การยื่น ภ.ง.ด.51 เป็นการยื่นประมาณการกำไรสุทธิของบริษัททั้งปี โดยดูจากผลประกอบการจริงเดือน มกราคม – กรกฎาคม บวกด้วย ประมาณการกำไรสุทธิ เดือนสิงหาคม – ธันวาคม ก็จะได้ประมาณการของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี จากนั้นหารด้วย 2 เพื่อให้ได้ตัวเลขมาคำนวณภาษีครึ่งปี
กรณีบริษัททั่วไปอัตราภาษีร้อยละ 30
กรณีลดอัตราสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี ปัญหาที่พบบ่อยในการยื่นภ.ง.ด.51 คือการประมาณการกำไรสุทธิผิดพลาดทำให้ต้องเสียค่าปรับในภายหลัง
เนื่องจากตามมาตรา 67 ระบุว่า หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไป เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ต้องเสียเงินเพิ่ม 20% ของภาษีที่ชำระขาด นอกจากจะมีเหตุอันสมควร อันได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน หรือคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้
ตัวอย่างเช่น
กำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 = 9,000,000 บาท
ประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 = 7,500,000 บาท
ประมาณการขาดไป = 2,500,000 บาท
ประมาณการขาดไปร้อยละ 2,500,000 / 9,000,000 x 100 = 27.78
จากตัวอย่างจะเห็นว่าบริษัทประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ซึ่งจะเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ตามการคำนวณดังนี้
ประมาณการกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.51 = 7,500,000 บาท
กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ = 3,750,000 บาท
คำนวณภาษี (3,750,000 x 30 %) = 1,125,000 บาท
กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 9,000,000 บาท
กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ = 4,500,000 บาท
คำนวณภาษี (4,500,000 x 30 %) = 1,350,000 บาท
ภาษีที่ยื่นขาดไป (1,350,000 – 1,125,000) = 225,000 บาท
เงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป (225,000 x 20%) = 45,000 บาท
ที่มา : www.thongthaiacc.com, www.ap-morgan.com
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
RD Call Center สะพานมิตรภาพ : นักบัญชีกับกรมสรรพากร
บุคคลใดบ้าง..ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ??