จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัส COVID-19 ที่ขยายวงกว้างขึ้นทั่วโลกและมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายๆธุรกิจ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการรายหลายประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนถึงขั้นปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานจำนวนหลายแสนหลายคนนั้น
กระทรวงการคลังจึงได้ออกมาตรการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทั้งผู้ประกอบการและประชาชนจาก ไวรัสโคโรนา ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มาตรการด้านการเงินประกอบด้วย 4 มาตรการดังนี้
1.1 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงิน โดยคิดดอกเบ้ียในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปีและสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีระยะเวลา 2 ปีวงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท
1.2 มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) มีมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้ร้ับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเช้ือไวรัส COVID-19 ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้และเงื่อนไขการรับประกันในด้านต่าง ๆ เช่น การพักชำระหนี้เงินต้น การลดอัตราดอกเบ้ียเงินกู้ การขยายระยะเวลาการชำระหนี้และการผ่อนคลายเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น นอกจากนี้ SFIs บางแห่งยังมีมาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องรวมถึงมีโครงการ Refinance หนี้บัตรเครดิตในอัตราดอกเบี้ยต่ำลง
1.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหน้ีที่ได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพื่อให้สถาบันการเงินและบริษัทลูกในกลุ่ม สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ให้สินเชื่อที่มิใช่สถาบันการเงิน เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในเชิงรุกอย่างหนักเหตุการณ์ เช่น ผ่อนปรนเกณฑ์การจดัชนีสินเชื่อปกติเพิ่มความยืดหยุน่ ในการอนุมัติเงินกู้เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินชีวิตประจาวันต่อไปได้
1.4 มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะร่วมกับ สถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 30,000 ล้านบาท ให้แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า3เดือน และต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ประกันตน ณ วันที่ได้ร้ับสินเชื่อเป็นระยะเวลา3 ปีเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ยังคงสามารถจ้างลูกจ้างต่อไปได้ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน - มาตรการภาษีประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้
2.1 มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ โดยลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากอัตราร้อยละ 3 เหลืออัตราร้อยละ 1.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่
30 กันยายน 2563 และลดเหลืออัตราร้อยละ 2 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามข้อกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่จ่ายผ่านระบบการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e Withholding Tax)
2.2 มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่เขา้ร่วมมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และมีการจัดทำบัญชีเดี่ยว สามารถหักรายจ่ายได้ 1.5เท่า สำหรับรายจ่ายดอกเบ้ียที่เกิดข้ึนระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
2.3 มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงานในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักรายจ่ายได้ 3 เท่า สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างของเดือน
เมษายน 2563 ถึง เดือนกรกฎาคม 2563 ให้แก่ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกัน ตนตามกฎหมายว่าดว้ยประกันสังคมและได้รับค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน โดยต้องคงการจ้างงานในช่วงดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าจำ นวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกัน ตน ณ วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม 2562
2.4 มาตรการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู่ประกอบการส่งออกที่ดีกรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ทางอินเทอร์เน็ตจะได้รับคืนภายใน 15 วันและกรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจะไดร้ับคืนภายใน 45 วัน
- มาตรการช่วยเหลืออื่น ๆประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้
3.1 มาตรการบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ รัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกดที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานกำกับ (Regulator) บรรเทาภาระโดยพิจารณาถึงแนวทางการลดและเลื่อนการชำระค่าน้ำ และค่าไฟ หรือแนวทางที่เหมาะสม เช่น คืนค่าประกันการใช้ไฟบางส่วน เป็นต้น ให้กับผู้ที่ไดร้ับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID-19
3.2 มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อลดอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญติกองทุนประกันสังคม
พ.ศ. 2533 จากอัตราร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 0.1ของค่าจา้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเงินสมทบของรัฐบาลให้คงอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้าง พร้อมท้้งปรับลดจำนวนเงินสมทบของผู้ประกัน ตนตามมาตรา 39 และรัฐจ่ายเงินสมทบในจำนวนเท่าเดิม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างและผู้ประกันตนในการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในช่วงที่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
3.3 มาตรการบรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนในการให้บริการของส่วน
ราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจลดหรือชะลอหรือเลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าเช่าราชพัสดุ ค่าตอบแทนในการให้บริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่น เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ร้ับผลกระทบจากเช้ือไวรัส COVID-19
3.4 มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยลดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะและระยะเวลาการ
เผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้างสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปรับเพื่อให้
กระบวนการจัดซื้ออจัดจ้างเกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงให้หน่วยงานเร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ลงทุนปีเดียวที่เป็นการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินต่อรายการไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2563
3.5 มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน โดยให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund หรือ SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยแห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพยสินสุทธิได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนใน SSF กรณีปกติและไม่อยู่ภายใต้เพดาน วงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณท้้งหมด โดยต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
3.6 มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 โดยกำหนดให้มีแนวทางให้ส่วนราชการสามารถจ่ายเงินเพื่อป้องกันเยียวยา สร้างแรงจูงใจในการคงการจ้างงาน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้ท้ี่ได้ร้บผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการเฉพาะและ
เร่งด่วน โดยไดเ้ตรียมวงเงิน 20,000 ล้านบาท จากงบกลาง เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง