จุฬาฯ เตรียมประกาศผลจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 8 หมวดที่มูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 8 องค์กรดาวเด่นเพราะเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงอยู่แล้ว พร้อมจัดอันดับ 8 องค์กรดาวรุ่งที่มีการพัฒนามูลค่าแบรนด์องค์กรแบบก้าวกระโดดมากที่สุดเป็นครั้งแรก ตอกย้ำการสร้างแบรนด์องค์กรช่วยเพิ่มยอดขาย
รองศาสตราจารย์ ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของการทำงานวิจัยเรื่อง “การประเมินค่าและจัดอันดับแบรนด์องค์กรในประเทศไทย” ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ว่าเพราะต้องการพัฒนาเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร (Corporate Brand Valuation) ที่สามารถวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรออกมาเป็นตัวเลขทางการเงิน ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่า CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) ทั้งนี้ การมีแบรนด์องค์กรที่ดีมีประโยชน์หลายด้านต่อองค์กร เช่น การดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาทำงานกับองค์กร และช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กร เป็นต้น
โดยล่าสุดผลงานวิจัยในปีนี้จะถูกนำเสนอในงาน “Thailand’s Top Corporate Brand Values 2013” ในวันที่ 17 กันยายน 2556 ณ โรงแรมตะวันนา ถนนสุริวงศ์ โดยจะประกาศผลบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด หรือที่เป็น "ดาวเด่น" (Top Corporate Brand Values) และบริษัทที่มีอัตราการเติบโตของมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด หรือที่เป็น "ดาวรุ่ง" (Corporate Brand Rising Stars) ใน 8 หมวดอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเนื่องจากมีข้อมูลที่ต้องใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน
สำหรับจุดเด่นของงานในครั้งนี้มี 3 จุดที่สำคัญ จุดแรกคือการรายงานผลการวิจัยซึ่งมีเรื่องราวและเครื่องมือการวัดแบรนด์องค์กรใน 8 หมวดอุตสาหกรรม ได้แก่
โดยมีการจัดอันดับ 8 บริษัทดาวเด่นที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดเป็นอันดันหนึ่งของแต่ละหมวด หรือ "Top Corporate Brand Values" ซึ่งพบว่ามีบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงมากนับแสนล้านบาท
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา( พ.ศ.2555) จากการใช้เครื่องมือ CBS Valuation วัดมูลค่าแบรนด์องค์กรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 432 บริษัท ที่มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี ปรากฏว่าบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม มีดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีการจัดอันดับ 8 องค์กรดาวรุ่ง หรือ “Thailand Corporate Brand Rising Star 2013” ที่มีอัตราการเติบโตของมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของแต่ละหมวดซึ่งปีที่แล้วไม่ได้มีการจัดอันดับเช่นนี้ แต่การที่ปีนี้มีการจัดทำเป็นครั้งแรกเพื่อให้เห็นว่ามีองค์กรที่สามารถพัฒนาการสร้างแบรนด์องค์กรได้อย่างก้าวกระโดด โดยพบว่าในบางหมวดมีอัตราการเติบโตนับพันเปอร์เซ็น
จุดที่สอง คือมีการคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์องค์กรกับยอดขายของบริษัท เพื่อตอบคำถามว่าถ้ามูลค่าแบรนด์องค์กรดีแล้วยอดขายจะดีด้วยหรือไม่ ? ซึ่งในอดีตยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจน แต่ในปีนี้พบว่าตัวเลขสหสัมพันธ์สูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างการสร้างแบรนด์องค์กรและยอดขายของบริษัท
จุดที่สาม คือการเสวนาในหัวข้อ“กลยุทธ์การสร้างแบรนด์องค์กร รับมือการแข่งขันยุค AEC” ของผู้นำระดับสูงขององค์กรที่ได้รับรางวัลดังกล่าว 3 หมวด ได้แก่
นอกจากนี้ ยังจะมีการเปิดตัวแนวทางการจัดทำหนังสือ “Corporate Brand Success Valuation” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของ Corporate Brand และนำเสนอโปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณมูลค่าแบรนด์องค์กรให้กับองค์กรที่มีความสนใจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรต่างๆ ที่สนใจในเรื่องนี้ เนื่องจากโดยทั่วไปหากจ้างบริษัทต่างชาติจะมีค่าใช้จ่ายหลักแสนบาทขึ้นไป
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
ภาพประกอบ : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์