คงไม่มีใครคาดหวังให้ตัวเองถูก เลิกจ้าง แต่ถ้าหากสิ่งนั้นเกิดขึ้น คนทำงานในฐานะลูกจ้าง ก็ต้องรู้สิทธิที่เราควรจะเรียกร้องว่ามีอะไรบ้าง กฎหมายการจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง อาจดูเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่เราก็ไม่ควรมองผ่าน ไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างก็ตาม ควรจะทำความเข้าใจ เพื่อรักษาสิทธิของตนไว้
เงินค่าชดเชย (Severance Pay) เป็นสิ่งที่ นายจ้าง ต้องจ่ายในกับลูกจ้าง เพื่อเป็นการช่วยเหลือในกรณีที่ลูกจ้างถูกให้ ออกจากงาน ซึ่งความผิดนั้นต้องไม่ได้มาจากการกระทำของลูกจ้างเอง แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง นายจ้างทำให้ลูกจ้างต้องออกจากงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าชดเชยนั้นให้กับลูกจ้าง เพื่อให้มีเงินใช้ในระหว่างที่ ว่างงาน หรือเป็นทุนในการ หางาน ใหม่
คนทำงานบางคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ว่า ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย หากเกิดขึ้นในกรณีต่าง ๆ เหล่านี้
แต่ถ้าหากลูกจ้างลาออกเองก็ไม่ถือเป็นสิทธิที่ลูกจ้างจะเรียกร้องค่าชดเชยได้ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ไม่ว่าจะทำงานให้กับนายจ้างมานานเท่าใดก็ตาม
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่ลูกจ้างต้องออกจากงาน ไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยในทุกกรณี เพราะมีบางกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ซึ่งกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมีดังนี้
อัตราค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง
เมื่อมีการเลิกจ้างที่ไม่ได้เกิดจากความผิดของลูกจ้างเอง นายจ้างต้องเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นค่าชดเชยที่คำนวณจากอายุงานของลูกจ้างเอง สรุปได้ดังนี้
จะเห็นได้ว่าระยะเวลาใน การทำงาน ของลูกจ้างเป็นตัวกำหนดอัตราค่าชดเชย อย่างแรกคือ ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่ หากได้จะได้รับในปริมาณที่มากน้อยเพียงใด ระยะเวลาจึงเป็นตัวกำหนดการได้รับค่าชดเชยของนายจ้าง ยิ่งลูกจ้างอยู่กับบริษัทนาน ก็จะยิ่งได้ค่าชดเชยมากเท่านั้น
เมื่อถูกเลิกจ้าง ค่าชดเชยดังกล่าวเป็นเพียงเงินส่วนหนึ่งซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเท่านั้น ยังมีเงินที่เกี่ยวเนื่องจากการเป็นลูกจ้างหลายชนิดที่เป็นสิทธิของลูกจ้าง ดังนั้น คนทำงานต้องตรวจสอบ และรักษาสิทธิของตัวเองให้ดี เพราะนั่นจะเป็นประโยชน์ต่อตัวลูกจ้างเอง อย่างน้อยเราก็มีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถใช้จ่ายในช่วงที่ว่างงานได้
ภาพประกอบโดย iosphere เว็บไซต์ freedigitalphotos.net
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ