินมากเกินไป ไม่เพียงแต่จะทำให้เราเสียสมาธิ จนไม่สามารถสื่อสารได้ดี แต่ผู้ฟังเองก็จะขาดสมาธิในการฟังด้วย เมื่อถึงเวลาที่เราต้องพูดสื่อสารกับคนอื่น ให้เรายืนให้มั่นคง เคลื่อนไหวเพียงสีหน้า ท่าทางเท่านั้น แต่ไม่ควรเคลื่อนไหวให้ไกลจากจุดที่ยืน เพราะจะทำให้ผู้ฟังไม่มีสามาธิจดจ่อกับสิ่งที่เราพูด แล้วจะทำให้การพูดของเรามีประสิทธิภาพ
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ผู้พูดเองก็ต้องมีวัตถุประสงค์ในการพูดที่ชัดเจน จึงจะดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ นอกจากนี้ การฟังก็เป็นสิ่งสำคัญ เราจะพูดได้มีประสิทธิภาพไม่ได้เลย หากเราไม่หยุดฟังเสียงของคนอื่น การเอาแต่พูดเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ฟังไม่มีโอกาสได้สื่อสารกับเรา จึงทำให้การสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ