สุราแช่ หมายความว่า สุราที่ยังไม่ได้กลั่นและให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่น แล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรีด้วย เช่น เบียร์, ไวน์ เป็นต้น
เบียร์ คือ สุราแช่ที่ทำจากข้าวมอลท์ ดอกฮอพหรือข้าว สุราแช่ผลไม้ คือสุราที่ทำจากองุ่น แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
สุราแช่พื้นเมือง คือ
สุรากลั่น หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้ว และให้ความหมายรวมถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรีด้วย
สุราขาว คือสุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุงแต่งมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 80 ดีกรี
สุรากลั่นชุมชน คือสุรากลั่นชนิดสุราขาว มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี แต่ไม่เกิน 40 ดีกรี
สุราผสม คือสุรากลั่นที่ใช้สุราขาวหรือสุราสามทับมาปรุงแต่งมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 80 ดีกรี เช่น เชี่ยงชุน หงส์ทอง แสงทิพย์
สุราปรุงพิเศษ (แม่โขง) คือ สุรากลั่นที่ทำขึ้นโดยใช้กรรมวิธีพิเศษมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 80 ดีกรี
สุราพิเศษ
สุรากลั่นอย่างอื่น เช่น รัม คือ สุราที่กลั่นจากน้ำตาล หรือกากน้ำตาล
สุราสามทับ คือ สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 80 ดีกรีขึ้นไป
ขั้นตอนการชำระภาษีสุรา
1. กรณีสุราที่ทำในราชอาณาจักร โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำสุราสามารถเลือกยื่นภาษีได้ ณ กองรายได้ กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานสุราตั้งอยู่ โดยหากยื่นชำระภาษีที่กรมสรรพสามิต กรมสรรพสามิตก็จะทำหนังสือยืนยันการชำระภาษีแจ้งให้สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่ที่โรงงานสุราตั้งอยู่ทราบ เพื่อจ่ายแสตมป์ให้ต่อไป
2. กรณีที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้นำเข้ายื่นชำระภาษี ณ กรมศุลกากร พร้อมกับชำระอากรเข้า แล้วนำหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ใบขนส่งสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบอนุญาตให้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร ใบ INVOICE และใบอนุญาตให้ขนสุรา มายื่นที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ให้ทำการตรวจสอบโดยผู้นำเข้าจะต้องกรอกแบบแจ้งขอปิดแสตมป์สุราที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักร เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วถูกต้อง สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จะทำหนังสือถึงกองรายได้ เพื่อจ่ายแสตมป์ให้ผู้นำเข้านำแสตมป์สุราไปปิดสุราที่นำเข้าภายใต้การควบคุม ของเจ้าหน้าที่ต่อไป
หมายเหตุ