หากคุณกำลังหางาน แล้วเจอกับตำแหน่งงานที่น่าสนใจ ที่คุณอยากสมัครงานนั้น แต่ติดปัญหาตรงที่คุณมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่บริษัทนั้นต้องการ เช่น บริษัทนั้นกำลังมองหาคนที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป แต่คุณมีประสบการณ์แค่ 3 ปี บริษัทนั้นต้องการคนทำงานที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี แต่ภาษาอังกฤษของคุณยังไม่ค่อยแข็งแรง แต่ก็พอสื่อสารได้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นในใจคุณว่า คุณสมบัติไม่ครบ ... ควรสมัครงานนั้นหรือไม่ หรือควรจะรอให้ได้งานตามคุณสมบัติที่คุณมีอยู่ทุก ๆ ข้อมากกว่ากัน คำตอบที่สั้น ๆ เลยก็คือ ขึ้นอยู่กับคนที่จะพิจารณาคุณสมบัติ และเรซูเม่มัดใจผู้ประกอบการได้มากน้อยแค่ไหน
สมัคร หรือ ไม่สมัคร : นั้นแหละคือคำถาม!
แม้คุณจะมีคุณสมบัติไม่ครบ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะต้องรับคนที่มีความเพียบพร้อมทุกอย่าง บางครั้งบริษัทก็รับคนเข้ามาทำงานทั้ง ๆ ที่คนนั้นมีคุณสมบัติไม่ครบ โดยกระบวนการคัดเลือก คัดกรองผู้สมัครงานจะทำให้ได้เห็นมุมมองความคิดต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการประเมินผู้สมัครงาน อีกทั้งในปัจจุบันก็มีคนมากมายที่ไม่ได้สนใจคุณสมบัติที่บริษัทวางเอาไว้ และก็ยังมีบางคนที่มีทั้งประสบการณ์ ทักษะต่าง ๆ มากมายที่เพียบพร้อมทุกอย่างแต่กลับไม่ได้งาน อย่างไรก็ดี อย่าไปท้อถอยหรือยอมแพ้ เมื่อจะต้องแข่งขันกับคนเหล่านั้น เพราะท้ายที่สุดบริษัทจะเป็นผู้ตัดสินใจได้ว่าจะรับใครเข้าทำงาน ถ้าหากว่างานนั้นมันใหญ่เกินไปสำหรับตัวคุณจริง ๆ เช่น บริษัทต้องการคนที่มีประสบการณ์ 10 ปี แต่คุณมีประสบการณ์เพียงแค่ 2 ปี ซึ่งคุณอาจจะต้องใช้ความสามารถทั้งหมดที่คุณมีไปกับตำแหน่งนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย แทนที่จะส่งเรซูเม่ไปโดยตรงเลย ลองส่งจดหมายสมัครงานเพื่อขอพิจารณาเป็นพิเศษกับทางบริษัท แล้วอธิบายความต้องการ ความชอบ ความถนัด ทั้งหมดที่มีต่อตำแหน่งงานที่คุณต้องการ ว่าคุณสามารถทำงานนี้และสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น อย่าดูถูกตัวเองว่างานนั้นมันเกินความสามารถเพียงเพราะคุณมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่ต้องการ อันที่จริงทุกโอกาสนั้นเป็นไปได้
ก้าวออกไปเพื่อสร้างโอกาส
หากคุณตัดสินใจที่จะสมัครงาน และเมื่อใดก็ตามที่คุณก้าวไปข้างหน้าด้วย 2 ขาของคุณเอง นั้นก็เป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้คุณได้งาน ดีกว่าอยู่เฉย ๆ แล้วไม่ได้ทำอะไร เพราะความจริงแม้จะเหนื่อย หรือผิดแต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ซึ่งมีแนวคิดง่าย ๆ ที่นำมาแนะนำกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานที่เกินคุณสมบัติของเรา
1. เชื่อมโยงประสบการณ์
ถ้าหากว่าคุณสมบัติในตำแหน่งงานนั้นมันเยอะมาก ๆ และอาจจะทำให้คุณเกิดความกังวลที่จะสมัครงานนั้น ทั้งความรู้ ทักษะ หรือว่า ประสบการณ์ รวมทั้งยังพิจารณาคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าคุณไม่เคยบริหารงานกับทีมงานในองค์กรมาก่อนเลย แต่ว่าคุณเคยบริหารทีมงานกับกลุ่มอาสาสมัครผ่านการทำงานเพื่อสังคม คุณสามารถที่จะรวมเอาประสบกาณ์ตรงนี้มาเป็นประวัติเพื่อการสัมภาษณ์งานได้ เพราะว่าไม่มีสิ่งใดสายเกินที่จะพัฒนาตัวเรา พยายามเน้นทักษะ และประสบการณ์ในเรซูเม่ หรือในจดหมายสมัครงาน เพราะว่าการจ้างงานนั้นผู้จัดการจะเป็นคนที่พิจารณาและเข้าใจตำแหน่งงานนั้นดีที่สุด
2. อย่าบอกเขาว่าคุณเก่งแค่ไหน แต่ควรทำให้เขาดู
สิ่งที่ดีที่สุดนั้นคือ ผู้จัดการจะมองหาความเก่งในตัวคุณเอง และปลดปล่อยศักยภาพนั้นออกมาเพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณทำอะไรได้บ้าง นอกจากนี้จดหมายสมัครงานของคุณ จะต้องบอกถึงความท้าทายในตัวคุณที่มีต่องานนั้น และจะต้องหาวิธีการมัดใจนายจ้าง หรืออธิบายสิ่งที่คุณสามารถจะทำให้องค์กรนั้นเติบโตได้ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้ให้คุณนำไปอวดอ้าง แต่ว่าสิ่งเหล่านี้จะแสดงถึงความจริงจังในการทำงาน เพราะการคัดเลือกผู้สมัครที่บริษัทต้องการคือคนที่เอาจริงเอาจัง
3. ค้นหาสายสัมพันธ์
ท้ายที่สุดนี้ หากว่าคุณมีคนที่รู้จักในองค์กรนั้น จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวคุณได้ เนื่องจากคนที่เรารู้จักในองค์กรนั้นจะช่วยอธิบายหรือแนะนำรูปแบบของการทำงานในบริษัทแนะนำและข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้เราได้เปรียบในการสัมภาษณ์งานทันที เพราะมิฉะนั้นแล้วโอกาสได้งานของคุณก็จะน้อยลง ตัวอย่างเช่น ถ้าหากผู้สัมภาษณ์งานสอบถามความคิดเห็นเราว่า จะมีอีเว้นท์หนึ่งเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้แล้วให้เราวางแผนที่จะมีส่วนร่วม คุณจะอธิบายอย่างไร หรือหากผู้ก่อตั้งบริษัทปรากฏในหัวข้อข่าวของหนังสือพิมพ์ ซึ่งผู้สัมภาษณ์งานอาจจะให้คุณแสดงความคิดเห็นออกมา ดังนั้น หากคุณมีเพื่อน หรือมีคนที่รู้จักในองค์กรนั้น คุณจะสามารถตอบคำถามได้เป็นอย่างดี ในอนาคตคุณจะได้เห็นว่าความฝันของคุณจะไม่ใช่เพียงความฝันอีกต่อไป อย่ามองตัวเองในแง่ลบและกล้าที่จะก้าวออกไปสมัครงานที่เกินคุณสมบัติอย่างมั่นใจ
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ