เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือเรื่องของ “ภาษี” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่คนทำธุรกิจต้องพึงระลึกไว้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปิดบริษัท หรือทำธุรกิจในนามห้างหุ้นส่วน หรือนิติบุคคล การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาระภาษีของคนทำธุรกิจที่ต้องจัดการ โดยกรมสรรพากรกำหนดให้นิติบุคคลต้องยื่นภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง ก็คือช่วงครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด 51 ส่วนปลายปีให้ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ด้วย ภ.ง.ด.50 เพราะการเสียภาษีเป็นอีกรายจ่ายของคนทำธุรกิจ นั่นหมายถึงกำไรที่ลดลง เลยทำให้ผู้ประกอบการมากมายคิดถึงวิธีที่จะทำให้เสี่ยงภาษีต่ำที่สุด ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรัฐเองก็คำนึงถึงหลักความเป็นจริงข้อนี้ เลยทำให้มีการออกมาตรการที่จะช่วย ลดหย่อนภาษี ให้กับนิติบุคคล โดยเฉพาะ SMEs ทั้งหลาย ซึ่งถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้คนหันมาทำธุรกิจกันมากขึ้น
การยื่นภาษีสำหรับSMEs
ธุรกิจที่จัดว่าเป็น SMEs คือ ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งจดทะเบียนในนามนิติบุคคลที่มีจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน และมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่รวมที่ดินสูงสุดไม่เกิน 200 ล้านบาท รวมถึงมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งขั้นแรกจะได้รับยกเว้นภาษี สำหรับกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก และได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีเป็น 15% สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 3 สามแสนบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่ายังมีมาตรการอื่น ๆ อีกที่เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล หรือ SMEs สามารถนำมา ลดหย่อนภาษี ได้
ทำความเข้าใจการคิดภาษีนิติบุคคล
หลักการคำนวณภาษีนิติบุคคล คือ รายได้ - รายจ่าย = กำไร แล้วนำกำไรไปคิดคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย ถ้าอยากจะเสียภาษีให้ต่ำที่สุดก็จะต้องเพิ่มรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อให้กำไรดูน้อยลง ในขอบเขตของกฎหมาย มีรายจ่ายบางประเภทที่เราไม่ได้คิดว่าเป็นรายจ่ายแต่จริง ๆ แล้วสามารถนำมาคำนวนเป็นรายการรายจ่ายได้ เป็นเหมือนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กรมสรรพากรอนุญาตให้นำมา ลดหย่อนภาษี ได้
ลดหย่อนภาษี อย่างไรได้บ้าง
สำหรับ SMEs ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี เป็นเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
ในส่วนของคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าจ้างทำโปรแกรม สามารถเอามาคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ โดยทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
สำหรับร้านค้านิติบุคคล และ SMEs ที่ใช้ระบบ POS ในการคิดเงินค่าสินค้าและบริการ สามารถเอาเงินลงทุนในระบบ POS ทั้งค่าอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ค่าพัฒนาระบบ ค่าบริการระบบคลาวด์และระบบที่เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Receipt ต่าง ๆ รวมถึงระบบที่เกี่ยวกับ Withholding Tax จากผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ (Software) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เฉพาะในส่วน ที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
อาคาร โรงงาน ที่เป็นสถานที่ประกอบการก็สามารถเอามาคิดค่าเสื่อมได้ ในราคาอัตรา 25% ของมูลค่าต้นทุน มูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักได้ ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี
ค่าเสื่อมเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร
เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรเป็นอีกหนึ่งต้นทุนการผลิตที่มีค่าลดลงตามกาลเวลา สามารถเอามาคิดค่าเสื่อมราคาได้ ด้วยอัตรา 40% ของมูลค่าต้นทุน ส่วนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
ค่าจ้างงานผู้สูงอายุ
เพื่อส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้ไปสู่ผู้สูงอายุ เลยสนับสนุน SMEs ที่จ้างงานผู้สูงอายุ โดยสามารถเอาค่าจ้างผู้สูงอายุมาเป็นรายจ่ายของนิติบุคคลได้ โดยสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า แต่พนักงานที่จัดว่าเป็นผู้สูงอายุต้องมีเงื่อนไขดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง
สำหรับ SMEs ที่มีการส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือจัดการอบรมเผื่อพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง สามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาเป็นรายจ่ายที่ลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
กรณีส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม
กรณีฝึกอบรมให้ลูกจ้างของตนเอง
เงินบริจาค
งานบริจาคที่ทางนิติบุคคล SMEs บริจาคให้กับองค์กร มูลนิธิ หรือที่อื่น ๆ ก็สามารถเอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่มีเงื่อนไขดังนี้
จะเห็นได้ว่าโอกาสเพิ่มรายได้มีอยู่เสมอ คนทำธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหลาย ลองนำคำแนะนำเรื่องการลดหย่อนภาษีด้านบนไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณดู เพื่อครั้งต่อไปที่ต้องเสียภาษี จะได้จ่ายภาษีน้อยลงกัน
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/covid-19-%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%b4/